วิตามินบีป้องกันโรคหัวใจ

เผยแพร่ครั้งแรก 14 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
วิตามินบีป้องกันโรคหัวใจ

ในกลุ่มของวิตามินบีหรือบีรวมประกอบไปด้วยสาร 11 ชนิด ที่ร่วมกันทำงานในการดูแลสุขภาพของหัวใจ วิตามินบีสำคัญที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพหัวใจ ได้แก่ โฟเลต วิตามินบี 2 บี 6 และ บี 12

การกินอาหารที่มีวิตามินบีเพียงพอจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อการทำงานของหัวใจ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาหารธรรมชาติ 11 ชนิดที่ช่วยลดคอเลสเตอรอล

ผลการศึกษาล่าสุดจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) ระบุว่า อาหารในธรรมชาติสามารถลดคอเลสเตอรอลได้แตกต่างกันออกไป อาหารที่มีใยอาหารชนิดละลายน้ำได้จะทำงานโดยจับกับคอเลสเตอรอลและขับคอเลสเตอรอลออกจากร่างกายก่อนที่จะเข้าไปในกระแสเลือด อาหารบางชนิดมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่งช่วยลดแอลดีแอลคอเลสเตอรอลโดยตรงได้ บางชนิดมีสารสเตอรอลและสตานอลจากพืช ซึ่งมีโครงสร้างคล้างคอเลสเตอรอล แต่มีฤทธิ์ยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอล

อาหารช่วยลดคอเลสเตอรอล

  1. ข้าวโอ๊ต  ข้อมูลการวิจัยแนะว่า การบริโภคใยอาหารรวมวันละ 20-35 กรัม โดยที่มีใยอาหารละลายน้ำได้อย่างน้อยที่สุด 5-10 กรัม จะช่วยลดคอเลสเตอรอลได้ สำหรับคนไทยอาจผสมข้าวโอ๊ตในข้าวต้มทำเป็นโจ๊ก หรือผสมกันหมูบด ไก่บด เพื่อเพิ่มใยอาหารชนิดที่ละลายน้ำได้
  2. ข้าวบาร์เลย์ และ เมล็ดธัญพืชไม่ขัดสี  มีใยอาหารที่ละลายน้ำได้เช่นเดียวกับข้าวโอ๊ต
  3. ถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วแดง เลนทิล ถั่วลูกไก่ ถั่วลาย เป็นอาหารที่มีใยอาหารละลายน้ำได้สูงมาก ใช้เวลานานขึ้นในการย่อยทำให้อิ่มนาน จึงช่วยในการลดน้ำหนักเช่นกัน นอกเหนือจากการลดคอเลสเตอรอล
  4. มะเขือยาว และ ฝักกระเจี๊ยบ เป็นแหล่งที่ดีเยี่ยมของใยอาหารละลายน้ำได้ และมีพลังงานต่ำ
  5. ถั่วเปลือกแข็ง  งานวิจัยมากมายยืนยันว่า ถั่วอัลมอนด์ วอลนัท ถั่วลิสง และถั่วเปลือกแข็งชนิดอื่นส่งเสริมสุขภาพหัวใจโดยพบว่าการบริโภคถั่วเปลือกแข็งวันละ 60 กรัมช่วยลดแอลดีแอลคอเลสเตอรอลได้ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ ถั่วมีสารอาหารที่ดี เช่น สารไฟโตสเตอรอล ช่วยลดคอเลสเตอรอล
  6. น้ำมันพืช การใช้น้ำมันพืชซึ่งปราศจากคอเลสเตอรอลในธรรมชาติ เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอย และน้ำมันเมล็ดชา เพื่อใช้แทนเนย เนยขา น้ำมันหมูหรือน้ำมันวัวในการปรุงอาหาร จะช่วยลดแอลดีแอลคอเลสเตอรอลได้
  7. แอ๊ปเปิ้ล องุ่น สตรอว์เบอร์รี่ ผลไม้ตระกูลส้ม มีใยอาหารละลายน้ำได้ในรูปสารเพกทินสูง มีฤทธิ์ช่วยลดคอเลสเตอรอล
  8. ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสารสเตอรอล และ สตานอล ซึ่งสกัดจากพืช จะช่วยดูดซับคอเลสเตอรอลจากอาหาร จึงมีการนำสารทั้งสองชนิดเติมลงในอาหารชนิดต่างๆ เช่น มาร์การีน กราโนลาบาร์ น้ำส้มคั้น ช็อคโกแลต ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร งานวิจัยแนะนำให้บริโภคสารสเตอรอลและสตานอลจากพืชวันละ 2 กรัม จะสามารถลดแอลดีแอลคอเลสเตอรอลได้ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์
  9. ถั่วเหลือง อาหารถั่วเหลือง หรือ ผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้และนมถั่วเหลืองช่วยลดคอเลสเตอรอลได้ งานวิจัยรายงานว่า การกินโปรตีนถั่วเหลืองวันละ 25 กรัม (เท่ากับเต้าหู้ 300 กรัมหรือนมถั่วเหลืองวันละ 750 มิลลิลิตร) สามารถลดแอลดีแอลได้ 5-6 เปอร์เซ็นต์
  10. ปลาทะเล ควรบริโภคสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง แทนการบริโภคเนื้อสัตว์ใหญ่ซึ่งมีไขมันอิ่มตัวสูง ช่วยลดคอเลสเตอรอลได้ นอกจากนี้กรดโอเมก้า-3 ในปลาทะเลยังช่วยลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดและป้องกันความผิดปกติในการเต้นของหัวใจ
  11. ใยอาหารเสริม มีใยอาหารชนิดละลายน้ำได้ในปริมาณมากช่วยลดแอลดีแอลคอเลสเตอรอล เช่น ผลซิลเลียม (Psyllium) วันละ 2 ช้อนชา ให้ใยอาหารละลายน้ำได้ถึง 4 กรัม

นักวิจัยแนะนำให้บริโภคอาหารที่ช่วยลดคอเลสเตอรอลในรายการข้างต้นในชีวิตประจำวัน เพื่อลดความเสี่ยงโรคหัวใจ

ใช้ยีนในการควบคุมโรคหัวใจ

ในยุคนี้จะเห็นว่าคนเราให้ความสนใจกับการตรวจสุขภาพประจำปีมากขึ้น โดยเฉพาะการตรวจระดับไขมันในเลือดที่จำเป็นต้องตรวจพลาดไม่ได้ หากตรวจสุขภาพชุดใหญ่ ไขมันที่ตรวจได้แก่ คอเลสเตอรอลรวม แอลดีแอลคอเลสเตอรอล (ไขมันวายร้าย) เอชดีแอลคอเลสเตอรอล (ไขมันดี) และไตรกลีเซอไรด์

หากผลการตรวจไขมันออกมาสูงผิดปกติ ยกเว้นค่าเอชดีแอลคอเลสเตอรอลซึ่งยิ่งมีสูงเท่าไหร่ยิ่งดี คุณจะได้รับคำแนะนำให้ติดตามดูแลสุขภาพโดยปรับพฤติกรรมการกินและการออกกำลังกาย ข้อแนะนำที่จะได้รับจากนักกำหนดอาหารนั้นจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นกับไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน บางคนถ้าระดับไขมันสูงมากๆ รวมทั้งดูมีทีท่าจะไม่ยอมเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน คุณหมออาจตัดสินใจให้กินยาลดไขมันเพื่อป้องกันหลอดเลือดตีบหรือโรคหัวใจในอนาคต แต่ก็มีบางคนเหมือนกันที่เต็มใจเปลี่ยนพฤติกรรมการกินเพราะไม่อยากใช้ยา

แต่ในการเปลี่ยนพฤติกรรมก็ไม่ใช่ว่าจะได้ผลเต็มร้อยเสมอไปหากแต่เป็นส่วนน้อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับยีนของแต่ละคน ปัจจุบันในประเทศที่เทคโนโลยีทางการแพทย์ก้าวไปไกลจะมีการยีนก่อน เพื่อดูว่าคนนั้นมียีนแบบใด และควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอย่างไรให้ได้ผลแน่นอน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ตัวอย่างเช่น พลเป็นคนที่ขยันออกกำลังกาย แต่มีความดันโลหิตสูงและคอเลสเตอรอลสูงมาก เขากลัวที่จะต้องพบกับปัญหาหลอดเลือดตีบ แต่ไม่อยากกินยาลดไขมัน ด้วยความที่พลชอบกินอาหารเค็ม เขาจึงคาดว่าถ้าลดการกินเค็มก็จะลดความดันโลหิตได้เมื่อดูผลการตรวจยีนแล้วพบว่าพลไม่มียีนไวต่ออาหารเค็ม จึงไม่จำเป็นต้องลดอาหารเค็ม ทำให้พลยิ้มออกได้ แต่ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าการควบคุมอาหารไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลจะช่วยได้ พลจึงลองวิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินดู 3 เดือน

ดังนั้นหากพลไม่ได้ตรวจยีน แต่รู้ว่ามีประวัติทางพันธุกรรมพลก็ต้องลดอาหารเค็มร่วมด้วย เพราะไม่อาจรู้ว่าพลมียีนที่ไวต่ออาหารเค็มหรือไม่

เจนจิรา ภรรยาของพล ได้รับการตรวจยีนเช่นเดียวกัน แต่ผลการตรวจพบว่าเจนจิรามียีนที่ไวต่ออาหารเค็ม และทำให้ความดันโลหิตสูงได้ ฉะนั้นเจนจิราจึงได้รับแนะนำให้ลดอาหารเค็ม นอกจากนี้ผลการตรวจยีนยังพบว่าเจนจิราควรกินอาหารต้านการอักเสบและวิตามินบี โดยเฉพาะโฟเลต เพื่อช่วยป้องกันโรคที่เกิดจากการอักเสบ

เจนจิรามีนิสัยติดบุหรี่และไม่ยอมเลิก เมื่อผลการตรวจยีนชี้ให้เห็นว่ายีนของเธอมีความเสี่ยงต่อการสะสมสารพิษ คราวนี้เจนจิรายอมหันหลังให้กับการสูบบุหรี่ตลอดกาล

นอกจากนี้เธอยังได้รับคำแนะนำให้ออกกำลังกาย เพราะเธอมียีนที่ชอบการนั่งๆ นอนๆ ซึ่งจะสร้างปัญหากับหัวใจ พลเองเคยพยายามชักชวนให้เจนจิราไปวิ่งออกกำลังกายกับเขามานานแล้ว แต่ไม่สำเร็จเขาจึงต้องขอบใจการตรวจยีน เพราะเจนจิราตัดสินใจจะออกกำลังกายโดยที่เขาไม่ต้องขอร้องเธออีกต่อไป

จากตัวอย่าง จะเห็นว่าในอนาคตข้างหน้ายีนจะมีบทบาทในการปรับเปลี่ยนอาหารและไลฟ์สไตล์ทำให้สามารถป้องกันโรคได้อย่างมาก

โรคหัวใจป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต้านอาหาร การออกกำลังกาย ใส่ใจกับสุขภาพหัวใจแต่เนิ่นๆ แล้วคุณจะห่างไกลโรคเรื้อรังอีกหลายๆโรคตลอดชีวิตที่เหลือ


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Heart Beat: Heart failure tough on B vitamins. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/newsletter_article/heart-failure-tough-on-b-vitamins)
How to Prevent a Heart Attack: Vitamins, Exercise, Diet Tips. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/vitamins_and_exercise/article.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป