วิตามินดี (Vitamin D) ป้องกันสมองเสื่อม

กองบรรณาธิการ HonestDocs
เผยแพร่ครั้งแรก 24 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 11 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที

วิตามินดีป้องกันสมองเสื่อม

วิตามินดีมีหลายรูปแบบ แต่ที่สำคัญต่อคนเรามี 2 รูปแบบ คือวิตามินดี 2 ซึ่งมีในพืช และวิตามินดี 3 ซึ่งผิวหนังของมนุษย์สร้างขึ้นจากแสงแดด วิตามินดีจึงมักจะเป็นที่รู้จักกันในนาม วิตามินจากแสงแดด ในประเทศเมืองหนาว การขาดวิตามินดีอาจเกิดขึ้นในช่วงฤดูหนาว หรือผู้อยู่แต่ในบ้าน เช่น ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

วิตามินดีเป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ในธรรมชาติพบน้อยมาก อาหาร และอาจมากจากการเสริมด้วยวิจามินดี 2 หรือวิตามินดี 3 ในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

หน้าที่สำคัญของวิตามินดี

  • การรักษาระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในเลือดให้ปกติ 
  • ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมในลำไส้เพื่อเสริมสร้างและรักษากระดูกให้แข็งแรง 
  • ป้องกันกระดูกพรุน 
  • ลดการแตกหักของกระดูก 
  • นอกจากนี้วิตามินดียังมีหน้าที่ปรับการเจริญเติบโตของเชลล์ประสาทและกล้ามเนื้อร่วมกับประสาทควบคุมระบบภูมิคุ้มกัน จึงอาจช่วยลดการอักเสบ โรคเบาหวาน โรคซึมเศร้า และโรคมะเร็งบางชนิด

งานวิจัยเกี่ยวกับวิตามินในปัจจุบันทำให้เราได้รู้ถึงความสำคัญของวิตามินดีมากขึ้น วิตามินดีในร่างกายมี 2 รูปแบบคือ แคลซิไดออล (calcidiol) และแคลซิไตรออล (calcitriol) ซึ่งเป็นวิตามินดีในรูปแบบแอ๊คทีฟ แคลซิไดออลเป็นสารตั้งต้นของแคลซิไตรออล 

วิตามินดีที่ผิวหนังสร้างจากแสงแดดหรือได้รับจากอาหารทะเลและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มีฤทธิ์เฉื่อยทางชีวภาพ จะต้องถูกตับเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบแคลซิไดออล ซึ่งมีความไวมากขึ้น จากนั้นจะถูกเปลี่ยนให้เป็นแคลซิไตรออลในไต ซึ่งอยู่ในรูปแบบที่ร่างกายนำไปใช้ทางสรีรวิทยา

แหล่งวิตามินดีในธรรมชาติจากอาหารได้แก่ ปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน ทูน่า แมคเคอเรล นอกจากนี้ยังมีในนม ไข่ ชีส ตับวัว เห็ดบางชนิด และจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

ไขมันเลวเพิ่มความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ การศึกษาที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ.2014 พบว่า ผู้สูงอายุมีระดับวิตามินดีในเลือดต่ำมีความเสี่ยงเกิดโรคอัลไซเมอร์สูงขึ้นสองเท่าเมื่อเทียบกับผู้สูงอายุที่มีระดับวิตามินดีปกติ นอกจากนี้ความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมชนิดอื่นยังสูงขึ้นตามความรุนแรงของการขาดวิตามินดีอีกด้วย แต่ผลการวิจัยดังกล่าวยังไม่สามารถนำมาเป็นคำแนะนำให้ผู้สูงอายุเสริมวิตามินดีเพื่อป้องกันสมองเสื่อมได้ 

นักวิจัยได้ติดตามชายและหญิงที่มีสุขภาพสมองดี ไม่มีโรคหัวใจและหลอดเลือด อายุ 65 ปี จำนวน 1,658 คน ที่อยู่ในโครงการวิจัยของ U.S.Cardiovascular Health Study ระหว่างปี ค.ศ 1992 – 1993 เพื่อตรวจเลือดตั้งแต่เริ่มการวิจัยและประเมินสภาวะสมองหลังจาก 6 ปีผ่านไป ผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่มีระดับวิตามินดีในเลือดต่ำอาจเพิ่มความเสี่ยงของปัญหาความจำและการเรียนรู้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ระดับวิตามินดีในเลือดของอาสาสมัครได้สะท้อนถึงวิตามินดีจากอาหารที่รับประทาน ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และแสงแดดที่ได้รับ อาสาสมัครผู้ที่ได้รับวิตามินดีต่ำมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะสมองเสื่อมมากผู้ที่มีระดับวิตามินดีปกติ 1.7 เท่า และพบว่าเมื่อเทียบกับผู้ที่มีระดับวิตามินดีในเลือด 50 นาโนโมล (nanomale) ต่อลิตรขึ้นไป ผู้ที่มีระดับวิตามินดีในเลือด 25-50 นาโนโมลต่อลิตรจะมีความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น 53 เปอร์เซ็นต์จากทุกสาเหตุ และความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้น 69 เปอร์เซ็นต์ ส่วนผู้ที่มีระดับวิตามินดีในเลือดน้อยกว่า 25 นาโนโมลต่อลิตรมีแนวโน้มการเกดิโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมอื่นๆ เพิ่มขึ้นสองเท่า 

ผู้เชี่ยวชาญยังไม่ความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่าระดับวิตามินดีที่ดีที่สุดควรอยู่ที่เท่าไร แต่สถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาเห็นว่าระดับวิตามินดีในเลือดไม่ควรต่ำกว่า 50 นาโนโมลต่อลิตร โดยผู้เชี่ยวชาญสันนิษฐานว่า วิตามินดีป้องกันสมองเสื่อมโดยขจัดพลัค (plaque) ในสมอง นักวิจัยจาก UCLA พบว่า วิตามินในรูปของวิตามินดี 3 เมื่อใช่รวมกับสารสกัดเคอร์คูมิน (curcumin) ในขมิ้นชันอาจช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในการขจัดสารแอมีลอยด์-เบต้าพลัค ซึ่งเป็นตัวการสำคัญของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ 

แต่ผู้เชียวชาญเตือนว่าอาจเร็วเกินไปที่แนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคสมองเสื่อม อาหารที่มีวิตามินดีสูงมากมายที่เราพบในซุปเปอร์มาร์เก็ตมักจะได้รับการเติมวิตามินดีสังเคราะห์ เพราะอาหารธรรมชาติที่มีวิตามินดีสูงนั้นมีไม่มาก จึงต้องพึ่งการรับวิตามินดีจากแสงแดดเพื่อให้ผิวหนังนำไปสร้างวิตามินดีอีกที 

แต่ในยุคนี้เราได้รับแสงแดดน้อยลง เช่น ทำงานในตึก นั่งรถติดฟิล์ม ช็อปปิ้งในห้างสรรพสินค้า ถ้าออกแดดก็ต้องทาครีมกันแดด ทำให้สร้างวิตามินดีในร่างกายลดน้อยลงไปด้วย ดร.เคธ ฟาร์โก้ (Keith Fargo) ผู้อำนวยการโครงการทางวิทยาศาสตร์และการสื่อความรู้อัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Association) เห็นด้วยว่า วิตามินดีเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคอัลไซเมอร์ แต่การปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหารหรือการได้รับแสงแดดมากขึ้น หรือแม้แต่การเพิ่มระดับวิตามินดีในเลือด จะช่วยลดความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ได้หรือไม่ก็ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน 

แต่ระหว่างที่รอคำตอบจากการวิจัยเพิ่มเติม ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ควรรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพสมอง ซึ่งเป็นอาหารชนิดเดียวกันกับที่ป้องกันโรคหัวใจ รวมทั้งบริโภคอาหารที่มีไขมันและคอเลสเตอรอลต่ำ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ  ในขณะที่การศึกษาอื่นที่ผ่านมายังแสดงให้เห็นว่า อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินอีซึ่งเป็นหนึ่งในสารต้านอนุมูลอิสระยังอาจช่วยลดความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อมรวมถึงโรคอัลไซเมอร์ได้ 

อาหารธรรมชาติ 10 ชนิด วิตามินดีสูง 

  • เห็ดซิตาเกะ เห็ดหอมแห้งจากการตากแดดมีวิตามินดีสูง เนื่องจากเห็ดชนิดนี้จะดูดซับแสงแดดไว้มาก นอกจากนี้ยังมีวิตามินบี1 และ 2 สูง หากต้องการได้รับวิตามินดีเต็มเม็ดเต็มหน่วย เวลาซื้อเห็ดแห้งควรเลือกซื้อชนิดตากแห่ง ไม่ใช้อบแห้งหรือวิธีอื่นๆ 
  • ปลาแมคเคอเรล ปลาแมคเคอเรลนอกจากจะมีกรดโอเมก้า-3สูง (ปริมาณ 100 กรัมให้กรดโอเมก้า-3 สูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน) แล้งยังมีวิตามินดีสูงอีกด้วย แต่ปริมาณวิตามินดีนี้ขึ้นอยูกับพันธ์ของปลาแมคเคอเรลและวิธีการปรุงอาหาร 
  • แซลมอน ปกติแซลมอนจะกินแพลงก์ตอนซึ่งเป็นแหล่งที่ดีของวิตามินดีเป็นอาหาร ดังนั้นปลาแซลมอนสุก 100 กรัมจะให้วิตามินดีสูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน ปลาแซลมอนที่เรากินกันหนึ่งมื้อ (120 กรัม) ให้วิตามินดี 411 ไอยู เทียบเท่ากับวิตามินดี 103 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน 
  • ปลาแฮร์ริ่ง มีวิตามินดีสูงเนื่องจากกินแพลงก์ตอนเป็นอาหารเหมือนแซลมอนจึงมีวิตามินต่างๆ สูงเช่นกัน 
  • ปลาซาร์ดีน เป็นหนึ่งในบรรดาอาหารที่ดีที่สุดที่มีวิตามินสูงสุด ปลาซาร์ดีนกระป๋องเล็กหนึ่งกระป๋องให้วิตามินดีสูงถึง 70 เปอร์เซ็นต์ของความต้องการประจำวัน และยังอุดมไปด้วยโปรตีน วิตามินบี 12 กรดโอเมก้า-3 และซีลีเซียม 
  • ปลาดุกทะเล นอกจากมีวิตามินดีสูงเนื่องจากกินแพลงก์ตอนเป็นอาหารเหมือนแซลมอน ปลาดุกทะเลยังสมารถสร้างวิตามินดีจากแสงแดดได้อีกด้วย 
  • ปลาทูน่า หากกินทูน่าให้ได้วันละ 100 กรัมจะได้รับวิตามินดีประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ของความต้องการประจำวัน ทูน่ายังมีกรดโอเมก้า-3 สูง ซึ่งเป็นอาหารที่สมองต้องการ ช่วยการทำงานด้านความจำ 
  • น้ำมันตับปลา มีวิตามินดีและกรดโอเมก้า-3สูง แต่กลิ่นอาจไม่เป็นที่ชื่นชอบมากนัก การมีวิตามินดีสูงจึงใช้เป็นอาหารเสริมสุขภาพกระดูก ป้องกันกระดูกพรุนในผู้ใหญ่ รวมทั้งเสริมสร้างสมองและสุขภาพประสาท น้ำมันตับปลา 1 ช้อนโต๊ะให้วิตามินดี 1,360 ไอยู ซึ่งเกินความต้องการของร่างกายภายใน 1 วัน 
  • ไข่ ไข่ 1 ฟองให้วิตามินดีประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของความต้องการประจำวัน คนไทยเรากินไข่เป็นประจำอยู่แล้ว ไข่จึงเป็นแหล่งวิตามินดีของอาหารคนไทยเช่นกัน 
  • แสงแดด แม้จะไม่ใช่อาหาร แต่ก็ถือว่าสำคัญไม่แพ้กัน เมื่อผิวหนังกระทบกับแสงแดดจะกระตุ้นการสร้างวิตามินและฮอร์โมน การได้รับแสงแดดที่ใบหน้า แขน ขา และแผ่นหลัง ในช่วง 10.00 – 15.00 น. เป็นเวลา 15 – 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง จะช่วยให้ได้รับวิตามินดีถึง 10,000 ไอยู ผู้สูงวัยและผู้ที่มีสีผิวคล้ำมีแนวโน้มที่จะขาดวิตามินดีได้แต่สำหรับคนที่ไม่ค่อยเจอกับแสงแดดก็สามารถเพิ่มวิตามินได้จากอาหาร จะเห็นว่าชาวพื้นเมืองอินูอิต (Inuit) ในรัฐอะแลสกา ได้รับวิตามินดีมากจากการกินปลาในชีวิตประจำวันนั่นเอง 

อาหารหลายชนิดที่มีวิตามินสูงจะเป็นแหล่งที่ดีของวิตามินบี 12 ซึ่งช่วยป้องกันสมองเสื่อมด้วย เช่น ปลาทะเล ไข่ และอาหารเช้า ประเภทธัญพืช เป็นที่ยอมรับกันดีว่า อาหารมีอิทธิพลต่อความเสี่ยงโรคสมองเสื่อม ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดในการลดความเสี่ยงสมองเสื่อมคือ รับประทานอาหารให้สมดุลร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมบ่อยขึ้น

ที่มา: http://ods.od.nih.gov/factshee...


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Vitamin D offers no protection against Alzheimer's. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/322445)
Vitamin D and Alzheimer's Disease: Neurocognition to Therapeutics. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4553343/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)