กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ยากดประสาทคืออะไร

เผยแพร่ครั้งแรก 2 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ยากดประสาทคืออะไร

ยากดประสาท คือยาที่ยับยั้งการทำงานของระบบประสานส่วนกลาง (Central nervous system; CNS) และเป็นยาที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งยาเหล่านี้จะไปส่งผลกับนิวตรอนในระบบประสาทส่วนกลาง จะทำให้เกิดอาการจำพวก ง่วงซึม ผ่อนคลาย ลดการต่อต้าน ระงับความรู้สึก นอนหลับ อาการโคม่า หรือแม้กระทั่งเสียชีวิต และยากดประสาทส่วนใหญ่นั้นสามารถทำให้เกิดการติดยาขึ้นได้

โดยในขณะที่ยากดประสาทส่วนกลางเหล่านี้ต่างมีความสามารถในการช่วยลดกิจกรรมในระบบประสาทส่วนกลาง และช่วยลดระดับความรู้สึกตัวในสมอง แต่ก็ยังมีความแตกต่างที่สำคัญระหว่างสารที่อยู่ในกลุ่มยานี้ด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ยาบางตัวปลอดภัยกว่าตัวอื่น และมักเลือกใช้ในการเชิงแพทย์โดยทั่วไป

ประเภทของยากดประสาท

ยาที่จัดอยู่ในกลุ่มยากดประสาท ได้แก่

  • เอทิลแอลกอฮอล์ (Ethyl alcohol)
  • บาร์บิทูเรท (Barbiturates)
  • เบนโซไดอาซิพีน (Benzodiazepines)

เอทิลแอลกอฮอล์

แอลกอฮอล์ หรือเอทิลแอลกอฮอล์ เป็นยาที่สามารถออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดเป็นอันดับสองรองจากคาเฟอีนที่เป็นอันดับหนึ่ง แม้ว่าแอลกอฮอล์นั้นจะถูกกฎหมาย แต่ก็ยังมีความเสี่ยงสูงต่อการมีจะนำไปใช้ในทางที่ผิด เพราะจากการสำรวจในปี 2014 โดยสำนักงานบริการทางสุขภาพจิตและการใช้สารเสพติด (Substance Abuse and Mental Helth Services Administration) เผยว่ามีประชากรเกือบ 61 ล้านคนในสหรัฐอเมริกาที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป ถูกรายงานว่าเป็นว่าเป็นพวกดื่มแอลกอฮอล์เกินขนาดในเวลาสั้นๆ และอีก 16 ล้านคน ถูกรายงานว่าเป็นพวกดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก

การใช้แอลกอฮอล์ในทางที่ถูกและผิดต่างก็มีต้นทุนทางสังคมสูง

จากข้อมูลของทางสมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกา (American Psychiatric Association) พบว่าประมาณร้อยละ 50 เปอร์เซ็นต์ ของการจู่โจม การฆาตกรรม และการเสียชีวิตบนท้องถนนต่างก็มีความเกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ทั้งนั้น

บาร์บิทูเรท

บาร์บิทูเรท หรือคนส่วนใหญ่จะเรียกกันว่า ยาถอน เป็นยากดประสาทส่วนกลางทำให้เกิดภาวะเคลิ้มสุข (Euphoria) และมีความรู้สึกผ่อนคลาย เมื่อใช้ในปริมาณที่ค่อนข้างต่ำ โดยในช่วงแรกของยุค 90 บาร์บิทูเรทถูกมองว่าเป็นยากดประสาทที่มีความปลอดภัย แต่กลับเจอปัญหาในเรื่องการติดยาและการใช้ยาเกินขนาดเริ่มเห็นได้ชัดมากขึ้น เพราะบาร์บิทูเรทจะมีผลกระทบอย่างมากกับรูปแบบการนอนหลับ ผลลัพธ์คือตัวยาจะไปกดการนอนช่วง REM และเนื่องจากมีความเสี่ยงในการติดยาและการใช้ยาเกินขนาดเพิ่มมากขึ้น ทำให้ปัจจุบันบาร์บิทูเรทไม่นิยมกันทั่วไปแล้ว แต่จะใช้สำหรับการรักษาอาการวิตก กังวลและจะใช้ในผู้ที่มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ

เบนโซไดอาซิพีน

เบนโซไดอาซิพีน เป็นยากดประสาทส่วนกลางที่ใช้กันอย่างแพร่เช่นเดียวกันโดยจะใช้กันเพื่อรักษาอาการวิตกกังวลและความผิดปกติทางด้านการนอนหลับ ในปี 1999 มียา 4 ตัวในกลุ่นเบนโซไดอาซิพีนที่ถูกจัดอันดับให้เป็นยาที่สั่งมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา (Latner,2000) ด้วยพิษที่มีค่อนข้างต่ำและมีประสิทธิภาพของตัวยาที่สูง ความเสี่ยงในการติดยาก็ยังทำให้ไม่เป็นที่นิยมในการใช้ยาดังกล่าวในโรคกังวลทั่วไป(generalized anxiety disorder) โรคเครียด PTSD (Post-traumatic Stress disorders) และโรคตื่นตระหนก (Panic disorders) ที่ต้องใช้ยารักษาเป็นเวลานาน (Julien, 2001)

เบนโซไดอาซิพีนมีประสิทธิภาพในการช่วยให้นอนหลับ ทำให้ง่วงซึม คลายกล้ามเนื้อ และยังช่วยเป็นยากันชักอีกด้วย ซึ่งประสิทธิภาพของยาเหล่านี้เองที่เบนโซไดอาซิพีนจึงถูกใช้รักษาอาการต่างๆ ได้แก่ นอนไม่หลับ วิตกกังวล ลุกลี้ลุกลน กล้ามเนื้อกระตุก และชัก ซึ่งเบนโซไดอาซิพีนมักถูกมองว่าปลอดภัยในการใช้ระยะสั้น แต่ในการใช้ระยะยาวอาจก่อให้เกิดการทนต่อยา การติดยา และกลุ่มอาการที่เกิดจากการขาดยาหากหยุดใช้

การใช้ยากดประสาท

ยากดประสาทมักใช้บรรเทาอาการที่เกี่ยวกับความผิดปกติหลายอย่าง ได้แก่

ยากดประสาททำงานออกฤทธิ์อย่างไร?

ยากดประสาทส่วนกลางส่วนใหญ่จะออกฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของสารสื่อประสาท Gamma-Aminobutyric acid(GABA) ซึ่งจะทำหน้าที่ส่งสัญญาณระหว่างเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง ซึ่งการทำงานที่เพิ่มขึ้นของสารสื่อประสาท (GABA) จะช่วยทำให้การทำงานของสมองลดลง ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย และนี่คือสาเหตุที่ว่าทำไมการใช้ยากดประสาทจึงสามารถทำให้รู้สึกง่วงซึมได้


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
medlineplus, Barbiturate intoxication and overdose (https://medlineplus.gov/ency/article/000951.htm)
ncbi.nlm.nih, Barbiturates (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK539731/)
Alan Carter, PharmD, Barbiturates: Uses, Forms, Side Effects, and More (https://www.healthline.com/health/barbiturates), September 19, 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)