วิตามินบี 12 (โคบาลามิน)

วิตามินบี 12 ตัวช่วยบำรุงระบบประสาทและเสริมสร้างเม็ดเลือดแดง สารอาหารจำเป็นที่ทุกคนห้ามขาด
เผยแพร่ครั้งแรก 10 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 8 ก.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
วิตามินบี 12 (โคบาลามิน)

วิตามินบี 12 (โคบาลามิน)

วิตามินบี 12 หรือ โคบาลามิน (Cobalamin) เป็นวิตามินชนิดหนึ่งที่ละลายได้ในน้ำ วิตามินชนิดนี้นับเป็นวิตามินที่มีประโยชน์ในแง่ของการเสริมสร้างการเจริญเติบโตและการทำงานของระบบประสาท และส่งเสริมการสร้างเม็ดเลือดแดง โดยร่างกายไม่สามารถสร้างวิตามินนี้ได้ด้วยตัวเอง จึงจำเป็นต้องอาศัยการรับประทานจากอาหารหรืออาหารเสริม

วิตามินบี 12 มีหลายชนิด บางชนิดเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ บางชนิดนั้นถูกสังเคราะห์ในห้องทดลอง ซึ่งชนิดที่สังเคราะห์ขึ้นเองจากมนุษย์ที่ใช้บ่อยมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด คือ Cyancobalamin, Methylcobalamin และ Hydroxocobalamin

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หน้าที่ของวิตามินบี 12

  • วิตามินบี 12 ทำงานร่วมกับกรดโฟลิคในกระบวนการแบ่งเซลล์และสังเคราะห์ DNA และ RNA เพื่อใช้ในการกระตุ้นให้เซลล์สร้างเม็ดเลือดแดงเกิดการแบ่งเซลล์เป็นเซลล์เม็ดเลือดแดงตามปกติ
  • วิตามินบี 12 ช่วยป้องกันเยื่อไมอีลิน (Myelin) ที่ห่อหุ้มเส้นประสาท ทำให้ระดับการทำงานของเซลล์ประสาทและระบบประสาททำงานได้ตามปกติ
  • ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น เนื่องจากวิตามินบี 12 มีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของแบคทีเรียชนิดดีในกระเพาะอาหาร และช่วยกำจัดแบคทีเรียที่เป็นอันตรายในกระเพาะอาหาร
  • ช่วยในกระบวนการเมแทบอลิซึมของโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต ของเซลล์ในร่างกาย ทำให้ร่างกายได้รับพลังงานได้ดีขึ้น
  • ช่วยในการสังเคราะห์เมไทโอนีน (Methionine) และโคลีน (Choline) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญในการป้องกันการสะสมไขมันในตับ (Lipotropic Factors)
  • การรักษาสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย เนื่องจากมีผลต่อการทำงานของต่อมหมวกไต ซึ่งทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนหลายชนิด
  • ช่วยให้ธาตุเหล็ก และกรดโฟลิคทำงานได้ดีขึ้น
  • การสร้างเซลล์ผิวหนัง ลดอาการแดงและอักเสบที่เกิดขึ้นบนผิวหนัง เช่น สิว ลดอาการผิวแห้ง นอกจากนี้ยังลดอาการผมร่วงและช่วยให้เล็บแข็งแรงขึ้นอีกด้วย

แหล่งอาหารวิตามินบี 12

แหล่งอาหารที่พบวิตามินบี 12 อยู่ในอาหารประเภทเนื้อสัตว์ จำพวก ตับ ไต หัวใจ ปลา และนม ไม่พบในผักและผลไม้

ในร่างกายคนเราก็สามารถสร้างวิตามินบี 12 ได้โดยแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ แต่ร่างกายไม่อาจดูดซึมเอาประโยชน์ของวิตามินบี 12 มาใช้ได้ เพราะการดูดซึมจะต้องอาศัยอินทรินสิกแฟคเตอร์ เพปไทด์ (Peptide) ที่หลั่งมาจากกระเพาะอาหารเท่านั้น โดยสารดังกล่าว มีหน้าที่ในการช่วยดูดซึมวิตามินบี 12 ที่ลำไส้เล็ก ทำให้อาจต้องรับประทานอาหารเสริมเพิ่ม เพื่อให้ร่างกายได้รับปริมาณวิตามินเพียงพอต่อวัน

สำหรับสัตว์และพืชไม่สามารถสังเคราะห์วิตามินบี 12 เองได้ พวกสัตว์ต่างๆ จะได้รับผ่านการกินอาหาร หรือน้ำ ที่มีเชื้อจุลินทรีย์ปนอยู่ ดังนั้นจึงเป็นที่น่าสังเกตว่าคนที่รับประทานอาหารมังสวิรัติ มักมีระดับวิตามินบี 12 ในเลือดต่ำกว่าปกติ อีกทั้งยังมีโอกาสขาดวิตามินชนิดนี้ได้ง่ายด้วย

ความต้องการต่อวันของวิตามินบี 12

ปริมาณสารอาหารที่ควรได้รับประจำวัน ตามเกณฑ์ Recommended Dietary Allowance (RDA) สำหรับผู้ใหญ่โดยเฉลี่ยตั้งไว้ที่ 2 ไมโครกรัม 

โดยถ้าแยกตามอายุสามารถดูได้จากตารางด้านล่าง

อายุปริมาณที่ควรได้รับ (ไมโครกรัมต่อวัน)
0-6 เดือน0.4
7-12 เดือน0.5
1-3 ปี0.9
4-8 ปี1.2
เด็กอายุ 9-13 ปี1.8
ชายและหญิงที่มีอายุมากกว่า 14 ปี2.4
หญิงตั้งครรภ์2.6
หญิงให้นมบุตร2.8

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การขาดวิตามินบี 12 ส่งผลกระทบอย่างไร

การเกิดภาวะขาดวิตามินบี 12 อาจทำให้เด็กเล็กมีปัญหาเรื่องของระบบประสาท ส่วนในผู้ใหญ่อาจนำไปสู่ความเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ ระบบประสาทเสื่อมโทรม โลหิตจาง มีปัญหาเรื่องความจำและการคิดเชิงตรรกะ โรคหัวใจ เป็นต้น

โรคขาดวิตามินบี 12 ขั้นสูงสุดคือ โรคโลหิตจางชนิดเพอร์นิเซียส (Pernicious anemia) เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้น้อยมาก มักพบได้บ่อยในหมู่ผู้สูงอายุ 

การรักษาภาวะการขาดวิตามินบี 12 มีทั้งการใช้ยาวิตามินบี 12 แบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และแบบรับประทาน โดยขนาด ระยะเวลาในการรักษา และวิธีการบริหารยานั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรง และสาเหตุของการขาดวิตามินดังกล่าว  

บุคคลที่เสี่ยงต่อการขาดวิตามินบี 12

  • บุคคลที่รับประทานมังสวิรัติ สำหรับผู้ที่เป็นมังสวิรัติมีโอกาสที่จะเกิดภาวะขาดวิตามินบี 12 สูงกว่าคนทั่วไป เนื่องจากวิตามินบี 12 ส่วนใหญ่อยู่ในเนื้อสัตว์ ส่วนในสาหร่ายทะเลซึ่งเป็นอาหารที่ชาวมังสวิรัติรับประทานได้ เช่น สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ร่างกายของเรากลับไม่สามารถดูดซึมวิตามินบี 12 จากมันได้ทั้งหมด ดังนั้น เพื่อป้องกันภาวะขาดวิตามิน ชาวมังสวิรัติจึงควรรับประทานวิตามินชนิดนี้เสริมในทุกวัน
  • บุคคลที่รับประทานยาบางประเภท เช่น ยาที่เกี่ยวกับโรคแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งมีฤทธิ์ไปยับยั้งการหลั่งของกรดไฮโดรคลอริก หรือการรับประทานยาปฏิชีวะติดต่อกันในระยะยาว ก็สามารถลดความสามารถของกระเพาะอาหารในการดูดซึมและนำวิตามินบี 12 ไปใช้ได้เช่นกัน ซึ่งเหล่านี้จะนำไปสู่ภาวะขาดวิตามินบี 12 และอาการอีกหลายๆ อย่าง ตลอดจนเป็นโรคโลหิตจาง เนื่องจากร่างกายจำเป็นต้องใช้วิตามินชนิดนี้ในการสร้างเม็ดเลือดแดงด้วย
  • บุคคลที่สูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ เนื่องจากแอลกอฮอล์และนิโคตินจะเป็นตัวขัดขวางการดูดซึมวิตามินบี 12
  • บุคคลที่รับประทานอาหารเสริมประเภทโพแทสเซียม ก็มีโอกาสเกิดภาวะขาดวิตามินบี 12 ได้เช่นกัน

พิษของวิตามินบี 12

วิตามินบี 12 ถือว่าเป็นวิตามินที่ปลอดภัย ยังไม่พบรายงานความเป็นพิษ

บุคคลที่ควรรับประทานวิตามินบี 12 เพิ่มเติม

หญิงมีครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้สูงอายุ และผู้ซึ่งอาจได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ควรรับประทานวิตามินบี 12 เพิ่มเติม

การรับประทานวิตามินบี 12 ร่วมกับยาอื่น

วิตามินบี 12 ทำปฏิกิริยากับกรดพารา-อะมิโนซาลิซิลิด ซึ่งเป็นยารักษาวัณโรค และโคลชิซีนใช้สำหรับโรคเกาต์ ผู้ที่กำลังรักษาโรคดังกล่าว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการรับประทานวิตามิน


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
U.S. Department of Health & Human Services, vitamin B12 (https://ods.od.nih.gov/factsheets/VitaminB12-Consumer/), 24 June 2011
Harvard University, Three of the B Vitamins: Folate, Vitamin B6, and Vitamin B12 (https://www.hsph.harvard.edu/nutritionsource/vitamins/vitamin-b/)
Patrick J. Skerrett, Vitamin B12 deficiency can be sneaky, harmful (https://www.health.harvard.edu/blog/vitamin-b12-deficiency-can-be-sneaky-harmful-201301105780), 10 January 2013

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิตามินกับการรับประทานอาหาร ที่มีสารต่อต้านริ้วรอย
วิตามินกับการรับประทานอาหาร ที่มีสารต่อต้านริ้วรอย

รับประทานวิตามินเพื่อการชะลอวัยอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

อ่านเพิ่ม