กภ. ธีรวิทย์ วิโรจน์วิริยะกุล นักกายภาพบำบัด
เขียนโดย
กภ. ธีรวิทย์ วิโรจน์วิริยะกุล นักกายภาพบำบัด

ขาอ่อนแรง (Weakness in legs)

เผยแพร่ครั้งแรก 20 ก.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

ขาอ่อนแรงเป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยทุกเพศ ทุกวัย สามารถเกิดได้จากความผิดปกติของระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ หรืออาจเป็นขาอ่อนแรงจากระบบหัวใจและหลอดเลือด ขาอ่อนแรงแต่ละสาเหตุมีวิธีวินิจฉัยและรักษาแตกต่างกันไป และสามารถฟื้นฟูได้ด้วยหลายแนวทาง เช่น กายภาพบำบัด

สาเหตุของอาการขาอ่อนแรง

ขาอ่อนแรงเป็นอาการที่พบได้บ่อย มีทั้งแบบที่ไม่รุนแรง เป็นไปตามอายุ หรือเป็นอาการสำคัญของโรคร้ายแรงบางอย่าง รายละเอียดดังนี้

1. ขาอ่อนแรงจากความผิดปกติของระบบประสาท (Nervous system)

ระบบประสาทเป็นศูนย์กลางและเส้นทางการสั่งการและควบคุมการการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย ดังนั้นเมื่อส่วนต่างๆ ของระบบประสาทถูกรบกวนการทำงาน จึงส่งผลให้กล้ามเนื้อบางส่วนของร่างกายอ่อนแรงลงได้ รวมถึงขาด้วย ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้

    • ไขสันหลัง (Spinal cord) ถูกรบกวนการทำงาน อาจจะเกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังที่เคลื่อนตัวไปกดทับไขสันหลัง (Herniated disc) เกิดอุบัติเหตุที่ทำให้กระดูกสันหลัง Spondylosis) เคลื่อนไปกดทับไขสันหลัง หรือการตีบแคบของช่องไขสันหลัง (Spinal stenosis) ตามอายุ

      เมื่อไขสันหลังถูกรบกวน การทำงานอาจจะส่งผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อขา หากขาอ่อนแรงด้วยสาเหตุนี้ มักจะพบการอ่อนแรงของขาทั้งสองข้างพร้อมกัน
    • รากประสาท (Nerve root) ถูกกดทับ อาจจะเกิดจากการกดทับของหมอนรองกระดูกสันหลัง หินปูนที่งอกขึ้นมาตามอายุ หรือการใช้งานกระดูกสันหลัง (Spondylosis) เมื่อรากประสาทถูกกดทับ จะส่งผลต่อการนำกระแสประสาท และส่งผลต่อการทำงานของการเนื้อ ส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงลงได้ ด้วยสาเหตุนี้มากจะเกิดการอ่อนแรงของขาเพียงข้างเดียวเท่านั้น
    • เส้นประสาท (Nerve) ถูกกดทับ อาจจะเกิดจากการหดรั้งของพังผืดต่างๆ หรือการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อบางมัด ซึ่งรบกวนทางเดินของเส้นประสาท ส่งผลต่อการนำกระแสประสาท และทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงลงได้ ด้วยสาเหตุนี้มากจะเกิดการอ่อนแรงของขาเพียงข้างเดียวเท่านั้น
    • ความผิดปกติของสมอง พบได้ทั้งในผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาด้านพัฒนาการของสมอง เช่น โรคสมองพิการ (Cerebral palsy) เป็นต้น หรือผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่เนื้อสมองได้รับความเสียหายหลังจากประสบอุบัติเหตุ หรือโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นต้น สมองเป็นศูญกลางควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย เมื่อเนื้อสมองมีปัญหาก็ย่อมส่งผลต่อกล้ามเนื้อต่างๆ รวมถึงกล้ามเนื้อขาด้วย

2. ขาอ่อนแรงจากความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อ (Muscular system)

กล้ามเนื้อเป็นอวัยวะที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว เมื่อกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งของขาผิดปกติ จึงทำให้การเคลื่อนไหวของขาผิดปกติได้ เช่น

  • กล้ามเนื้อทำงานไม่สมดุล (Muscle imbalance)
    อาจมาจากกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าถูกใช้งานหรือออกกำลังกายจนแข็งแรงกว่ากล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังมัดเล็กๆ บางมัด จึงดึงรั้งให้กล้ามต้นขาด้านหลังมัดนั้นยืดยาวออก และอ่อนแรงลงในทีสุด ในกรณีนี้มักจะพบการอ่อนแรงเพียงแค่บางจังหวะของการเคลื่อนไหวเท่านั้น เช่น ขณะก้าวขึ้นหรือลงบันได หรือเมื่อต้องยืนนานๆ
  • กล้ามเนื้อบาดเจ็บ อาจจะเกิดจากการใช้งานกล้ามเนื้อในท่าทางที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานานๆ หรือการออกกำลังกายอย่างไม่เหมาะสม ทำให้กล้ามเนื้อบาดเจ็บและอ่อนแรงลง นอกจากนี้การอ่อนแรงดังกล่าวยังส่งเสริมให้กล้ามเนื้อใกล้เคียงทำงานหนักขึ้น บาดเจ็บ และอักเสบเรื้องรังได้ ซึ่งก็จะส่งผลให้การอ่อนแรงนั้นขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ

นอกจากนี้การเมื่อยล้าจากการใช้งานกล้ามเนื้อที่มากเกินไปก็อาจจะส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงลงได้ แต่มักจะดีขึ้นภายในระยะเวลาไม่นาน

3. ขาอ่อนแรงจากการไม่ได้ใช้งาน (Disuse atrophy)

สามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งผู้ป่วยที่ต้องนอนติดเตียงนานๆ หรือเกิดขึ้นตามธรรมชาติในผู้สูงอายุ ที่เมื่ออายุมากขึ้น การเคลื่อนไหวของร่างกายก็น้อยลง การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขาจากสาเหตุนี้มักจะสังเกตเห็นการฝ่อลีบ (Atrophy) ได้ชัดเจน

4. ขาอ่อนแรงจากโรคภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ

โรคที่เกิดจากการทำงานผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายหลายชนิดมีผลให้เกิดการอ่นแรงของกล้ามเนื้อบางส่วน หรืออ่อนแรงทั้งร่างกายได้ เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี (Myasthenia Gravis) โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดเอแอลเอส (Amyotrophic Lateral Sclerosis)

5. ขาอ่อนแรงที่เกิดจากระบบหัวใจและหลอดเลือด

ความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น เส้นเลือดหัวใจตีบ และโรคหัวใจ เป็นต้น มีผลทำให้ผู้ป่วยเหนื่อยง่าย อ่อนล้า และสมรรถภาพโดยรวมของร่างกายลดลงก็อาจทำให้ร่างกายอ่อนแรงลง กล้ามเนื้อไม่ทนทานต่อการใช้งาน เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนมีอาการผิดปกติ หรือรู้สึกเหมือนกล้ามเนื้ออ่อนแรงลงได้เช่นกัน

อาการที่มักพบร่วมกับขาอ่อนแรง

เมื่อขาอ่อนแรง มักมีอาการอย่างอื่นเกิดร่วมด้วย เช่น ทรงตัวลำบาก เดินเซ ไม่สามารถขึ้นลงบันไดได้ นอกจากนี้หากการอ่อนแรงนั้นเกิดจากการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อ ก็จะสังเกตเห็นการลีบเล็กลงของมัดกล้ามเนื้อบริเวณต้นขาหรือน่อง

หากสาเหตุมาของขาอ่อนแรงมาจากความผิดปกติของระบบประสาท ก็อาจจะพบความผิดปกติอื่นๆ ของระบบประสาทร่วมด้วย เช่น มีอาการชา มีอาการปวดร้าวจากเอวลงมาที่ขา

หากสาเหตุของอาการอ่อนแรงมาจากการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ ก็อาจจะการอ่อนแรงของส่วนอื่นๆของร่างกาย เช่น แขน หรืออาจจะพบการอ่อนแรงของขาทั้งสองข้าง เป็นต้น

หากการอ่อนแรงนั้นมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือดผู้ป่วยมักจะอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หรือรู้สึกว่าหัวใจเต้นผิดจังหวะร่วมด้วย

อาการแสดงที่เกิดร่วมกับขาอ่อนแรงมีประโยชน์อย่างมากในการวินิจฉัยโรค เมื่อไปพบแพทย์จึงควรแจ้งให้แพทย์ทราบอย่างละเอียด อีกทั้งการวินิจฉัยอาการขาอ่อนแรงต้องอาศัยความละเอียดอ่อนอย่างมาก หากมีอาการขาอ่อนแรงเกิดขึ้นร่วมกับมีความผิดปกติอื่นๆ ที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ควรเข้ารับการตรวจจากแพทย์อย่างเร็วที่สุด

วิธีวินิจฉัยอาการขาอ่อนแรง

การวินิจฉัยอาการขาอ่อนแรงนั้นเริ่มจากการซักประวัติและตรวจร่างกาย นอกจากนี้ยังอาจจะต้องอาศัยการตรวจพิเศษอื่นๆ ทางรังสีวิทยา และห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันอีกด้วย การเลือกวิธีการตรวจประเมินที่เหมาะสมนั้นมาจากข้อมูลและอาการที่ได้จากการซักประวัติ

เมื่อวินิจฉัยสาเหตุที่แน่ชัดได้แล้ว ก็จะเข้าสู่กระบวนการรักษาเพื่อหยุดยั้งการลุกลามของการอ่อนแรง และฟื้นฟูให้ขาที่อ่อนแรงกลับมาทำงานได้ดังเดิม ซึ่งกายภาพบำบัดจะมีบทบาทสำคัญในขั้นตอนนี้

วิธีรักษาขาอ่อนแรงทำได้อย่างไรบ้าง?

วิธีรักษาขาอ่อนแรงมีทั้งรับประทานยา ผ่าตัด (ในกรณีที่ไขสันหลังหรือรากประสาทโดนกดทับจากหมอนรองกระดูกสันหลังหรือหินปูน) หลังจากนั้นผู้ป่วยจะต้องถูกส่งต่อไปทำกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อขาที่อ่อนแรงไปให้กลับมาทำงานได้เหมือนเดิม การรักษาหลักจะเน้นที่การออกกำลังกายแบบต่างๆ และความรุนแรงของผู้ป่วยแต่ละราย นอกจากนี้อาจจะมีกระตุ้นไฟฟ้าร่วมกับการออกกำลังกาย เป็นต้น


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ncbi.nlm.nih, Leg Weakness in a Patient with Lumbar Stenosis and Adrenal Insufficiency (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3098429/), 2011 Apr 30
Gregory Minnis, DPT, 11 Causes of Sudden Leg Weakness (https://www.healthline.com/health/weakness-in-legs), March 20, 2019
Who gets MS? (Epidemiology). (n.d.). (https://www.nationalmssociety.org/What-is-MS/Who-Gets-MS)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ทำไม่ ต้องอ้วนลงพุ่งค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปวดกลังปวดเอว.เอ็นข้อศอกอักเสบเรื้อรังไม่หายสักที
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การปวดหลังเป็นประจำทุกวันเกิดจากอะไร
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
มีลูกเป็นเด็ก CP ค่ะ ตอนนี้ทานอาหารทางสายยาง...ไม่ทราบว่าน้องมีโอกาสต้องเจาะใส่สายทางหน้าท้องหรือป่าวค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อาการปวดเมื้อยบริเวณเหนือสะโพก เกิดจากอะไร มีวิธีรักษายังไงคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)