กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

สัปดาห์ที่ 31-34 ของการตั้งครรภ์

เผยแพร่ครั้งแรก 17 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
สัปดาห์ที่ 31-34 ของการตั้งครรภ์

ในช่วงสัปดาห์ที่ 31-34 จะเป็นช่วงที่ทารกมีน้ำหนักตัวเพิ่มอย่างรวดเร็ว โดยพบว่ามากกว่าครึ่งของของน้ำหนักตัวทารกแรกคลอดจะเพิ่มขึ้นในช่วงนี้ ทารกจะขยับตัวลดลง และเริ่มมีการกลับหัวมาอยู่ในตำแหน่งพร้อมคลอดทางช่องคลอดแล้ว มารดาจะพบอาการเจ็บครรภ์เตือนได้ในช่วงนี้

สัปดาห์ที่ 31

ทารก: ลูกน้อยของคุณสามารถได้ยินเสียงต่างๆ ที่แตกต่างกัน ได้แก่ เสียงที่คุ้นเคย และ เสียงเพลง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คุณแม่: มดลูกของคุณจะขยายขนาดใหญ่ขึ้นมาก โดยกินพื้นที่ส่วนใหญ่ของช่องท้อง และคุณจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มอยู่ที่ประมาณ 9.5-12.2 กิโลกรัม ในช่วงนี้คุณสามารถคาดการณ์ได้ว่าอีกไม่นาน คุณก็จะให้กำเนิดลูกน้อยของคุณแล้ว

เคล็ดลับสำหรับช่วงสัปดาห์นี้: แนะนำให้ฝึกลมหายใจและการผ่อนคลาย เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด

สัปดาห์ที่ 32

ทารก: ทารกจะมีขนาดตัวประมาณ 18.9 นิ้ว (วัดจากหัวจรดเท้า) และมีน้ำหนักเกือบ 1.8 กิโลกรัม ทารกจะตัวใหญ่มากขึ้นโดยกินพื้นที่เกือบทั้งหมดของพื้นที่ในมดลูก  แต่ก็ยังมีพื้นที่ว่างมากพอที่จะให้ทารกกลับตัวไปมาได้ (ตีลังกา) มีการสร้างชั้นของไขมันที่ใต้ผิวหนังของทารก ทารกจะฝึกเปิดดวงตาและฝึกการหายใจในช่วงนี้

คุณแม่: คุณจะเริ่มพบแพทย์หรือพยาบาลที่ดูแลคุณทุกๆ 2 สัปดาห์ และเปลี่ยนเป็นทุก 1 สัปดาห์ในเดือนสุดท้าย คุณอาจยังมีอาการปวดหลังและเป็นตะคริวที่ขาอยู่ อาจพบของเหลวสีเหลืองไหลออกจากเต้านม เราเรียกว่า น้ำนมเหลือง (colostrum) ซึ่งเป็นน้ำนมที่ไหลออกมาก่อนจะมีการผลิตน้ำนม

เคล็ดลับสำหรับช่วงสัปดาห์นี้: ในช่วงนี้คุณอาจแตกต่างจากหญิงตั้งครรภ์รายอื่นก็ได้ อาจมองเห็นว่าหน้าท้องคุณใหญ่กว่า หรือเล็กกว่าหญิงตั้งครรภ์คนอื่นก็ได้ เพราะขึ้นกับขนาดและท่าทางของทารก ลักษณะรูปร่างของคุณ และน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อทำให้ร่างกายรู้สึกสบาย แนะนำให้ดื่มน้ำให้เพียงพอ ยกขาขึ้นขณะนั่ง นอนคะแคงข้างซ้าย และสวมถุงน่องที่เหมาะสมสำหรับหญิงตั้งครรภ์

