กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

สัปดาห์ที่ 5-8 ของการตั้งครรภ์

เผยแพร่ครั้งแรก 28 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
สัปดาห์ที่ 5-8 ของการตั้งครรภ์

ในช่วงสัปดาห์ที่ 5-8 จะเริ่มมีพัฒนาของทารกที่มากขึ้น เริ่มมีการพัฒนาของหัวใจ สมอง ไขสันหลัง ระบบประสาท กล้ามเนื้อ แขน ขา รวมถึงนิ้วมือ และนิ้วเท้าด้วย

สัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์

ทารก: ลูกน้อยของคุณยังคงมีขนาดเล็กอยู่ แต่เริ่มมีการพัฒนาของหัวใจ สมอง ไขสันหลัง กล้ามเนื้อ และกระดูกเกิดขึ้นแล้ว โดยรกจะทำหน้าที่นำสารอาหารจากแม่สู่ทารก และถุงน้ำคร่ำจะให้สภาพแวดล้อมที่อบอุ่นและปลอดภัยกับลูกน้อยของคุณ ทำให้ทารกสามารถเคลื่อนที่ได้ง่าย และในช่วงนี้จะมีการสร้างสายสะดือขึ้นซึ่งเชื่อมต่อระหว่างทารกกับระบบหมุนเวียนเลือดของคุณ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คุณแม่: ในช่วงนี้คุณอาจสงสัยแล้วว่าคุณกำลังตั้งครรภ์ โดยอาจสังเกตเห็นอาการเริ่มแรกของการตั้งครรภ์บางอาการ เช่น

  • รู้สึกคลื่นไส้ เราเรียกว่า อาการแพ้ท้อง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งวัน แต่จะเป็นมากช่วงเช้า
  • รู้สึกเจ็บ คัดตึงเต้านม และหัวนมมีสีคล้ำขึ้น
  • ปัสสาวะบ่อยมากขึ้น
  • รู้สึกอ่อนเพลียมากกว่าปกติ

เคล็ดลับสำหรับช่วงสัปดาห์นี้: คุณจำเป็นต้องเข้าพบสูตินรีแพทย์ให้เร็วที่สุดเมื่อคุณกำลังสงสัยว่าตนเองตั้งครรภ์ การเริ่มดูแลสุขภาพระหว่างการตั้งครรภ์ตั้งแต่แรกๆ ถือเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่งเพื่อให้คุณและทารกของคุณมีสุขภาพที่แข็งแรง

สัปดาห์ที่ 6 ของการตั้งครรภ์

ทารก: ลูกน้อยของคุณจะมีรูปร่างเหมือนลูกอ๊อด มีขนาดเท่าลูกกระสุนของปืนอัดลมบีบีกัน ในช่วงนี้จะเริ่มมีการสร้างดวงตาและแขนขาขึ้น หากตรวจด้วยอัลตราซาวด์แพทย์อาจได้ยินเสียงหัวใจของเด็กแล้ว ในช่วงระหว่างวันที่ 17-56 เป็นช่วงเวลาที่ทารกอ่อนแอ เพราะทารกจะมีความไวต่อสิ่งใดๆ ก็ตามที่อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตตามปกติได้มากในช่วงนี้

คุณแม่: ในช่วงนี้คุณอาจมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นไม่กี่กิโลกรัม หรือถ้าคุณมีอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้อาเจียน คุณอาจน้ำหนักตัวลดลงก็ได้แต่ก็ถือว่ายังปกติอยู่ คุณอาจรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงบางอย่างเกี่ยวกับร่างกายของคุณ เช่น เสื้อผ้าเริ่มคับขึ้นเล็กน้อยที่บริเวณรอบๆ เอว เต้านมขยายขนาดขึ้น แพทย์จะสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงขนาดของมดลูกของคุณด้วยการตรวจอุ้งเชิงกราน

เคล็ดลับสำหรับช่วงสัปดาห์นี้: ปฏิบัติตามคำแนะนำในการดูแลตนเองในแต่ละวัน เช่น รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ และรับประทานวิตามินบำรุงขณะตั้งครรภ์ และให้เลิกสูบบุหรี่และเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วย

สัปดาห์ที่ 7 ของการตั้งครรภ์

ทารก: ทารกมีการเจริญเติบโตมากขึ้น แขนขาที่เจริญเติบโตออกมาจะเริ่มเติบโตขึ้นจนถึงส่วนที่เป็นมือและเท้า หลายๆ ส่วนของร่างกายมีการพัฒนาเพิ่มขึ้น คือ หัวใจ ปอด ลำไส้ ไส้ติ่ง สมอง ไขสันหลัง รูจมูก ปาก และตา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

คุณแม่: ในช่วงนี้คุณจะยังไม่มีอะไรแสดงออกให้เห็นเด่นชัดว่าท้อง แต่คุณจะรู้สึกได้ถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกาย คุณอาจจะยังมีอาการแพ้ท้องอยู่ และเต้านมอาจจะยังรู้สึกคัดตึง เจ็บอยู่

เคล็ดลับสำหรับช่วงสัปดาห์นี้: อย่าปล่อยให้กระเพาะอาหารของคุณว่าง เพราะอาจจะทำให้รู้สึกคลื่นไส้ได้ ให้หาของว่างวางไว้ใกล้ๆ มือตลอดเวลา และให้แบ่งรับประทานอาหารมื้อละน้อยๆ แทนที่จะเป็น 3 มื้อใหญ่เหมือนแต่ก่อน เพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ให้รับประทานโปรตีนด้วย เช่น การเพิ่มชีสเข้าไปในแครกเกอร์ เป็นต้น

สัปดาห์ที่ 8 ของการตั้งครรภ์

ทารก: ช่วงนี้ทารกจะเข้าสู่สัปดาห์ที่ 6 ของพัฒนาการแล้ว เป็นสัปดาห์ใหญ่สำหรับการเติบโต มีการสร้างเปลือกตาและหูขึ้น ทารกจะมีการพัฒนานิ้วมือและนิ้วเท้าในลักษณะที่ยังติดกันอยู่ ทำให้สามารถว่ายไปมารอบๆ ภายในครรภ์ได้

คุณแม่:  ปริมาตรเลือดในร่างกายคุณจะเพิ่มขึ้น และหัวใจคุณจะสูบฉีดเลือดมากกว่า 50% ไปสู่ทารกในครรภ์ อาการที่พบได้บ่อยในสัปดาห์นี้คือ หงุดหงิด และรู้สึกคลื่นไส้จากกลิ่นอาหารบางชนิด

เคล็ดลับสำหรับช่วงสัปดาห์นี้: ให้สวมชุดชั้นในที่รองรับเต้านมที่ดีพอ จะช่วยให้คุณรู้สึกสบายขึ้น และป้องกันไม่ให้หย่อนคล้อยในอนาคต และการออกกำลังกายเพื่อให้กล้ามเนื้อหน้าอกกระชับก็เป็นประโยชน์เช่นเดียวกัน

เกิดอะไรขึ้นภายในร่างกายบ้าง?

โครงสร้างใบหน้าของทารกมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หูแต่ละข้างจะเริ่มขึ้นเป็นรอยพับขนาดเล็กของผิวหนังที่ด้านข้างของศีรษะ มีการสร้างแขนและขาเกิดขึ้น รวมถึงนิ้วมือและนิ้วเท้าด้วย

และในช่วงนี้หลอดประสาท (สมอง ไขสันหลัง และเนื้อเยื่อประสาทอื่นๆ) มีการพัฒนาเป็นอย่างดี ทางเดินอาหารและอวัยวะรับสัมผัสเริ่มมีการพัฒนาในช่วงนี้ เริ่มมีกระดูกเกิดขึ้นทดแทนกระดูกอ่อน

ที่มา : https://www.webmd.com/baby/guide/your-pregnancy-week-by-week-weeks-5-8#1


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
5 weeks pregnant: Symptoms, hormones, baby development, and more. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/297018)
8 Weeks Pregnant - Pregnancy Week-by-Week. TheBump.com. (https://www.thebump.com/pregnancy-week-by-week/8-weeks-pregnant)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม