โรคมะเร็งปากช่องคลอด (Vulval cancer)

เผยแพร่ครั้งแรก 23 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 13 นาที
โรคมะเร็งปากช่องคลอด (Vulval cancer)

อาการที่พบได้บ่อยของโรคมะเร็งปากช่องคลอดมัก คือ อาการคัน ปวด หรือเกิดแผ่นรอยโรคสีผิดปกติขึ้นที่ปากช่องคลอด หากคุณมีอาการดังกล่าว ควรเข้าพบเพื่อปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับวินิจฉัยและรักษาได้ทันท่วงที

บทนำ

โรคมะเร็งปากช่องคลอดเป็นมะเร็งที่พบในเพศหญิงที่พบได้ยากชนิดหนึ่ง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ปากช่องคลอดเป็นอวัยวะเพศภายนอกของผู้หญิง ส่วนนี้ครอบคลุมส่วนเนื้อที่อยู่ล้อมรอบช่องคลอด นั่นคือ แคมใหญ่ (Labia majora) และแคมเล็ก (Labia minora) จุดคลิตอริส (Clitoris) ซึ่งเป็นอวัยวะทางเพศที่ช่วยให้ผู้หญิงถึงจุดสุดยอดทางเพศและต่อมบาร์โธลิน (Bartholin’s glands) ซึ่งเป็นต่อมขนาดเล็ก 2 ต่อมที่อยู่แต่ละข้างของช่องคลอด

ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่ได้รับผลกระทบจากโรคมะเร็งปากช่องคลอดเป็นผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 65 ปี โรคดังกล่าวถือเป็นเรื่องที่พบได้ยากในสตรีอายุต่ำกว่า 50 ปีที่ยังไม่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน

อาการของโรคมะเร็งปากช่องคลอด

อาการของโรคมะเร็งปากช่องคลอด ได้แก่:

  • รู้สึกคันตลอดเวลาบริเวณปากช่องคลอด
  • ปวด, แสบหรือตึง ๆ บริเวณปากช่องคลอด
  • เกิดเป็นแผ่นเนื้อหนายกตัวขึ้นบนผิวหนัง โดยอาจเป็นสีแดง สีขาวหรือสีเข้มกว่าบริเวณข้างเคียง
  • มีก้อนเนื้อ หรือการโตคล้ายหูดขึ้นบนปากช่องคลอด
  • มีเลือดออกจากปากช่องคลอด หรือตกขาวปนเลือดระหว่างช่วงประจำเดือน
  • มีแผลเปิดที่บริเวณปากช่องคลอด
  • ปวดแสบปวดร้อนระหว่างการปัสสาวะ
  • เกิดตุ่มไฝที่ปากช่องคลอดซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างหรือสีที่ผิดปกติกว่าไฝทั่วไป

โปรดเข้าพบแพทย์ประจำตัวทันที หากคุณสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะที่ผิดปกติที่ปากช่องคลอดของคุณ แม้ว่าอาการส่วนใหญ่มักจะไม่ได้เกิดจากการเป็นโรคมะเร็งก็ตาม แต่อาการผิดปกติเหล่านี้ควรได้รับการตรวจและวินิจฉัยให้แน่ชัด

สาเหตุของโรคมะเร็งปากช่องคลอด

สาเหตุที่แท้จริงของโรคมะเร็งช่องคลอดยังไม่ทราบชัดเจน แต่ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าวนี้จะเพิ่มขึ้นตามปัจจัยดังต่อไปนี้

  • อายุที่เพิ่มมากขึ้น
  • ภาวะเซลล์ผิดปกติที่เยื่อบุผิวปากช่องคลอด (Vulval intraepithelial neoplasia: VIN) - เป็นภาวะที่เซลล์บุผิวช่องคลอดเกิดความผิดปกติขึ้นและเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง
  • การติดเชื้อระยะยาวด้วยไวรัส Human papilloma virus (HPV)
  • ความผิดปกติของผิวหนังที่มีผลต่อปากช่องคลอด เช่น โรคผิวหนังอักเสบชนิดแห้งฝ่อ (lichen sclerosus)
  • การสูบบุหรี่
  • อายุที่เพิ่มมากขึ้น
  • ภาวะเซลล์ผิดปกติที่เยื่อบุผิวปากช่องคลอด (Vulval intraepithelial neoplasia: VIN) - เป็นภาวะที่เซลล์บุผิวช่องคลอดเกิดความผิดปกติขึ้นและเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง
  • การติดเชื้อระยะยาวด้วยไวรัส Human papilloma virus (HPV)
  • ความผิดปกติของผิวหนังที่มีผลต่อปากช่องคลอด เช่น โรคผิวหนังอักเสบชนิดแห้งฝ่อ (lichen sclerosus)
  • การสูบบุหรี่

คุณอาจสามารถลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งช่องคลอดโดยการหยุดสูบบุหรี่ และปฏิบัติตามคำแนะนำต่าง ๆ เพื่อลดโอกาสในการรับเชื้อไวรัส HPV

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

วิธีการรักษาโรคมะเร็งปากช่องคลอด

ทางเลือกการรักษาหลักสำหรับมะเร็งปากช่องคลอด คือ การผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อมะเร็งออกจากช่องคลอดและผ่าตัดเอาต่อมน้ำเหลืองที่มีเซลล์มะเร็งออกร่วมด้วย

บางคนอาจได้รับการฉายรังสีรักษา หรือเคมีบำบัด หรือทั้งสองอย่าง

อาจทำการรักษาด้วยการฉายรังสีรักษาและการรักษาด้วยเคมีบำบัดเพียงอย่างเดียวโดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัดได้ในกรณีที่คุณไม่แข็งแรงพอที่จะเข้ารับการผ่าตัด หรือในกรณีที่มะเร็งแพร่กระจายอย่างมากและไม่สามารถกำจัดออกได้ทั้งหมด

พยากรณ์โรคมะเร็งปากช่องคลอด

แนวโน้มโรคมะเร็งปากช่องคลอดจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น การลุกลามของโรคมะเร็ง อายุของคุณ และภาวะสุขภาพโดยรวม โดยทั่วไป ยิ่งตรวจพบมะเร็งได้ไวและอายุน้อยเท่าใด โอกาสที่การรักษาจะประสบความสำเร็จจะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

โดยรวมแล้ว ประมาณ 6 ในทุก 10 ของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปากช่องคลอดจะมีชีวิตอยู่ได้อย่างน้อย 5 ปี อย่างไรก็ตาม แม้จะได้รับการรักษาแล้วมะเร็งก็มีโอกาสกลับมาได้ถึง 1 ในทุก 3 คน คุณจะต้องเข้าพบแพทย์ตามนัดหมายติดตามผลเป็นประจำเพื่อให้แพทย์ของคุณสามารถตรวจสอบได้ว่ามะเร็งได้กลับมาเป็นซ้ำแล้วหรือไม่

การป้องกันโรคมะเร็งปากช่องคลอด

แม้ว่ายังไม่มีวิธีที่สามารถป้องกันโรคมะเร็งปากช่องคลอดได้อย่างสมบูรณ์ แต่คุณอาจจะสามารถลดความเสี่ยงโดย:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย - โดยการใช้ถุงยางอนามัยระหว่างมีเพศสัมพันธ์สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV ได้
  • เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ - การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสามารถตรวจพบเชื้อไวรัส HPV และภาวะก่อนเป็นมะเร็งเช่นภาวะเซลล์ผิดปกติที่เยื่อบุปากช่องคลอด (VIN)
  • เลิกสูบบุหรี่

การฉีดวัคซีนไวรัส HPV อาจช่วยลดโอกาสในการเกิดมะเร็งปากช่องคลอดได้

สาเหตุของโรคมะเร็งปากช่องคลอด

โรคมะเร็งเกิดขึ้นเมื่อเซลล์ในร่างกายของคุณเริ่มแบ่งตัวและเพิ่มจำนวนมากเกินไป และเริ่มรวมตัวกันเป็นก้อนเนื้อเยื่อที่รู้จักกันว่าเป็น เนื้องอก

สาเหตุที่แน่ชัดว่าทำไมเหตุการณ์เช่นนี้ถึงเกิดขึ้นในโรคมะเร็งช่องคลอดยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่พบว่าปัจจัยบางอย่างอาจเพิ่มโอกาสในการเกิดโรคดังกล่าวได้

ได้แก่:

โดยรายละเอียดของปัจจัยดังกล่าว มีดังนี้

อายุ

ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากช่องคลอดจะเพิ่มขึ้นเมื่อคุณมีอายุเพิ่มมากขึ้น ส่วนใหญ่โรคดังกล่าวจะเกิดขึ้นในผู้หญิงอายุ 65 ปีขึ้นไป แม้ว่าบางครั้งอาจเกิดในผู้หญิงที่อายุต่ำกว่า 50 ปีได้บ้างเช่นกัน

ภาวะเซลล์ผิดปกติที่เยื่อบุผิวปากช่องคลอด (Vulval intraepithelial neoplasia: VIN)

ภาวะเซลล์ผิดปกติที่เยื่อบุผิวปากช่องคลอดเป็นภาวะก่อนเป็นมะเร็ง (Pre-cancerous condition) ซึ่งหมายความว่าเซลล์มีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างเกิดขึ้นภายใน และอาจทำให้เซลล์ดังกล่าวเกิดกลายเป็นมะเร็งได้ในภายหลัง กระบวนการจะค่อยเป็นค่อยไปและโดยทั่วไปจะใช้เวลามากกว่า 10 ปี

ในบางกรณี เซลล์ที่ผิดปกติอาจหายไปได้เอง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากยังมีโอกาสที่เซลล์ดังกล่าวจะกลายเป็นมะเร็ง แพทย์จึงมักแนะนำให้ทำการรักษาเพื่อกำจัดเซลล์ที่ผิดปกติดังกล่าวออก

อาการของภาวะเซลล์ผิดปกติที่เยื่อบุผิวปากช่องคลอด (VIN) คล้ายคลึงกับอาการของโรคมะเร็งปากช่องคลอด ได้แก่ อาการคันอย่างต่อเนื่องในปากช่องคลอด และแผ่นเนื้อที่มีสีผิดปกติ โปรดเข้าพบแพทย์ประจำตัวของคุณหากคุณพบว่าตนเองมีอาการดังกล่าว

ภาวะเซลล์ผิดปกติที่เยื่อบุผิวปากช่องคลอดมีอยู่ 2 ประเภทคือ

  • ภาวะเซลล์ผิดปกติที่เยื่อบุผิวปากช่องคลอดโดยทั่วไป (usual or undifferentiated VIN) - ซึ่งจะเกิดในผู้หญิงอายุต่ำกว่า 50 ปีและคาดว่าเกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV
  • ภาวะเซลล์ผิดปกติที่เยื่อบุผิวปากช่องคลอดชนิดแตกต่าง (differentiated VIN) ซึ่งเป็นประเภทที่พบได้ยากซึ่งโดยปกติจะเกิดในผู้หญิงอายุเกิน 60 ปี และเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของผิวหนังที่มีผลต่อปากช่องคลอด

ไวรัส Human papilloma virus (HPV)

ไวรัส HPV เป็นชื่อของกลุ่มไวรัสที่มีผลต่อผิวหนังและเยื่อบุผิวที่ชุ่มชื้น เช่นเดียวกับที่บุในปากมดลูก ทวารหนัก ช่องปาก และลำคอ ไวรัสสามารถติดต่อกันผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทั้งทางช่องคลอด ทวารหนัก และทางช่องปาก

เชื้อไวรัส HPV มีหลายประเภท และคนส่วนใหญ่ได้รับเชื้อไวรัสดังกล่าวอย่างน้อยครั้งหนึ่งในช่วงชีวิตของพวกเขา ในกรณีส่วนใหญ่ไวรัสจะหายไปโดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ และไม่นำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ

อย่างไรก็ตาม เชื้อไวรัส HPV พบในผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งปากช่องคลอดจำนวนมากกว่า 40% ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไวรัสดังกล่าวอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้ได้ ไวรัส HPV เป็นที่รู้จักกันดีว่าทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเซลล์เยื่อยุของปากมดลูก ซึ่งอาจนำไปสู่โรคมะเร็งปากมดลูก นักวิจัยจึงคาดว่าไวรัสอาจมีผลเช่นเดียวกันกับเซลล์ของปากช่องคลอด

ความผิดปกติของผิวหนัง

ความผิดปกติหรือโรคผิวหนังหลายชนิดสามารถมีผลต่อปากช่องคลอดได้ ในบางกรณี โรคดังกล่าวยังมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงของโรคมะเร็งปากช่องคลอดที่เพิ่มขึ้น

โรคสองโรคหลักที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งปากช่องคลอด คือ โรคผิวหนังอักเสบชนิดแห้งฝ่อ (lichen sclerosus) และโรคไลเคน พลานัส (lichen planus) ทั้งสองโรคทำให้ปากช่องคลอดเกิดอาการคัน เจ็บ และสีเปลี่ยนแปลงไป

ประมาณการณ์ได้ว่า ไม่ถึง 5% ของผู้หญิงที่เป็นโรคใดโรคหนึ่งจากสองโรคนี้จะเกิดโรคมะเร็งปากช่องคลอดขึ้นในภายหลัง แต่ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าการจัดการรักษาโรคทั้งสองให้หายจะช่วยลดความเสี่ยงนี้ได้หรือไม่

การสูบบุหรี่

การสูบบุหรี่ช่วยเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะเซลล์ผิดปกติที่เยื่อบุผิวปากช่องคลอด และโรคมะเร็งปากช่องคลอด อาจเป็นเพราะการสูบบุหรี่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันมีประสิทธิภาพน้อยลง และไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัส HPV ออกจากร่างกายของคุณจึงทำให้ร่างกายของคุณเสี่ยงต่อผลกระทบของไวรัสมากขึ้น

การวินิจฉัยโรคมะเร็งปากช่องคลอด

โปรดเข้าพบแพทย์ประจำตัวของคุณ หากสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติของปากช่องคลอดของคุณ

แพทย์ประจำตัวของคุณจะซักถามคุณเกี่ยวกับอาการของคุณ ตรวจสอบประวัติทางการแพทย์ของคุณ และตรวจร่างกายบริเวณปากช่องคลอดของคุณเพื่อหาก้อนเนื้อใด ๆ หรือตรวจสอบบริเวณที่ผิดปกติของผิวหนังดังกล่าว

หากคุณต้องการที่จะทำการตรวจโดยแพทย์หญิงหรือคุณต้องการให้พยาบาลผู้หญิงอยู่ในระหว่างการตรวจด้วย โปรดแจ้งแพทย์หรือพยาบาลนัดหมายของคุณให้ทราบล่วงหน้าก่อนการนัดหมายของคุณ

การส่งต่อไปยังสูตินรีแพทย์

หากแพทย์ของคุณรู้สึกว่าจำเป็นต้องมีการตรวจทดสอบเพิ่มเติม พวกเขาจะส่งตัวคุณไปยังผู้เชี่ยวชาญด้านสูตินรีแพทย์ สูตินรีแพทย์เป็นผู้เชี่ยวชาญในการรักษาความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง

สูตินรีแพทย์จะซักถามเกี่ยวกับอาการของคุณโดยละเอียดอีกครั้งและตรวจสอบบริเวณปากช่องคลอดของคุณ และพวกเขาอาจทำการตัดตรวจชิ้นเนื้อเพื่อตรวจสอบว่าคุณมีโรคมะเร็งหรือไม่

การตรวจชิ้นเนื้อ

การตรวจชิ้นเนื้อเป็นการผ่าตัดเพื่อตัดเอาเนื้อเยื่อเล็ก ๆ ออกมาเพื่อให้สามารถตรวจดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์ว่าเซลล์ดังกล่าวเป็นมะเร็งหรือไม่

กระบวนการมักจะทำภายใต้ยาชาเฉพาะที่ ซึ่งหมายความว่าคุณจะมีสติอยู่ครบถ้วน แต่ผิวโดยรอบจะชาและขั้นตอนการผ่าตัดไม่ควรเจ็บปวด และคุณสามารถกลับบ้านได้ในวันเดียวกัน แต่บางครั้งอาจต้องทำได้ภายใต้การดมยาสลบซึ่งอาจต้องพักค้างคืนในโรงพยาบาล

แพทย์ของคุณอาจเย็บแผลไว้บ้างบางเข็มในบริเวณที่มีการตรวจชิ้นเนื้อ คุณอาจพบว่ามีเลือดออกเล็กน้อยและปวดแสบเป็นเวลาสองสามวันหลังจากนั้น

แพทย์ของคุณมักจะนัดคุณมาภายใน 7 ถึง 10 วันหลังจากการตัดชิ้นเนื้อ เพื่อแจ้งและปรึกษาเกี่ยวกับผลการตรวจของคุณ

การตรวจเพิ่มเติม

หากผลของการตรวจชิ้นเนื้อบ่งชี้ว่าคุณเป็นมะเร็ง คุณอาจต้องได้รับการตรวจเพิ่มเติมเพื่อประเมินว่าโรคนั้นลุกลามแพร่กระจายมากแค่ไหน

ได้แก่:

  • การส่องกล้องตรวจช่องคลอด (colposcopy) - กระบวนการที่ใช้กล้องส่องเพื่อตรวจหาเซลล์ผิดปกติในช่องคลอด
  • การส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ (cystoscopy) - การตรวจภายในของกระเพาะปัสสาวะโดยใช้ท่อกลวงบาง ๆ สอดเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ
  • การส่องกล้องตรวจไส้ตรง (proctoscopy) - การตรวจภายในของทวารหนักและลำไส้ตรง
  • การตัดตรวจชิ้นเนื้อของต่อมน้ำเหลืองใกล้ปากช่องคลอดของคุณเพื่อตรวจสอบว่าเซลล์มะเร็งได้แพร่กระจายเข้าสู่ระบบน้ำเหลืองของคุณแล้วหรือไม่
  • ภาพถ่ายรังสีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) หรือการถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเอ็มอาร์ไอ (MRI) เพื่อตรวจหาสัญญาณของมะเร็งในต่อมน้ำเหลืองหรืออวัยวะอื่น ๆ ทั่วร่างกาย
  • การถ่ายภาพรังสีเอกซเรย์เพื่อตรวจสอบว่ามะเร็งได้แพร่กระจายไปยังปอดของคุณแล้วหรือไม่

ผลของการตรวจเพิ่มเติมเหล่านี้จะช่วยให้แพทย์ของคุณสามารถจัดระยะโรคมะเร็งของคุณได้ นั่นคือ การใช้ระบบตัวเลขเพื่อระบุว่าโรคมะเร็งแพร่กระจายมากเพียงใด

ระยะของโรคมะเร็งปากช่องคลอด

มะเร็งในช่องคลอดจัดระยะโดยใช้ตัวเลขตั้งแต่ 1 ถึง 4 ยิ่งมีค่าที่ต่ำแสดงถึงว่าเซลล์มะเร็งลุกลามน้อยและโอกาสในการรักษาจะประสบความสำเร็จมากขึ้น

ระบบการจัดระยะของโรคมะเร็งปากช่องคลอด ได้แก่:

  • ระยะที่ 1 - มะเร็งยังจำกัดอยู่ที่ปากช่องคลอด
  • ระยะที่ 2 - มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ในบริเวณใกล้เคียง  เช่น ช่องคลอดส่วนล่าง ทวารหนัก หรือท่อปัสสาวะส่วนล่าง แต่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงยังจะไม่ได้รับผลกระทบ
  • ระยะที่ 3 - มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้เคียง
  • ระยะที่ 4 - มะเร็งแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายรวมถึงต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ไกลมากขึ้น

มะเร็งในช่องคลอดระยะที่ 1 และ 2 มักถูกเรียกว่าเป็นมะเร็งระยะเริ่มแรกซึ่งมีโอกาสที่จะได้รับการรักษาแล้วหายขาดมากกว่า ส่วนมะเร็งระยะที่ 3 และ 4 มักเรียกว่ามะเร็งขั้นลุกลาม หรือขั้นสูง และการรักษาให้หายขาดสำหรับโรคมะเร็งระยะดังกล่าวอาจไม่เป็นไปได้

การรักษาโรคมะเร็งปากช่องคลอด

ทางเลือกในการรักษาโรคมะเร็งปากมดลูกจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น มะเร็งแพร่กระจายมากเพียงใด สภาวะสุขภาพทั่วไปของคุณ และความต้องการส่วนตัวของคุณ

ทางเลือกการรักษาหลัก คือ การผ่าตัด การฉายรังสีรักษา และเคมีบำบัด หลายคนที่เป็นโรคมะเร็งปากช่องคลอดได้รับหลายการรักษาเหล่านี้ร่วมกัน

หากมะเร็งของคุณอยู่ในระยะเริ่มแรกมักรักษาให้หายขาดได้ อย่างไรก็ตาม ก็อาจเป็นไปไม่ได้หากมะเร็งแพร่กระจายไปเกินกว่าขอบเขตของปากช่องคลอด

แม้ว่าหลังจากการรักษาประสบความสำเร็จแล้ว ก็ยังมีโอกาสเกิดมะเร็งกลับซ้ำถึง 1 ใน 3 ในเวลาต่อมา ดังนั้น คุณจึงจำเป็นต้องมาตามการนัดหมายติดตามผลอยู่เป็นประจำเพื่อตรวจสอบว่ามะเร็งไม่ได้กลับมาเป็นซ้ำในช่วงเวลาดังกล่าว

แผนการรักษาของคุณ

โรงพยาบาลส่วนใหญ่จะใช้ทีมสหสาขาวิชาชีพ (MDT) เพื่อร่วมกันดูแลรักษาโรคมะเร็งปากช่องคลอด ทีมสหวิชาชีพ คือ ทีมบุคลากรผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานร่วมกันเพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับทางเลือกที่ดีที่สุดในการรักษาโรคของคุณ

สมาชิกของทีมสหสาขาวิชาชีพของคุณอาจได้แก่ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งวิทยา ศัลยแพทย์ สูตินารีแพทย์ และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และบุคลากรอื่น ๆ

การตัดสินใจว่าการรักษาใดที่ดีที่สุดสำหรับคุณมักทำให้เกิดความสับสน ทีมดูแลโรคมะเร็งของคุณจะแนะนำและอธิบายสิ่งที่พวกเขาคิดว่าเป็นตัวเลือกการรักษาที่ดีที่สุด แต่การตัดสินใจครั้งสุดท้ายว่าจะเข้ารับการรักษาใดจะเป็นของคุณ

ก่อนที่จะไปโรงพยาบาลเพื่อปรึกษาทางเลือกในการรักษาของคุณ คุณอาจลองจดรายการคำถามที่คุณต้องการถามผู้เชี่ยวชาญ ตัวอย่างเช่น คุณอาจต้องการทราบข้อดีและข้อเสียของการรักษาบางอย่างโดยเฉพาะ

การผ่าตัดเพื่อกำจัดมะเร็งปากช่องคลอด

ในกรณีส่วนใหญ่ แผนการรักษาของคุณจะเกี่ยวข้องกับการผ่าตัดไม่มากก็น้อย ประเภทของการผ่าตัดที่คุณจะได้รับขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็ง

มีวิธีผ่าตัด 3 ประเภทหลักเพื่อการรักษามะเร็งปากช่องคลอด:

  • การผ่าตัดเฉพาะตำแหน่งก้อนมะเร็ง (radical wide local excision) - เนื้อเยื่อมะเร็งที่ปากช่องคลอดของคุณจะถูกกำจัดออกร่วมกับขอบเขตโดยรอบซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่มีสุขภาพดีโดยปกติจะกินความกว้างออกไปอย่างน้อย 1 ซม. เพื่อป้องกันการลุกลามของเซลล์มะเร็งที่อาจมีอยู่
  • การผ่าตัดตัดปากช่องคลอดบางส่วน (radical partial vulvectomy) การผ่าตัดจะกำจัดส่วนของปากช่องคลอดของคุณกว้างขึ้น เช่น อาจตัดส่วนของแคมออกไปหนึ่งข้างหรือทั้งสองข้างร่วมกับส่วนของจุดคลิตอริส
  • การผ่าตัดตัดปากช่องคลอดแบบกว้าง (radical vulvectomy) การผ่าตัดจะตัดส่วนของปากช่องคลอดคุณออกทั้งหมดรวมทั้งแคมเล็กและใหญ่และอาจรวมถึงจุดคลิตอริสออกไปด้วย

เวลาที่คุณจะใช้ในการฟื้นตัวจากการผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับประเภทของการผ่าตัดและปริมาณที่ถูกตัดออกไป  สำหรับการผ่าตัดบริเวณกว้าง เช่น การผ่าตัดอวัยวะอุ้งเชิงกรานแบบกว้าง (Pelvic exenteration) อาจใช้เวลาฟื้นตัวเป็นเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนก่อนที่คุณจะเริ่มรู้สึกดีขึ้น

ศัลยแพทย์ของคุณจะปรึกษาพูดคุยกับคุณเกี่ยวกับความเสี่ยงที่เป็นไปได้ที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัดที่คุณจะได้รับ ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ การติดเชื้อ ภาวะเลือดไหลไม่หยุด การเกิดลิ่มเลือด การเปลี่ยนแปลงสัมผัสภายในช่องคลอด และปัญหาในการมีเพศสัมพันธ์

การประเมินและการกำจัดต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบ

การผ่าตัดเพิ่มเติมอาจจำเป็นต้องทำเพื่อประเมินว่าเซลล์มะเร็งได้แพร่กระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองในบริเวณขาหนีบของคุณหรือไม่ และจำเป็นต้องทำการกำจัดต่อมเหล่านี้หากพบว่ามีเซลล์มะเร็งลุกลามไป ซึ่งคุณอาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดอย่างน้อยหนึ่งอย่าง ดังต่อไปนี้

การตัดชิ้นเนื้อจากต่อมน้ำเหลืองเซนติเนล (Sentinel node biopsy)

หากมะเร็งแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้เคียง บางครั้งอาจเป็นไปได้ที่จะทำการผ่าตัดเพื่อกำจัดเฉพาะต่อมน้ำเหลืองดังกล่าวเท่านั้น ซึ่งกลุ่มต่อมดังกล่าวจะเรียกว่า ต่อมน้ำเหลืองเซนติเนล (Sentinel nodes)

ต่อมน้ำเหลืองดังกล่าวจะถูกระบุตำแหน่งโดยการฉีดสีย้อมเข้าไปที่บริเวณของก้อนเนื้องอก และศึกษาการไหลของมันเพื่อหาต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้กับก้อนเนื้องอกมากที่สุด กลุ่มต่อมดังกล่าวนี้จะถูกกำจัดออกแล้วนำมาตรวจสอบหาเซลล์มะเร็งภายใต้กล้องจุลทรรศน์

การผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบออก (Groin lymphadenectomy)

ในบางกรณี ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบของคุณอาจต้องถูกกำจัดออกระหว่างการผ่าตัด ซึ่งอาจต้องถูกกำจัดออกไปบางส่วนหรือออกไปทั้งหมด กระบวนการกำจัดต่อมน้ำเหลืองบริเวณดังกล่าวมีชื่อทางการแพทย์ว่า inguinofemoral lymphadenectomy นอกจากนี้ ยังอาจต้องใช้การฉายรังสีรักษาร่วมด้วย

การกำจัดต่อมน้ำเหลืองที่ใกล้กับก้อนมะเร็งช่วยลดความเสี่ยงต่อการกลับมาเป็นมะเร็งซ้ำ แต่จะทำให้คุณอ่อนแอลงได้และเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากกว่าคนทั่วไป และอาจทำให้เกิดอาการบวมที่ขาของคุณจากการสะสมของน้ำเหลือง (lymphoedema)

การผ่าตัดอวัยวะในอุ้งเชิงกรานแบบกว้าง (Pelvic exenteration)

ในกรณีที่คุณเป็นมะเร็งปากช่องคลอดขั้นลุกลามหรือระยะหลัง หรือกลับมาเป็นมะเร็งซ้ำหลังจากได้รับการรักษาก่อนหน้านี้ อาจแนะนำให้มีการผ่าตัดใหญ่ที่กว้างขึ้น เรียกว่า การผ่าตัดอวัยวะในอุ้งเชิงกรานแบบกว้าง การผ่าตัดดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการกำจัดปากช่องคลอดออกทั้งหมด ร่วมกับกระเพาะปัสสาวะ มดลูก และลำไส้บางส่วนของคุณ นี่เป็นการผ่าตัดใหญ่มากชนิดหนึ่ง และไม่ได้มีการดำเนินการบ่อยมากเท่าใดนักในปัจจุบัน

หากส่วนใดส่วนหนึ่งของลำไส้ของคุณถูกกำจัดออกไป ศัลยแพทย์ของคุณจะต้องทำทางขับอุจจาระของคุณขึ้นใหม่ออกบริเวณรูเปิดบริเวณหน้าท้อง (stoma) อุจจาระจะผ่านตามลำไส้และผ่านรูดังกล่าวลงในถุงที่คุณสวมครอบรูเปิดดังกล่าว ซึ่งมีชื่อเรียกถุงนี้ว่า ถุงสำหรับเก็บอุจจาระหน้าท้อง (Colostomy bag)

ถ้ากระเพาะปัสสาวะของคุณถูกตัดออกไป ปัสสาวะสามารถขับออกจากร่างกายของคุณลงในถุงผ่านรูเปิดอีกรูหนึ่งซึ่งเรียกว่า ถุงเก็บปัสสาวะหน้าท้อง (Urostomy bag) หรืออาจเป็นไปได้ที่จะสร้างกระเพาะปัสสาวะขึ้นใหม่โดยนำส่วนของลำไส้ของคุณที่ตัดออกมา ตกแต่งและใช้เพื่อสร้างถุงภายในร่างกายเพื่อบรรจุปัสสาวะและทดแทนกระเพาะปัสสาวะเดิม

ศัลยกรรมตกแต่งเสริมสร้าง (Reconstructive surgery)

หากคุณถูกตัดเนื้อเยื่อออกไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้นในระหว่างการผ่าตัด ผิวของปากช่องคลอดมักจะถูกเย็บเข้าให้ติดกันเช่นเดิมด้วยความปราณีต

แต่หากถูกตัดไปกว้างกว่านั้น อาจจำเป็นต้องสร้างช่องคลอดขึ้นใหม่โดยใช้การปลูกถ่ายผิวหนัง (Skin graft) ซึ่งมีการตัดชิ้นส่วนของผิวตำแหน่งอื่น ซึ่งอาจนำมาจากต้นขาหรือท้องของคุณและย้ายชิ้นส่วนนั้นไปปิดที่แผลในปากช่องคลอดของคุณ อีกทางเลือกหนึ่งคือการโยกผิว (Skin flap) ซึ่งบริเวณผิวหนังใกล้ปากช่องคลอดนั้นจะถูกใช้เพื่อสร้างผนังและปกคลุมบาดแผล

กระบวนการเหล่านี้จะถูกทำในเวลาเดียวกันกับการผ่าตัดเพื่อกำจัดก้อนมะเร็งออกไป

การฉายรังสีรักษา

รังสีรักษาเป็นกระบวนการที่ใช้รังสีพลังงานสูงเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง โดยสามารถนำมาใช้ในผู้ป่วยโรคมะเร็งปากช่องคลอดได้หลายวิธีด้วยกัน ได้แก่:

  • ก่อนการผ่าตัดเพื่อช่วยหดขนาดก้อนมะเร็งเพื่อช่วยให้ไม่ต้องกำจัดอวัยวะที่อยู่ข้างเคียงก้อนมะเร็งออกไปด้วยระหว่างการผ่าตัด
  • หลังการผ่าตัดเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งที่อาจหลงเหลืออยู่ ตัวอย่างเช่น สำหรับกรณีที่เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบร่วมด้วย
  • เป็นทางเลือกทดแทนการผ่าตัดหากสภาวะสุขภาพของคุณไม่แข็งแรงพอที่จะทำการผ่าตัด
  • เพื่อบรรเทาอาการในกรณีที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อของ ีรักษาแบบประคับประคอง (palliative radiotherapy)

ในกรณีส่วนใหญ่ คุณจะได้รับการฉายรังสีรักษาจากภายนอกซึ่งมีเครื่องผลิตรังสีควบคุมลำรังสียิงไปยังส่วนของร่างกายที่มีมะเร็งอยู่

โดยปกติ รังสีรักษาจะทำเป็นช่วงโดยได้รับทุกวันเป็นเวลา 5 วันต่อสัปดาห์ โดยแต่ละช่วงการรักษาจะใช้เวลาไม่กี่นาที และคอร์สการรักษาทั้งหมดจะใช้เวลาสองถึงสามสัปดาห์

ผลข้างเคียงของการฉายรังสีรักษา

แม้ว่ารังสีจะมีประสิทธิภาพในการฆ่าเซลล์มะเร็ง แต่ก็สามารถทำลายเนื้อเยื่อปกติบริเวณรอบข้างไปด้วยได้เช่นกันซึ่งอาจนำไปสู่ผลข้างเคียงหลายรูปแบบ เช่น:

  • อาการเจ็บปวดบริเวณรอบปากช่องคลอด
  • ภาวะท้องร่วง
  • เหนื่อยล้าอ่อนเพลียตลอดเวลา
  • ขนรอบอวัยวะเพศร่วง ซึ่งอาการนี้อาจเป็นตลอดไป
  • การบวมของปากช่องคลอด หรือบริเวณแคมเล็กหรือใหญ่
  • ช่องคลอดแคบตีบ ซึ่งอาจทำให้มีเพศสัมพันธ์ได้ยากขึ้น
  • กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)

ในผู้ป่วยหญิงอายุน้อย การฉายรังสีรักษาจากภายนอกอาจทำให้ผู้ป่วยคนดังกล่าวเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควร ซึ่งหมายความว่าพวกเขาจะไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีกต่อไป

เคมีบำบัด

การรักษาด้วยเคมีบำบัด คือ การใช้ยาที่ใช้ในการฆ่าเซลล์มะเร็ง โดยปกติแล้วจะได้รับโดยการฉีดเข้าสู่หลอดเลือดดำ

เคมีบำบัดมักถูกนำมาใช้เมื่อโรคมะเร็งปากช่องคลอดกลับมาเป็นซ้ำ หรือใช้เพื่อควบคุมอาการเมื่อไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้และในบางครั้งอาจใช้ร่วมกับรังสีรักษา

ผลข้างเคียงของเคมีบำบัด

ยาที่ใช้ในเคมีบำบัดบางครั้งสามารถทำลายเนื้อเยื่อที่มีสุขภาพดีไปพร้อมกับเนื้อเยื่อมะเร็งได้ ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย ได้แก่:

  • อาการเมื่อยล้า
  • รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน
  • ผมร่วงหรือผมบาง
  • เจ็บภายในช่องปาก
  • เกิดแผลในปาก
  • โอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มขึ้น

ให้รีบแจ้งทีมแพทย์ผู้ดูแลคุณหากคุณเกิดอาการข้างเคียงใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อและพยายามหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดสัมผัสกับคนที่ติดเชื้อ

ผลข้างเคียงจากเคมีบำบัดเหล่านี้ควรค่อย ๆ หายไปเมื่อการรักษาเสร็จสิ้น

การดูแลด้านจิตใจและอารมณ์

ผลกระทบทางอารมณ์ของการใช้ชีวิตกับโรคมะเร็งปากช่องคลอดอาจเป็นเรื่องที่รุนแรงและส่งผลต่อชีวิตคุณได้มาก ผู้ป่วยหลายคนรายงานว่าตนเองมีอารมณ์ขึ้นลงเหมือนกับรถไฟเหาะ เช่น  คุณอาจรู้สึกผิดหวังเมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็ง รู้สึกดีขึ้นเมื่อมะเร็งได้ถูกกำจัดออกจากร่างกายของคุณ แล้วรู้สึกหดหู่อีกครั้งเมื่อคุณพยายามที่จะจัดการหรือใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผลข้างเคียงของการผ่าตัด เป็นต้น

บางคนอาจเกิดภาวะซึมเศร้าขึ้น หากคุณคิดว่าคุณเป็นโรคซึมเศร้า โปรดติดต่อทีมแพทย์หรือแพทย์ประจำตัวของคุณโดยด่วนเพื่อขอคำแนะนำ มีหลายทางเลือกการดูแลรักษาที่สามารถช่วยคุณได้

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/cancer/cancer-types-in-adults/vulval-cancer#diagnosis


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Vulvar Cancer | HPV | Dysplasia. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/vulvarcancer.html)
What Is Vulvar Cancer? - Symptoms And Treatment. American Academy of Family Physicians. (https://familydoctor.org/condition/vulvar-cancer/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป