วิตามินรักษาสิว

วิตามินรักษาสิวชนิดรับประทานและใช้ภายนอก พร้อมข้อปฏิบัติที่ทำให้วิตามินออกฤทธิ์เต็มประสิทธิภาพ และผู้ใช้ปลอดภัย
เผยแพร่ครั้งแรก 28 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 5 ส.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
วิตามินรักษาสิว

สิว”เป็นหนึ่งในปัญหากวนใจใครหลายๆคน ซึ่งเกิดจากความผิดปติของรูขุมขนและไขมัน จนก่อให้เกิดการอุดตันหรือติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นที่มาของสิวผด สิวอักเสบ สิวหัวหนอง หรือสิวหัวช้าง สิวจะพบมากในวัยรุ่น แต่ทั้งนี้ในวัยผู้ใหญ่หรือผู้หญิงที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนก็มีโอกาสเกิดได้เช่นกัน แม้สิวจะไม่ทำอันตรายถึงขั้นชีวิต แต่ก็ส่งกระทบต่อความมั่นใจและจิตใจได้ ดังนั้นการรักษาและบรรเทาอาการสิวจึงเป็นสิ่งที่หลายๆ คนใส่ใจและหาวิธีในการกำจัดมันออก การรักษาโดยใช้วิตามินตามธรรมชาติเป็นสิ่งที่ทำได้และเห็นผลค่อนข้างชัดเจน

ตัวอย่างวิตามินรักษาสิว รูปแบบ วิธีใช้ และข้อควรระวัง มีดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

รักษาสิวด้วยวิตามินเอ (Vitamin A) 

วิตามินเอเป็นวิตามินที่สามารถรักษาสิวได้ เพียงแต่ต้องใช้ในปริมาณและวิธีที่ถูกต้อง มีวิตามินเอชนิดทาใช้รักษาสิว 

โดยวิตามินเอหรือสารที่เรียกว่าเรตินอยด์ (Retinoid) เป็นสารที่มีฤทธิ์ในการละลายหัวสิว ผลักสิวอุดตัน ลดรอยแผลเป็นจากสิว ปรับโครงสร้างผิวชั้นบนสุดของผิวหนังชั้นเคราติน ลดการอักเสบของสิว ลดการเจริญเติบโตของเชื้อที่ก่อให้เกิดสิว และช่วยปรับให้ผิวเรียบเนียนขึ้น 

วิตามินเอในรูปแบบทามีวางจำหน่ายในท้องตลาดในรูปแบบครีมรักษาสิว เช่น แบรนด์ Retin-A, Renoca, Stieva-A, Differin, Tozarac และ Zorac โดยเริ่มแรกควรทาปริมาณน้อยๆ ก่อนเพื่อให้ผิวปรับตัว หรืออาจทาแล้วล้างออก และหากผิวปรับตัวได้ก็อาจทาวันเว้นวันก่อนนอน 

ครีมรักษาสิวกลุ่มนี้ควรทาในเวลากลางคืนเพราะครีมนี้ทำให้ผิวไวต่อแสง และควรทาครีมกันแดดในเวลากลางวันด้วย รวมถึงควรทามอยซ์เจอไรเซอร์ (Moisturizer) ด้วยเนื่องจากผิวจะแห้งลง โดยในช่วง 2-4 สัปดาห์แรกอาจมีอาการสิวเห่อและมีสิวผดเกิดขึ้น และเริ่มยุบและเห็นผลในเวลาประมาณหนึ่งเดือน 

ข้อควรระวัง ครีมรักษาสิวชนิดนี้ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์หรือผู้ที่วางแผนจะมีบุตรเด็ดขาด เพราะวิตามินเออาจสะสมในร่างกายและเป็นพิษต่อเด็กในครรภ์ได้ โดยประกาศขององค์การอาหารและยาจัดให้สารนี้เป็นยา และห้ามใช้ในเครื่องสำอางค์และหากใครต้องการใช้ยารักษาสิวเรตินอยด์นี้ ควรขอคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้เนื่องจากเป็นยาที่ค่อนข้างเป็นอันตรายต่อผิวหนัง

รักษาสิวด้วยวิตามินซี (Vitamin C) 

วิตามินซีเป็นวิตามินที่หลายๆ คนทราบดีอยู่แล้วว่ารับประทานแล้วช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และช่วยให้ไม่ป่วยง่าย แต่วิตามินซีก็ยังมีฤทธิ์ด้านการรักษาสิวและลดรอยด่างดำจากสิวด้วย เพราะวิตามินซีเป็นหนึ่งในสร้างที่ใช้ในการสังเคราะห์คอลลาเจน และส่งเสริมการสร้างอิลาสติน (Elastin) ในผิวหนัง 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ซึ่งทั้งสองสารนี้เป็นสารที่จำเป็นต่อการสร้างชั้นผิวใหม่และฟื้นฟูผิว ซึ่งหากผิวของเรามีชั้นคอลลาเจนที่แข็งแรงก็จะช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดสิว ช่วยให้รอยสิวเกิดยาก หรือถ้าหากเป็นสิวอยู่แล้ว รอยสิวก็จะหายเร็วขึ้น นอกจากนี้วิตามินซียังช่วยให้จุดด่างดำจางลงอีกด้วย อนุมูลอิสระ (Free radical) 

เป็นสารที่เกิดเองตามธรรมชาติภายในร่างกายเรา โดยอนุมูลอิสระมีฤทธิ์ทำลายผิวโดยทำลายกรดไขมันและโปรตีนบนเซลล์ของชั้นผิวหนังและทำให้สมดุล pH ของผิวเปลี่ยนไป จนทำให้ต่อมไขมันบนผิวหน้าระคายเคือง จนทำให้ผิวผลิตไขมัน (Sebum) มากขึ้น และอาจทำให้ผิวเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียและก่อให้เกิดสิวได้ 

การรับประทานวิตามินซีเป็นการช่วยกำจัดอนุมูลอิสระ เพราะมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระสูง และไปกำจัดอนุมูลอิสระซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ก่อให้เกิดสิวและริ้วรอย วิตามินซียังช่วยให้รอยแดงของสิวลดน้อยลงด้วย ซึ่งรอยแดงจากสิวเกิดจากการอักเสบของชั้นผิวหนัง 

กระบวนการคือ โดยปกติร่างกายปล่อยสารต้านการอักเสบตามธรรมชาติ (Leukotrienes) ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าแบคทีเรีย และแบคทีเรียก็ป้องกันตัวเองเช่นกันโดยปล่อยสารเคมีออกมาและก่อให้เกิดรอยแดงขึ้น จากการศึกษาพบว่า การรับประทานวิตามินซีจะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันนี้ทำงานน้อยลง และลดรอยแดงลงได้ แต่

ทั้งนี้ วิตามินซีไม่ได้ใช้เป็นยาหลักในการรักษาสิว เพียงแต่เป็นวิตามินเสริมเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดสิวและบรรเทาอาการสิวได้ และวิตามินซีแบบทาให้ผลเร็วแต่ไม่ยาวนาน ดังนั้นจึงแนะนำให้รับประทานวิตามินซีแบบรับประทานดีกว่า แนะนำว่ารับประทานควรวิตามินซีอย่างน้อย 75-90 มิลลกิกรัมต่อวัน 

แต่ไม่มากเกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน อาหารเสริมวิตามินซีในปัจจุบันมีหลากหลายยี่ห้อ เช่น วิตามิน DHC, Blackmore, Nat C ของ MEGA We care องค์การเภสัชกรรม ซึ่งหาซื้อได้ง่าย หรือหากใครมีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร ก็ขอแนะนำ Ester-C 1 500mg ของยี่ห้อ Solgar ซึ่งยี่ห้อนี้อ้างว่าวิตามินซีที่ผลิตมาไม่มีฤทธิ์เป็นกรดและไม่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร



3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Pullar, J. M., Carr, A. C., & Vissers, M. (2017). The Roles of Vitamin C in Skin Health. Nutrients, 9(8), 866.
Kandola, A. (2019). Vitamins and minerals for acne: Treatment and prevention. Retrieved from https://www.medicalnewstoday.c...
Hansen, E. (2017). Does Vitamin C Help For Acne & Scars? Learn The Facts Here. Retrieved from https://evehansen.com/blogs/re...

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิตามินซี ประโยชน์และโทษที่คุณควรรู้
วิตามินซี ประโยชน์และโทษที่คุณควรรู้

เรื่องน่ารู้ของวิตามินซี ทั้งประโยชน์และโทษ การรับประทานอย่างถูกต้อง

อ่านเพิ่ม
วิตามินเสริมในภาวะพิเศษ 1
วิตามินเสริมในภาวะพิเศษ 1

อ่านข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการรับประทานวิตามินเสริมในภาวะพิเศษ เช่น เมื่อยามที่คุณเกิดมีสิว กลิ่นปาก ลมหายใจมีกลิ่น ศีรษะล้านหรือผมร่วง เลือดออกตามไรฟัน กระดูกหัก ฟกช้ำ เป็นต้น

อ่านเพิ่ม