กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

มีเสียงในหู เกิดจากสาเหตุอะไร การรักษา และการป้องกัน

มีเสียงดังในหูอยู่ตลอดเวลา อาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติภายในหู ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรักษาอย่างทันท่วงที
เผยแพร่ครั้งแรก 4 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
มีเสียงในหู เกิดจากสาเหตุอะไร การรักษา และการป้องกัน

อาการเสียงดังในหูเป็นความผิดปกติที่อาจเป็นอันตรายหรือไม่เป็นอันตรายก็ได้ ส่วนมากมักก่อให้เกิดความน่ารำคาญจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน บางรายไม่สามารถอยู่ในที่แคบ หรือที่เงียบสงัดได้ เนื่องจากเสียงในหูจะยิ่งดังมากขึ้น

ลักษณะของเสียงดังในหูคือ ผู้ป่วยจะมีเสียงดังในหูซ่าๆ ปรี๊ดๆ วิ้งๆ หรือหูอื้ออยู่ตลอดเวลา เมื่อเป็นแล้วมักจะสร้างความวิตกกังวลให้กับผู้ป่วยเป็นอย่างมาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษา หู คอ จมูก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 854 บาท ลดสูงสุด 54%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สาเหตุของอาการมีเสียงดังในหู

การมีเสียงดังในหู หมายถึง ผู้ป่วยมีอาการรับรู้ในเสียงลดลง ได้ยินเสียงไม่ชัดเจน รู้สึกคล้ายกับมีแมลงอยู่ในหู หรือเหมือนมีวัสดุบางอย่างอุดหูอยู่ตลอดเวลา บางรายพบว่า มีเสียงเต้นตามจังหวะการเต้นของชีพจร ซึ่งอาจเป็นอันตรายหรือไม่เป็นอันตรายก็ได้ขึ้นอยู่กับสาเหตุนั้นๆ ซึ่งสามารถแบ่งสาเหตุการได้ยินเสียงออกเป็น 2 ประเภทคือ

1. ผู้ป่วยได้ยินเสียงในหูเพียงคนเดียว (Subjective tinnitus)

เสียงที่ได้ยินนั้นเป็นเสียงที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง แต่เป็นเพียงการรับรู้ภายในหูของผู้ป่วยคนเดียวเท่านั้น โดยเกิดจากความผิดปกติดังนี้

  • หูชั้นนอก เช่น ขี้หูอุดตัน แก้วหูทะลุ หรือหูอักเสบ
  • หูชั้นกลาง เช่น มีน้ำขังอยู่ในหู ท่อยูสเตเชี่ยน (Eustachian tube) ทำงานผิดปกติ หรือเป็นโรคหินปูนในหูหลุด
  • หูชั้นใน
    • เกิดจากประสาทหูเสื่อม สาเหตุจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น ได้ยินเสียงดังมากๆ ในระยะเวลาอันสั้น เช่น เสียงประทัด หรือเสียงระเบิด หรืออยู่ในที่ที่มีเสียงดังเป็นระยะเวลานานๆ เช่น ในโรงงาน จนทำให้การได้ยินเสียงค่อยๆ ลดลง
    • หูมีการติดเชื้อเพราะเป็นโรค
    • เกิดการกระทบกระเทือน
    • มีรูรั่วระหว่างหูชั้นกลาง และหูชั้นใน
  • สมองผิดปกติจากอาการเส้นเลือดสมองตีบ ไขมันในเลือดสูง เป็นเนื้องอกในหู หรือสมอง
  • โรคอื่นๆ เช่น โรคภูมิแพ้ตัวเอง โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคไต โรคเบาหวาน โรคความดัน หรือโรคโลหิตจาง เป็นต้น

2. คนอื่นสามารถได้ยินเสียงในหูด้วย (Objective tinnitus) 

เสียงที่ได้ยินนั้นเป็นเสียงที่เกิดขึ้นจริง และเสียงนั้นก็มาจากภายในหูของผู้ป่วย ซึ่งคนรอบข้างก็ได้ยินด้วย โดยเกิดจากความผิดปกติดังนี้

  • หลอดเลือดแดงผิดปกติ
  • เสียงดังที่เกิดพร้อมกับเสียงเต้นของหัวใจ หรือเสียงหายใจ
  • เส้นเลือดวางอยู่ในตำแหน่งที่ผิดปกติ หรือมีภาวะเส้นเลือดโป่ง

การรักษาอาการเสียงดังในหู

การรักษาอาการเสียงดังในหูจำเป็นต้องหาสาเหตุของการเกิดเสียงให้ได้ก่อน จึงค่อยรักษาไปตามสาเหตุนั้นๆ โดยวิธีรักษาจะมีทั้งการใช้ยา และการผ่าตัด แต่เสียงในหูที่เกิดจากประสาทหูเสื่อมมักจะรักษาไม่หาย และเป็นโรคประจำตัวไปตลอดชีวิต

การป้องกันอาการเสียงดังในหู

  • กรณีที่รักษาไม่หายจนต้องเป็นไปตลอดชีวิตก็ทำได้แค่เพียงปรับตัวให้เข้ากับโรค หากเสียงในหูดังจนรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวัน อาจจะต้องใช้การเปิดเพลงเบาๆ หรือเปิดเสียงสีขาว (White noise) เพื่อช่วยกลบเสียง หรือรับประทานยานอนหลับ ยาลดความรำคาญ และยาลดความไวของการได้ยินเพื่อบรรเทาอาการ
  • ควรหลีกเลี่ยงเสียงดังๆ เพื่อไม่ให้ประสาทหูเสื่อมมากขึ้น รวมทั้งควบคุมและรักษาโรคประจำตัวให้ดี เพื่อไม่ให้มีส่วนเร่งการได้ยินเสียงในหูดังเร็วขึ้น
  • หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะกระทบกับหู หรือการใช้ยาบางประเภท เช่น แอสไพริน (Aspirin) กรดอะมิโน (Amino acid) ควินิน (Quinine) ไกลโคไซด์ (Glycoside) และงดเครื่องดื่มที่กระตุ้นระบบประสาทหู เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม และเหล้า รวมทั้งการสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการบริโภคเกลือ หรือรสเค็ม เพราะจะทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดทำงานได้ไม่ดี ส่งผลให้ความดันสูงและเกิดเสียงในหูมากขึ้น
  • พยายามไม่เครียด และหมั่นออกกำลังกาย รวมทั้งพักผ่อนให้เพียงพอ เมื่อร่างกายแข็งแรง ก็จะช่วยลดอาการติดเชื้อ และยังทำให้อาการของโรคประจำตัวดีขึ้นอีกด้วย

โรคเสียงดังในหูอาจมีอันตรายหรือไม่มีอันตรายก็ได้ อย่างไรก็ตาม หากพบว่ามีอาการดังกล่าวก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยเร็ว เพราะเสียงในหูบางชนิดก็สามารถรักษาได้ทันทีตั้งแต่ระยะที่พบแรกๆ แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานก็อาจทำให้อาการรุนแรงมากขึ้นจนกลายเป็นโรคประจำตัวไปตลอดชีวิต


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เสียงในหู (Tinnitus)
เสียงในหู (Tinnitus)

ได้ยินเสียงในหูแปลกๆ อันตรายหรือไม่ สาเหตุเกิดจากอะไร รักษาอย่างไร HonestDocs มีคำตอบ

อ่านเพิ่ม