กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ. วรพันธ์ พุทธศักดา
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ. วรพันธ์ พุทธศักดา

หลอดเลือดสมองแตก เกิดขึ้นและป้องกันได้อย่างไร

หลอดเลือดสมองแตก อาการจากโรคหลอดเลือดสมองที่อันตรายถึงชีวิต
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 9 ธ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
หลอดเลือดสมองแตก เกิดขึ้นและป้องกันได้อย่างไร

ทำความรู้จักภาวะหลอดเลือดสมองแตก

หลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic stroke) เป็นรูปแบบหนึ่งของโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ที่ต้องรีบพาผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันทีที่เกิดอาการอย่างฉับพลัน เนื่องจากมีโอกาสทำให้เสียชีวิตได้ นอกจากนี้ โรคหลอดเลือดสมองยังพบได้มากในประเทศไทย จนเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในอันดับต้นๆ ของประเทศเลยทีเดียว 

หลอดเลือดสมองแตกมักมีสาเหตุมาจากภาวะความดันโลหิตสูง ประกอบกับหลอดเลือดบริเวณนั้นเปราะบางหรือแข็งตัว จนแตกออก ทำให้เลือดออกในสมอง ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย จนทำให้การทำงานของสมองหยุดชะงักลง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการของภาวะหลอดเลือดสมองแตกเป็นอย่างไร

เมื่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเกิดภาวะหลอดเลือดสมองแตก ก็มักจะมีอาการดังต่อไปนี้ และอาการจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลันและรวดเร็วมาก

  • ปวดศีรษะ 
  • คลื่นไส้อาเจียน 
  • หมดสติ
  • ในผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการปวดใดๆ แต่จะมีระดับความรู้สึกตัวต่ำ แขนและขาอ่อนแรง พูดไม่ชัดหรืออาจจะถึงขั้นพูดไม่ได้เลย 

สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีประวัติศีรษะกระแทกก่อนจะมีอาการ จึงทำให้เข้าใจผิดว่ามีเลือดออกในสมองจากอุบัติเหตุ แต่ที่จริงแล้ว สาเหตุอาจเกิดจากหลอดเลือดสมองแตกทำให้เลือดออกในสมองจนทำให้เกิดอุบัติเหตุ และมีอาการทางสมองตามมาก็ได้

ส่วนในผู้ป่วยรายที่มีภาวะสมองขาดเลือดแบบชั่วคราว (Transient Ischemic Attack: TIA) ก็อาจมีอาการเตือนขึ้นมาชั่วคราว เช่น เวียนหัว มองเห็นภาพซ้อน มีปัญหาเรื่องความจำ กล้ามเนื้ออ่อนแรง แล้วอาการก็จะหายไปเอง ภายใน 1 วัน อาการเตือนก็สามารถเกิดขึ้นได้หลายครั้งด้วย ก่อนที่ร่างกายจะแสดงอาการสมองขาดเลือดแบบถาวรขึ้นมา

ดังนั้น เมื่อผู้ป่วยมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ให้ผู้ดูแลรีบพาผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยด่วน เนื่องจากภาวะหลอดเลือดสมองแตกถือว่าเป็นอาการที่รุนแรงมาก และต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที มิเช่นนั้นอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้ นอกจากนี้ หลอดเลือดสมองแตกยังเป็นสาเหตุของอาการอัมพฤกษ์และอัมพาตได้อีกด้วย ผู้ป่วยจึงต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิดและคอยสังเกตอาการอยู่ตลอดเวลา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองแตกมักมาจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันบางอย่าง เช่น

อย่างไรก็ตาม โรคประจำตัวที่กล่าวมาข้างต้นยังถือว่าเป็นสิ่งที่ควบคุมได้ ถ้าได้รับการดูแลเอาใจใส่มากพอ แต่หากผู้ป่วยปล่อยปละละเลยไม่ทำการรักษาหรือควบคุมอาการให้ดี โรคดังกล่าวก็อาการที่รุนแรงขึ้นและลุกลามหนักกว่าเดิม ส่วนปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่ผู้ป่วยไม่สามารถหลีกเลี่ยงและควบคุมได้คือ อายุที่สูงวัยขึ้น พันธุกรรม เชื้อชาติ

วิธีทดสอบว่าตนเองมีอาการของโรคหลอดเลือดสมองหรือไม่

หากคุณพบว่าคนใกล้ชิดมีอาการอ่อนแรง หรืออัมพฤกษ์อัมพาต อาการชา พูดไม่ชัด ตาพร่ามัว เดินเซ หรือซึมหมดสติ ให้รีบพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กอาการทันที เพราะผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองส่วนมากมักจะไม่ค่อยรู้ตัวว่าตนเองเป็นโรคนี้ และจะรู้อีกทีเมื่อเป็นโรคในระยะที่อันตรายต่อชีวิตไปแล้ว

นอกจากนี้ หากคุณพบว่าตนเองมีอาการที่น่าสงสัยของโรคหลอดเลือดสมอง ให้ลองทำ "การทดสอบเอสทีอาร์" (STR) ซึ่งเป็นการทดสอบที่ย่อมาจากการแสดงท่าทาง 3 ข้อคือ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  1. ให้ผู้ป่วยทดลองยิ้ม (Smile) : หากผู้ป่วยไม่มีอาการยิ้มแล้วปากเบี้ยวไปด้านใดด้านหนึ่ง หรือยิ้มได้ยาก ก็แสดงว่าปกติดี
  2. ให้ผู้ป่วยพูดประโยคให้สมบูรณ์ (Talk) : เช่น ให้ผู้ป่วยลองพูดว่า "วันนี้ทานข้าวแล้วหรือยัง" หากผู้ป่วยสามารถพูดได้ไม่มีผิดเพี้ยนไปจากปกติ ลิ้นไม่พันกัน แสดงว่าปกติดี
  3. ให้ยกแขนทั้ง 2 ข้างขึ้น (Raise) : หากผู้ป่วยยกได้ ไม่รู้สึกว่ายากหรือยกไม่ขึ้น ก็แสดงว่าปกติดี

และอีกอาการที่ผู้ดูแลต้องสังเกตและไม่ควรมองข้ามคือ ลองให้ผู้ป่วยแลบลิ้นออกมา ถ้าลิ้นม้วนหรือเบี้ยวไปข้างใดข้างหนึ่ง ก็แสดงว่าอาจมีอาการของโรคหลอดเลือดสมอง

การรักษา

การรักษาทางการแพทย์ จะแบ่งออกเป็น 3 วิธี

    1. การรักษาด้วยการผ่าตัด การรักษาด้วยการผ่าตัดนั้นทำในผู้ป่วยบางราย โดยการนำก้อนเลือดออกเพื่อลดความดันในกะโหลกศีรษะ ป้องกันไม่ให้มีการทำลายเนื้อเยื่อสมองไปมากกว่าเดิม
    2. การรักษาด้วยยา การรักษาด้วยยานั้นมีความจำเป็นเพื่อควบคุมระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันในกะโหลกศีรษะ และป้องกันอาการชัก
    3. การฟื้นฟูสมรรถภาพ ทำการรักษาในระยะยาว ด้วยการทำกายภาพบำบัดเพื่อให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองได้ การให้ความรู้แก่ผู้ดูแล รวมถึงควบคุมปัจจัยเสี่ยงเพื่อไม่ให้เกิดหลอดเลือดสมองแตกซ้ำ

การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคหลอดเลือดสมอง

เพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดในสมองแตกซ้ำ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจึงต้องหมั่นดูแลตนเองและระมัดระวังไม่ให้อาการของโรคกำเริบ โดยสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ได้

  • ไปตรวจเช็กสุขภาพประจำปีทุกปี และหากพบว่าตนเองมีความเสี่ยงหรือเป็นโรคหลอดเลือดสมองแล้ว ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำและทำการรักษาทันที
  • รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ ห้ามหยุดยาเองโดยเด็ดขาด
  • ดูแลสุขภาพของตนเองโดยควบคุมไขมัน ความดัน และน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม หวาน และมันจัด
  • ออกกำลังกายทุกวัน วันละประมาณ 30 นาที พร้อมทั้งควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม
  • เลิกสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกฮอลล์
  • ถ้ามีอาการเตือนของโรคมาก่อน แต่เกิดหายไปได้เอง ก็อย่านิ่งนอนใจและให้รีบไปพบแพทย์โดยทันที
  • สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในการดูแลของแพทย์ด้วยโรคนี้อยู่แล้ว ก็ควรที่จะใช้ยาพร้อมทั้งทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพราะหากผู้ป่วยใช้ยาผิด ไม่มีการติดตามผลการรักษา และไม่มีผู้ดูแลคอยดูแลอย่างใกล้ชิด ก็อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและเสียชีวิตได้

นอกเหนือจากคำแนะนำข้างต้น ผู้ป่วยควรต้องดูแลสุขภาพจิตใจของตนเองให้ดีอยู่เสมอ พยายามหลีกเลี่ยงความเครียด  ความวิตกกังวลและความกดดันไม่ให้มากเกินไป พร้อมทั้งใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท เพราะอาการของโรคหลอดเลือดสมองมักเกิดขึ้นอย่างฉับพลันโดยที่ไม่ทันตั้งตัว ผู้ป่วยจึงต้องลดพฤติกรรมที่ทำให้เกิดความเสี่ยงทั้งหมด เพื่อที่ร่างกายจะได้พยุงอาการของโรคได้อย่างสมดุล และเป็นการรักษาโรคอย่างตรงจุดโดยแท้จริง

บทความที่เกี่ยวข้อง
ตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง จำเป็นต้องตรวจไหม ใครควรตรวจ?


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
แพทย์หญิงพรรณวลัย ผดุงวณิชย์กุล, โรคหลอดเลือดสมอง (http://www.med.nu.ac.th/dpMed/fileKnowledge/106_2017-08-19.pdf)
โรคหลอดเลือดสมองคืออะไร (https://www.si.mahidol.ac.th/center/sirirajstrokecenter/TH/StrokeContent/content/people/What-is-stroke.aspx)
แนวทางเวชปฏิบัติโรคหลอดเลือดสมองแตก สำหรับแพทย์ (http://pni.go.th/pnigoth/wp-content/uploads//2013/10/Clinical-Practice-Guidelines-for-Hemorrhagic-Stroke.pdf)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ความผิดปกติของการสื่อความหมาย (Disorder of Communication)
ความผิดปกติของการสื่อความหมาย (Disorder of Communication)

ความผิดปกติของการสื่อความหมาย เป็นภาวะที่ทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาต่อการสื่อสาร และการทำความเข้าใจเรื่องต่างๆ แต่ถ้าหากรักษาเร็ว ก็สามารถหายเป็นปกติได้

อ่านเพิ่ม