กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ขั้นต่างๆของระยะคลอดบุตร (labor)

เผยแพร่ครั้งแรก 17 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ขั้นต่างๆของระยะคลอดบุตร (labor)

เมื่อใกล้ครบกำหนดวันคลอดเข้ามาทุกที คุณควรทราบก่อนว่าช่วงระยะคลอดเป็นอย่างไร จะเกิดสิ่งใดขึ้นกับร่างกายคุณ และต้องเตรียมพร้อมรับมือกับอะไรบ้างก่อนวันสำคัญนั้นจะมาถึง

ระยะคลอดบุตร (labor) นั้นจะเกิดขึ้นโดยแบ่งเป็นสามขั้นตอน และใช้เวลาโดยเฉลี่ยประมาณ 12 ถึง 24 ชั่วโมงในการคลอดครั้งแรก โดยปกติแล้วระยะเวลาการคลอดบุตรจะสั้นลงๆ เมื่อคุณมีครรภ์ต่อๆไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ขั้นแรกของระยะคลอด

ขั้นแรกนี้ถือเป็นส่วนที่นานที่สุดของระยะคลอด และอาจยาวนานได้ถึง 20 ชั่วโมง โดยเริ่มต้นเมื่อปากมดลูกของคุณเริ่มเปิด (หรือกล้ามเนื้อคลายตัวมากขึ้น) และจะสิ้นสุดลงเมื่อมันเปิดกว้างสุด (หรือกล้ามเนื้อคลายตัวอย่างเต็มที่) ที่ประมาณ 10 เซนติเมตร เมื่อปากมดลูกขยายตัวตั้งแต่ 0 ถึง 3 หรือ 4 เซนติเมตร การหดตัวของมดลูกก็จะเพิ่มมากขึ้นๆ การหดตัวช่วงแรกๆจะเกิดห่างกันประมาณ 15 ถึง 20 นาที และกินเวลาประมาณ 60 ถึง 90 วินาทีต่อครั้ง การหดตัวจะถี่มากขึ้นจนห่างกันแต่ละช่วงน้อยกว่า 5 นาที ส่วนนี้ของระยะคลอด (เรียกว่า ระยะแฝง) ควรเกิดขึ้นในบริเวณที่มีความสะดวกสบายในบริเวณบ้านของคุณ

เมื่อปากมดลูกขยายตัวตั้งแต่ 4 ถึง 8 เซนติเมตร (เรียกว่า ระยะทำงาน) การหดตัวของมดลูกจะแรงมากขึ้น และห่างกันเพียงประมาณ 3 นาที และยาวนานประมาณ 45 วินาทีต่อครั้ง คุณอาจเริ่มมีอาการปวดหลังและมีเลือดออกเพิ่มขึ้นจากช่องคลอด อารมณ์ของคุณอาจรุนแรงมากขึ้น เมื่อคุณมุ่งมั่นอย่างหนักในการรับมือกับอาการหดตัวดังกล่าว นอกจากนี้ คุณยังจะต้องการแรงสนับสนุนจากคนใกล้ตัวของคุณมากขึ้น

คำแนะนำเพื่อช่วยให้คุณผ่านอาการหดตัวที่รุนแรงดังกล่าวไปได้ ได้แก่:

  • ลองเปลี่ยนตำแหน่ง หรืออิริยาบถของคุณ คุณอาจต้องการที่จะเอามือและเข่าของคุณรองท้องหรือหลัง เพื่อบรรเทาความรู้สึกไม่สบายของส่วนหลัง
  • แช่ในอ่างน้ำอุ่น หรืออาบน้ำอุ่น
  • ฝึกการหายใจช้าๆเป็นจังหวะ และผ่อนคลายอย่างต่อเนื่อง

ถ้าเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำของคุณเริ่มฉีกขาด หรือแตกออก – หรือเรียกภาษาชาวบ้านว่า "น้ำคร่ำแตก" - การหดตัวอาจจะรุนแรงมากขึ้น เมื่อปากมดลูกขยายตัวตั้งแต่ 8 ถึง 10 เซนติเมตร (เรียกว่า ช่วงเปลี่ยนผ่าน) การหดตัวจะมาทุก 2 ถึง 3 นาที และใช้เวลาประมาณ 1 นาทีต่อครั้ง คุณอาจรู้สึกกดบริเวณทวารหนักของคุณ และอาการปวดหลังของคุณอาจรู้สึกแย่ลง เลือดออกจากช่องคลอดจะมากขึ้นๆ

การฝึกฝนเทคนิคการหายใจ และการผ่อนคลาย เช่น การนวด หรือฟังเพลงผ่อนคลายนั้นอาจช่วยบรรเทาสิ่งเหล่านี้ได้ ให้วางสมาธิต่อการหดตัวหนึ่งครั้ง โปรดจำไว้ว่า การหดตัวแต่ละครั้ง นั่นหมายถึง คุณใกล้จะได้ลูกน้อยของคุณเข้าสู่อ้อมกอดแล้ว

ระยะทำงาน และระยะเปลี่ยนผ่านนี้เองที่คุณควรจะต้องจะไปโรงพยาบาล หรือศูนย์คลอดได้แล้ว เมื่อมาถึง คุณจะถูกขอให้สวมชุดของโรงพยาบาล และจะถูกวัดชีพจร ความดันโลหิต และอุณหภูมิ จอภาพจะถูกวางไว้บนท้องของคุณเป็นระยะเวลาสั้น หรืออย่างต่อเนื่องเพื่อตรวจหาการหดตัวของมดลูก และประเมินอัตราการเต้นของหัวใจของทารก แพทย์ประจำตัวของคุณจะตรวจสอบปากมดลูกของคุณในระหว่างการตรวจอุ้งเชิงกราน เพื่อทราบว่าระยะคลอดนั้นเริ่มไปจนถึงขั้นใดแล้ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาจมีการเจาะเข็มฉีดยาเข้าสู่หลอดเลือดดำ (IV) วางที่แขนของคุณเพื่อนำส่งของเหลว สารอาหาร และยาหากจำเป็น

ขั้นที่สองของระยะคลอด (การคลอดทารก)

ขั้นตอนที่สองของระยะคลอดจะเริ่มขึ้นเมื่อปากมดลูกของคุณเปิดตัวเต็มที่ 10 เซนติเมตร ขั้นตอนนี้ยังคงดำเนินต่อไปจนกว่าทารกจะคลอดผ่านช่องคลอด และมีชีวิตขึ้นมา ขั้นตอนนี้อาจใช้เวลาเฉลี่ยสองชั่วโมงหรือนานกว่านั้น

อาการหดตัวอาจแตกต่างไปจากขั้นแรกของระยะคลอด ความถี่จะช้าลงอยู่ที่ประมาณ 2 ถึง 5 นาที และกินเวลาประมาณ 60 ถึง 90 วินาทีต่อครั้ง คุณจะรู้สึกกระตุ้นให้ผลักด้วยแรงหดตัวของมดลูกของคุณ พยายามพักผ่อนให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ระหว่างช่วงเวลาที่ไม่มีการหดตัว และออกแรงเบ่งให้เต็มที่ในเฉพาะช่วงที่แพทย์ประจำตัวบอกคุณให้ทำ

เคล็ดลับที่จะช่วยคุณเบ่งครรภ์ได้ดีขึ้น:

  • พยายามในหลายๆ ตำแหน่ง เช่น นั่งยอง นอนตะแคงชี้ขาของคุณขึ้นเพดาน หรือวางลำตัวบนมือและเข่าของคุณ
  • หายใจลึก ๆ เข้าและออกทั้งก่อนและหลังการออกแรง
  • ออกแรงบีบและเบ่งให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จะช่วยให้กล้ามเนื้อทั้งหมดของคุณทำงานได้เต็มที่

คุณอาจได้รับยาแก้ปวด หรือต้องทำการตัดบริเวณฝีเย็บเพื่อขยายปากช่องคลอด (Episiotomy) ถ้าจำเป็นในขณะที่กำลังเบ่งอยู่ การผ่าตัดดังกล่าวเป็นขั้นตอนที่ทำให้เกิดแผลเล็ก ๆ ระหว่างช่องทวารหนัก และช่องคลอดเพื่อขยายช่องคลอด การผ่าตัดนั้นอาจจำเป็นเพื่อช่วยลูกน้อยออกเร็ว หรือเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแผล หรือการฉีกขาดที่มีขนาดใหญ่ ที่มีการหายยากกว่าของผนังช่องคลอด

ตำแหน่งของศีรษะของลูกน้อยขณะเคลื่อนผ่านกระดูกเชิงกราน (เรียกเป็นศัพท์ทางการแพทย์ว่า Descent) จะถูกรายงานด้วยหมายเลขต่างๆ เรียกว่า สถานี ถ้าหัวของทารกยังไม่ได้ผ่านทางคลอดออกมา จะถูกเรียกว่า สถานีลบสาม (-3) แต่เมื่อศีรษะของทารกอยู่ที่ศูนย์ จะหมายถึงหัวทารากอยู่ตรงกลางทางคลอดและคืบเข้าไปในระหว่างกระดูกเชิงกราน เป็นต้น สถานีลูกน้อยของคุณจะช่วยบ่งบอกถึงความคืบหน้าของขั้นตอนที่สองของระยะคลอดได้

เมื่อลูกน้อยของคุณคลอดและเกิดออกมา แพทย์ หรือพยาบาลจะถือลูกน้อยให้ศีรษะของเขาอยู่ในระดับต่ำ เพื่อป้องกันน้ำคร่ำเสมหะ และเลือดจากการคลอดเข้าสู่ปอดของทารก ปากและจมูกของทารกจะถูกดูดด้วยหลอดฉีดยาขนาดเล็กเพื่อเอาของเหลวอื่น ๆ ออก แพทย์หรือพยาบาลของคุณจะวางลูกน้อยคุณไว้บริเวณหน้าท้องของคุณ และไม่นานหลังจากนั้นสายสะดือก็จะถูกตัดออก

ขั้นที่สามของระยะคลอด

ขั้นตอนที่สามของระยะคลอดเริ่มต้นที่ทารกเกิด และสิ้นสุดเมื่อรกแยกตัวออกจากผนังมดลูก และถูกดึงผ่านช่องคลอดไป ขั้นตอนนี้มักเรียกว่าการคลอดของรก และเป็นขั้นตอนที่สั้นที่สุด อาจใช้เวลาไม่กี่นาทีถึง 20 นาที คุณจะรู้สึกถึงการหดตัวอยู่บ้าง แต่มันจะเจ็บปวดน้อยลง หากคุณมีการผ่าตัดบริเวณฝีเย็บเพื่อขยายปากช่องคลอด หรือปากช่องคลอดมีการฉีกขาดเล็กน้อยจะมีการเย็บในระหว่างขั้นตอนนี้

https://www.webmd.com/baby/guide/pregnancy-stages-labor#1


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
See Taylor Giavasis's Intimate Photos of Her Labor and Delivery. Health.com. (https://www.health.com/condition/pregnancy/taylor-giavasis)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม