กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การตัดสินใจต่างๆ ในขั้นตอนของกระบวนการทำ IVF

กระบวนการทำ IVF เพื่อรักษาภาวะมีบุตรยาก มีขั้นตอนต่างๆ มากมายที่ผู้เข้ารับการทำ IVF ต้องตัดสินใจร่วมกับแพทย์ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ดีที่สุด มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง?
เผยแพร่ครั้งแรก 22 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
การตัดสินใจต่างๆ ในขั้นตอนของกระบวนการทำ IVF

ลำดับขั้นตอนในการทำ IVF

การทำ IVF (In Vitro Fertilization) หรือ วิธีรักษาภาวะมีบุตรยากที่มีประสิทธิภาพที่สุด แต่ด้วยกระบวนการทำที่ต้องผ่านขั้นตอนที่มีความจำเพาะสูง จึงอาจทำให้ไข่และเอ็มบริโอลดจำนวนลงไปเรื่อยๆ ซึ่งแพทย์และผู้ป่วยจะต้องร่วมกันตัดสินใจเรื่องต่างๆ เพื่อช่วยให้มีไข่และเอ็มบริโอที่ใช้งานได้มากขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการทำ IVF และคลอดทารกที่แข็งแรงสมบูรณ์ได้ (รวมถึงอาจเก็บเอ็มบริโอที่สมบูรณ์ไว้เพิ่มเติม ในกรณีที่ต้องการมีลูกในอนาคต)

เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น ภาพด้านล่างนี้ คือตัวอย่างขั้นตอนและระยะเวลาการทำ IVF ในผู้หญิงอายุ 32 ปี จะเห็นได้ชัดว่าจำนวนไข่และเอ็มบริโอได้ลดจำนวนลงไปเรื่อยๆ ซึ่งผู้หญิงแต่ละคนอาจมีจำนวนการลดของไข่และเอ็มบริโอไม่เท่ากัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
IVF, IUI, ICSI, IMSI ฝากไข่ แช่แข็งไข่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 7760 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การกระตุ้นรังไข่และการติดตามผล

ขั้นตอนแรกของการทำ IVF คือการกระตุ้นรังไข่และการติดตามผล ในระหว่างการกระตุ้นรังไข่ ผู้หญิงจะได้รับการฉีดฮอร์โมนซึ่งจะไปกระตุ้นให้รังไข่สร้างฟอลลิเคิล (สิ่งที่บรรจุไข่ของผู้หญิง) จำนวนมาก ขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 10 วัน การตัดสินใจสำคัญของแพทย์ในขั้นตอนนี้ คือการจะเลือกว่าจะให้ยาตัวใดบ้าง และใช้ปริมาณเท่าใด แม้การให้ยาในปริมาณมากจะสามารถสร้างไข่ได้มากจนทำให้อัตราการคลอดทารกที่มีชีวิตสูงขึ้น แต่ถ้าหากมีการกระตุ้นรังไข่มากเกินไป ก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เรียกว่า Ovarian Hyperstimulation Syndrome (OHSS) ซึ่งทำให้เกิดความเจ็บปวดรุนแรงอาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย ในช่วงเวลานี้ ผู้ป่วยต้องพบแพทย์เกือบทุกวันเพื่อตรวจเลือด ทำอัลตราซาวด์ และบันทึกจำนวนฟอลลิเคิล พร้อมปรับปริมาณยาให้เหมาะสม

การเก็บไข่

เมื่อแพทย์พบว่าจำนวนและขนาดของฟอลลิเคิลอยู่ในระดับที่พึงพอใจแล้ว ผู้ป่วยจะได้รับยากระตุ้นให้ไข่เจริญ หลังจากนั้น 36 ชั่วโมง แพทย์จะใช้เข็มขนาดเล็กเจาะผ่านผนังช่องคลอดเข้าไปยังรังไข่ โดยปลายเข็มจะมีตัวดูดสุญญากาศที่ช่วยระบายของเหลวออกจากฟอลลิเคิล และช่วยให้เก็บไข่ออกมาได้ ตามภาพด้านล่าง

ขั้นตอนการสอดเครื่องมือเข้าไปเก็บไข่ อาจทำให้เกิดความเจ็บปวดได้บ้าง และเมื่อเก็บไข่แล้ว ควรพักฟื้นระยะหนึ่ง ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้ให้คำแนะนำที่เหมาะสม

อย่าแปลกใจ ถ้าพบว่าจำนวนไข่ที่เก็บได้น้อยกว่าจำนวนฟอลลิเคิลที่เจริญ เนื่องจากมีเพียง 75% ของฟอลลิเคิลที่โตขึ้นเท่านั้น ที่สามารถสร้างไข่แบบสมบูรณ์ได้

กราฟด้านล่างนี้ แสดงข้อมูลของผู้หญิงที่ถูกเก็บไข่ไว้แช่แข็งที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์ค (NYU) ตั้งแต่ปี 2007 - 2014 จะเห็นว่าจำนวนไข่ที่เจริญที่สามารถเก็บได้จะลดลงตามอายุของผู้หญิง

กราฟแสดงจำนวนไข่ที่สามารถเก็บได้ แบ่งตามช่วงอายุของผู้เก็บไข่สำหรับแช่แข็ง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภาวะมีบุตรยากวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 392 บาท ลดสูงสุด 63%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การปฏิสนธิไข่

เมื่อเก็บไข่ที่เจริญออกมาแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือนำไข่มาปฏิสนธิกับเชื้ออสุจิบนจานเพาะเชื้อ ซึ่งมีวิธีปฏิบัติ 2 วิธี ได้แก่

  • การผสมเทียมทั่วไป (Conventional Insemination) : การทำให้ไข่ถูกล้อมรอบด้วยอสุจิของเพศชายที่ถูกปั่นล้างแล้ว
  • อิ๊กซี่ (Intracytoplasmic Sperm Injection (ICSI)) : การฉีดอสุจิเซลล์หนึ่งเข้าไปสู่ไข่โดยตรง (มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอีก 40,000 - 100,000 บาท)

แม้วิธีอิ๊กซี่จะได้รับความนิยมมากกว่า เนื่องจากมีอัตราการปฏิสนธิสำเร็จสูงกว่าการผสมเทียมทั่วไป แต่ไม่ใช่ทุกคนจะประสบความสำเร็จจากการปฏิสนธิด้วยวิธีนี้ โดยมีรายละเอียดเปรียบเทียบ ดังนี้

การปฏิสนธิด้วยวิธีใด ให้อัตราความสำเร็จสูงกว่า

วิธีผสมเทียมทั่วไปดีกว่า

ไม่มีวิธีใดดีกว่า

วิธี ICSI ดีกว่า

มีความผิดปกติของฝ่ายชาย

ปัจจัยความผิดปกติรุนแรงในผู้ชาย

X

ปัจจัยความผิดปกติเล็กน้อย-ปานกลางในผู้ชาย

X

รูปร่างอสุจิผิดปกติ

X

ไม่มีความผิดปกติของฝ่ายชาย

ไม่ทราบสาเหตุ

X

ผู้หญิงไม่ตอบสนองต่อการกระตุ้นรังไข่

X

ผู้หญิงมีอายุ 38 ปีขึ้นไป

X

มีประวัติการปฏิสนธิล้มเหลวในครั้งก่อน

X

ผู้ที่มีปัญหาที่ท่อนำไข่

X

ผู้ที่ใช้ไข่ที่เก็บแช่แข็งมาปฏิสนธิ

X

ผู้ที่ทำ PGS

X

ผู้ที่ทำ PGD

X

การเลี้ยงไข่ที่ปฏิสนธิให้เจริญเป็นเอ็มบริโอ

เมื่อไข่ได้รับการปฏิสนธิแล้ว จะมีการปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เพื่อให้ไข่เจริญไปเป็นเอ็มบริโอที่สมบูรณ์ก่อนนำเข้าไปฝังตัวในมดลูก ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นที่ยากที่สุด เนื่องจากเป็นขั้นตอนที่จะมีการสูญเสียไข่และเอ็มบริโอมากที่สุดในกระบวนการทำ IVF

เมื่อได้เอ็มบริโอแล้ว ก็จะมีการตรวจทางพันธุกรรมในเอ็มบริโอ ซึ่งเอ็มบริโอจะต้องมีจำนวนโครโมโซมครบถ้วน (Euploid Embryo) เพื่อให้ฝังตัวได้ในมดลูก และพัฒนาการเป็นทารกที่สมบูรณ์แข็งแรง แต่ถ้าเอ็มบริโอมีโครโมโซมผิดปกติ จะทำให้เอ็มบริโอไม่สามารถเข้าไปฝังตัวได้ และนี่คือสาเหตุที่ทำให้การทำ IVF ล้มเหลวอยู่บ่อยครั้ง

อย่างไรก็ตาม การตรวจทางพันธุกรรมในเอ็มบริโอ จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอีกอย่างน้อย 100,000 บาท และไม่ได้รับรองผลใดๆ ทั้งสิ้น แต่ถ้าหากผู้เข้ารับการทำ IVF ตัดสินใจตรวจทางพันธุกรรมในเอ็มบริโอ ก็จะช่วยให้แพทย์สามารถเลือกเอ็มบริโอที่ดีที่สุดได้ นอกจากนี้ การตรวจยังช่วยให้ทราบข้อมูลของเอ็มบริโอที่ตั้งใจเก็บแช่แข็งไว้ใช้ในอนาคตด้วย หากเอ็มบริโอเหล่านี้มีโครโมโซมที่ผิดปกติ ก็จะได้ไม่นำมาใช้หากต้องการมีลูกเพิ่ม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การนำเอ็มบริโอเข้าสู่มดลูก

ในขั้นตอนการย้ายเอ็มบริโอเข้าสู่มดลูก ก็ยังมีเรื่องที่แพทย์ต้องตัดสินใจเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

  • จะนำเอ็มบริโอเข้าสู่มดลูกทันที หรือแช่แข็งไว้ก่อนแล้วจึงนำมาใช้? : การเก็บเอ็มบริโอโดยแช่แข็งไว้ และเลื่อนการนำเข้าสู่มดลูกออกไปจะช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จในผู้ป่วยบางคนได้ (เช่น ผู้หญิงที่มีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสูงในช่วงที่ถูกกระตุ้นด้วยยา) และยังลดความเสี่ยงต่อการถูกกระตุ้นระบบสืบพันธุ์มากเกินไปได้ด้วย (เช่น ในผู้หญิงที่มีถุงน้ำในรังไข่ (PCOS)) แต่ผู้เข้ารับการทำ IVF บางคนก็ต้องการให้นำเอ็มบริโอเข้าสู่หมดลูกทันที เนื่องจากเหน็ดเหนื่อยกับกระบวนการที่ยาวนาน
  • เอ็มบริโอใดดีที่สุด? : มีหลายอย่างที่ต้องพิจารณา แต่ลำดับความสำคัญ จะเริ่มจากผลการตรวจทางพันธุกรรมก่อน (หากมี) ตามด้วยความเร็วในการเจริญของเอ็มบริโอ และผลประเมินคุณภาพและรูปร่างของเอ็มบริโอซึ่งวิเคราะห์โดยห้องปฏิบัติการ
  • ควรนำเอ็มบริโอเข้าสู่มดลูกครั้งละเท่าใด? : จากการสำรวจในประเทศสวีเดนพบว่า การที่แพทย์นำเอ็มบริโอ 2 เข้าสู่มดลูกพร้อมกัน จะทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้สูงกว่าคนที่ใช้เพียงเอ็มบริโอเดียว แต่ในกรณีที่นำเอ็มบริโอเดียวเข้าสู่ช่องคลอดก่อน เมื่อล้มเหลวจึงใช้อีกเอ็มบริโอหนึ่งในครั้งถัดไป โอกาสความสำเร็จโดยรวมก็ไม่แตกต่างกันมากนัก

สาเหตุที่แพทย์ไม่นำเอ็มบริโอเข้าสู่มดลูกหลายตัว เพราะมีโอกาสที่จะทำให้เกิดการตั้งครรภ์แฝดได้มากขึ้น แม้การตั้งครรภ์แฝดจะเป็นเรื่องน่ายินดีของหลายครอบครัว แต่จากการจากการศึกษาผลกระทบจากการตั้งครรภ์แฝดตามรายละเอียดด้านล่างนี้ จะสังเกตได้ว่า ยิ่งจำนวนตัวอ่อนในครรภ์เพิ่มขึ้น ความเสี่ยงต่อแม่และทารกก็ยิ่งสูงขึ้น

การตรวจครรภ์ ระยะแรกของการตั้งครรภ์ และการคลอด

8 วันหลังจากที่เอ็มบริโอมีการฝังตัวที่มดลูกแล้ว ผู้แพทย์จะตรวจดูว่าผู้เข้ารับการทำ IVF มีระดับฮอร์โมน hCG สูงขึ้นหรือไม่ ถ้าระดับ hCG มากกว่าศูนย์ แสดงว่ามีการตั้งครรภ์แล้ว และหากระดับ hCG สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะบ่งบอกว่าการตั้งครรภ์สำเร็จและครรภ์เจริญขึ้นเรื่อยๆ
ทารกที่เกิดจากการทำ IVF ส่วนมากจะคลอดตามกำหนด แต่ทารกที่เกิดจากการนำเอ็มบริโอมากกว่าหนึ่งเอ็มบริโอเข้าสู่มดลูก จะมีโอกาสคลอดก่อนกำหนดค่อนข้างสูง

ที่มาของข้อมูล

The Steps and Decisions In The IVF Process (https://www.fertilityiq.com/courses/ivf-in-vitro-fertilization/the-ivf-process#the-ivf-timeline-and-funnel)


24 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
IVF - What happens. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/ivf/what-happens/)
What's It Like Choosing an Egg Donor? A Mother's Story. Verywell Family. (https://www.verywellfamily.com/a-mother-shares-her-story-of-egg-donation-with-ivf-1960206)
Understanding the IVF Process Step-by-Step. Verywell Family. (https://www.verywellfamily.com/understanding-ivf-treatment-step-by-step-1960200)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)