ไขมันอุดตันผิวหนังเกิดจากอะไร

เมื่อเกิดก้อนซีสต์ใต้ผิวหนัง ต้องทำอย่างไร
เผยแพร่ครั้งแรก 5 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ไขมันอุดตันผิวหนังเกิดจากอะไร

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ภาวะไขมันอุดตันใต้ผิวหนัง หรือเรียกอีกชื่อว่า “ซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง” เป็นโรคไม่อันตรายร้ายแรงที่มักเกิดจากปุ่มรากผมบวม จนเซลล์ในผิวไม่หลุดออกจนเกิดเป็นก้อนซีสต์
  • มีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดภาวะไขมันอุดตันใต้ผิวหนังได้อีก เช่น ต่อมเหงื่อผิดปกติ กรรมพันธุ์ อาการบาดเจ็บของผิวหนัง
  • วิธีรักษาภาวะอุตไขมันอุดตันใต้ผิวหนังสามารถทำได้โดยใช้ยาปฏิชีวนะ ยาทาลดรอยแผล หรือใช้การผ่าตัดเอาก้อนไขมันออก
  • วิธีป้องกันก้อนไขมันอุดตันใต้ผิวหนังได้แก่ การรักษาความสะอาดของผิว ระวังอย่าให้ผิวเกิดแผล เลือกใช้เครื่องสำอางที่ปลอดไขมัน ระวังอย่าให้ไขมันโดนแสงแดดมากเกินไป
  • ก้อนไขมันอุดตันใต้ผิวหนังมีลักษณะคล้ายก้อนมะเร็ง หากพบว่า ร่างกายมีก้อน หรือตุ่มขึ้น โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลำคอ ศีรษะ หน้าอก ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโดยเร็วที่สุด (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัยได้ที่นี่)

ภาวะไขมันอุดตันใต้ผิวหนัง หรือซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง (Sebaceous Cyst) เป็นอีกโรคเกี่ยวกับถุงน้ำที่พบได้บ่อย ซึ่งการรักษาโรคนี้ทำได้ด้วยการผ่าตัดเอาก้อนซีสต์ออกเท่านั้น แต่โรคนี้เกิดจากอะไร มีความอันตรายหรือไม่ เรามาทำความเข้าใจพร้อมๆ กัน

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะไขมันอุดตันใต้ผิวหนัง

ภาวะซีสต์ไขมันผิวหนังเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน โดยที่พบส่วนมาก มักเกิดจากการที่ปุ่มรากผมบวม ทำให้เซลล์ที่เคลื่อนตัวลึกลงไปในผิวไม่หลุดออกไป  แต่กลับเพิ่มจำนวนขึ้นจนก่อให้เกิดเป็นก้อนซีสต์ขึ้นมา 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

และเมื่อเซลล์เหล่านั้นสัมผัสกับโปรตีนเคราติน จึงก่อให้เกิดหนองในซีสต์ และส่งกลิ่นเหม็นออกมา นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ อีก เช่น

  • กรรมพันธุ์ โดยจะมีเซลล์ผิวหนังที่อยู่ผิดตำแหน่งมาตั้งแต่กำเนิด เป็นผลให้เกิดซีสต์ไขมันผิวหนังได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
  • การบาดเจ็บของผิวหนัง เช่น เกิดแผล ผิวถลอก หรือเมื่อผิวหนังได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง ก็อาจนำไปสู่การเกิดไขมันอุดตันใต้ผิวหนังได้เหมือนกัน
  • แสงแดด เมื่อสัมผัสกับแสงแดดเป็นเวลานาน ก็อาจทำให้เกิดซีสต์ไขมันผิวหนังได้ และยังเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังได้สูงอีกด้วย
  • ท่อไขมัน หรือต่อมเหงื่อ เมื่อเกิดการอุดตัน รวมถึงกรณีที่ท่อต่อมไขมันผิดปกติ และผิดรูปร่างไปจากเดิมด้วย
  • การผ่าตัดเอาก้อนซีสต์ไขมันผิวหนังออก ทั้วแบบเอาออกทั้งหมด หรือเอาออกแค่บางส่วน
  • การผ่าตัดซีสต์ด้วยการใช้เลเซอร์

นอกจากนี้ ภาวะไขมันอุดตันใต้ผิวหนังยังพบได้ในเพศชายมากกว่าเพศหญิง และพบได้มากในคนที่มีอายุ 30-40 ปีมากกว่าวัยอื่น

อาการของภาวะไขมันอุดตันใต้ผิวหนัง

อาการที่สังเกตได้ชัดของภาวะไขมันอุดตันใต้ผิวหนัง คือ พบก้อน หรือตุ่มขนาดเล็กนูนขึ้นมาบนผิวหนัง มีลักษณะเป็นก้อนกลม ขอบเรียบ และมีสีเดียวกันกับผิว ส่วนมากจะพบได้มากตามใบหน้า ลำคอ ศีรษะ และบริเวณหน้าอก 

นอกจากนี้ ซีสต์บางก้อนก็อาจมีรูเปิด และมีสารสีขาวภายในไหลออกมา ซึ่งมีกลิ่นเหม็นอีกด้วย 

อย่างไรก็ตามซีสต์ส่วนมากจะไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด และไม่เป็นอันตราย จึงไม่ต้องกังวลมากนัก นอกจากว่าก้อนไขมันใต้ผิวหนังมีขนาดตั้งแต่ 1 เซนติเมตรขึ้นไป ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้แน่ใจ 

เพราะนั่นอาจเป็นซีสต์ไขมัน หรือเป็นก้อนมะเร็งร้ายได้ เนื่องจากจะมีลักษณะที่คล้ายกันมากจนแทบแยกไม่ออกนั่นเอง 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

วิธีรักษาภาวะไขมันอุดตันใต้ผิวหนัง 

เนื่องจากภาวะไขมันอุดตันใต้ผิวหนัง ไม่เป็นอันตราย และอาจสลายไปได้เอง จึงไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา แต่หากเกิดการติดเชื้อ ที่ทำให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพ และต้องการที่จะกำจัดก้อนซีสต์ออกไป 

แพทย์จะพิจารณาการรักษาอย่างเหมาะสมตามลักษณะไขมันที่อุดตัน ซึ่งส่วนมากจะรักษาด้วยการผ่าตัดเอาก้อนซีสต์ออก ร่วมกับการใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา 

โดยทั้งนี้ หากมีอาการบวม แพทย์ก็จะให้ยาสเตียรอยด์ และให้ยาทาลดรอยแผล เพื่อป้องกันการเกิดรอยแผลเป็นหลังผ่าตัด

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

ภาวะแทรกซ้อนของภาวะไขมันอุดตันใต้ผิวหนัง มักจะเกิดจากการที่ซีสต์มีการอักเสบ และแตกจนทำให้เกิดการติดเชื้อขึ้นมา ซึ่งจะต้องรีบเข้ารับการรักษาจากแพทย์ในทันที เพราะอาจจะเป็นอันตรายได้ 

นอกจากนี้ ในผู้ป่วยที่รักษาด้วยการผ่าตัดก้อนซีสต์ออกไป ก็อาจเกิดซีสต์ซ้ำอีกได้เหมือนกัน

การป้องกันภาวะไขมันอุดตันใต้ผิวหนัง

คุณสามารถป้องกันภาวะไขมันอุดตันใต้ผิวหนังได้ แต่จะไม่เต็มประสิทธิภาพมากนัก เนื่องจากไขมันอุดตัน หรือซีสต์ หรือเรียกได้อีกอย่างว่า "ถุงน้ำ" นั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ จึงทำได้เพียงลดโอกาสการเกิดซีสต์ให้น้อยลง ซึ่งมีวิธีการดังนี้

  1. รักษาความสะอาดของผิวหนังอยู่เสมอ หากเกิดแผลก็ให้รีบรักษาให้หาย
  2. ควรเลือกใช้เครื่องสำอางแบบที่ปลอดไขมันโดยเฉพาะ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการอุดตันของท่อไขมัน จนเกิดเป็นซีสต์ได้นั่นเอง
  3. พยายามอย่าโดนแสงแดดมากเกินไป ซึ่งหากจำเป็น ควรทาครีมกันแดดก่อนออกจากบ้านทุกครั้ง

ภาวะไขมันอุดตันใต้ผิวหนังอาจเป็นโรคที่เป็นอันตราย แต่หากไขมันที่อุดตันเกิดการอักเสบ หรือแตก ก็จะก่อให้เกิดการระคายเคืองได้ 

และเนื่องจากก้อนไขมันมีลักษณะที่คล้ายกับก้อนมะเร็ง จึงควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยให้แน่ใจก่อนจะดีที่สุด ว่าตนเองไม่ได้มีเชื้อมะเร็ง แต่เป็นเพียงก้อนไขมันอุดตันเท่านั้นเท่านั้น

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Adult Acne: 10 Surprising Causes (and How to Get Rid of It). Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/skin-beauty/acne/10-surprising-causes-acne-adults/)
How to Unclog Pores: Safe Methods, What to Avoid, and More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/beauty-skin-care/how-to-unclog-pores)
Oily skin: 6 treatments, causes, and prevention. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/321090)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)