สัปดาห์ที่ 33

ทารก: ในช่วงเวลาไม่กี่สัปดาห์ต่อจากนี้ทารกจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทารกจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากกว่าครึ่งหนึ่งของน้ำหนักตัวแรกคลอดในช่วง 7 สัปดาห์ข้างหน้านี้ ทารกจะเคลื่อนไหวร่างกายลดลง เข่าจะงอ คางอยู่ใกล้กับหน้าอก แขนและขาไขว้กัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คุณแม่: ตอนนี้น้ำหนักคุณจะเพิ่มอยู่ที่ 10-12.7 กิโลกรัม และน้ำหนักตัวจะเพิ่มประมาณ 0.45 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ ซึ่งประมาณครึ่งหนึ่งของน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจะอยู่ที่ตัวทารก

เคล็ดลับสำหรับช่วงสัปดาห์นี้: จริงๆ แล้วช่วงเวลานี้สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้อย่างปลอดภัย แต่อาจจะรู้สึกอึดอัดไม่สบายตัว แนะนำให้พูดคุยกับแฟนของคุณเกี่ยวกับวิธีอื่นๆ ในการรักษาความสัมพันธ์ที่ดี ได้แก่ การถูหลัง และการนวดเท้า 

สัปดาห์ที่ 34

ทารก: ทารกจะมีขนาดประมาณ 19.8 นิ้ว (จากหัวจรดเท้า) และมีน้ำหนักประมาณ 2.3 กิโลกรัม ทารกจะกลับหัวมาอยู่ที่ด้านล่างเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด อวัยวะภายในร่างกายส่วนใหญ่จะพัฒนาเต็มที่แล้วยกเว้นปอด และผิวหนังของทารกจะมีสีชมพูแทนสีแดง  เล็บมือจะงอกยาวถึงส่วนปลายของนิ้วแล้ว แต่เล็บเท้าจะยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ทารกจะมีผมมากขึ้นแต่จะไม่ค่อยเคลื่อนไหวเท่าแต่ก่อน เพราะว่าพื้นที่ในครรภ์คับแคบขึ้น

คุณแม่: มดลูกมีการหดตัวเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดลูก เรียกว่า Braxton Hicks contractions ซึ่งก็คือเจ็บครรภ์หลอก หรือเจ็บครรภ์เตือน แต่หญิงตั้งครรภ์บางรายอาจไม่รู้สึกถึงการหดตัวนี้ก็ได้ อุ้งเชิงกรานจะคลายตัว และอาจรู้สึกปวดได้ โดยเฉพาะที่หลัง มดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นมากจะเพิ่มแรงเบียดไปที่ชายโครง ทำให้รู้สึกเจ็บ จุกแน่น และสะดือของมารดาอาจเด้งออกมาอยู่ด้านนอกอันเนื่องมาจากการยืดออกของท้องมารดา

เคล็ดลับสำหรับช่วงสัปดาห์นี้: ช่วงนี้คุณจะเริ่มนึกคิดถึงการให้นมลูกคุณ คุณอาจต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการให้นมแม่ หรือพูดคุยกับเพื่อนหรือคนใกล้ชิดที่มีประสบการณ์เพื่อแบ่งปันประสบการณ์กับคุณ

เกิดอะไรขึ้นภายในร่างกายในช่วงนี้บ้าง

เมื่อสิ้นสุดช่วง 4 สัปดาห์นี้ (สัปดาห์ที่ 31-34) ทารกจะมีน้ำหนักตัวประมาณ 2.3 กิโลกรัม ทารกจะมีการพัฒนาและสะสมไขมันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คุณอาจสังเกตเห็นว่าลูกน้อยของคุณเตะมากขึ้น ช่วงนี้สมองของทารกจะพัฒนาอย่างรวดเร็ว และทารกสามารถได้ยินเสียงได้ ส่วนใหญ่ของอวัยวะภายในร่างกายทารกจะพัฒนาเต็มที่แล้ว ยกเว้นปอดที่อยู่ระหว่างการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

https://www.webmd.com/baby/guide/your-pregnancy-week-by-week-weeks-31-34#1


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
34 Weeks Pregnant. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/start4life/pregnancy/week-by-week/3rd-trimester/week-34/)
31 Weeks Pregnant - Pregnancy Week-by-Week. TheBump.com. (https://www.thebump.com/pregnancy-week-by-week/31-weeks-pregnant)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม