ตกขาวมีกลิ่น...อันตรายไหม หากเป็นแล้วทำอย่างไรดี?

สาเหตุ อาการ วิธีวินิจฉัยและรักษาตกขาวมีกลิ่น ปัญหาหญิงๆ ที่เกิดได้บ่อย
เผยแพร่ครั้งแรก 30 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 6 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ตกขาวมีกลิ่น...อันตรายไหม หากเป็นแล้วทำอย่างไรดี?

ตกขาว เป็นอาการปกติที่พบบ่อยในเพศหญิง ซึ่งสามารถพบได้ในช่วงใกล้จะมีรอบเดือน ช่วงตั้งครรภ์ หรือ แม้แต่หลังคลอดได้ ซึ่งตกขาวปกตินั้นจะเป็นมูกสีขาวใส ไม่มีกลิ่นและไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆ มาร่วมด้วย

อาการตกขาวมีกลิ่น เป็นอาการตกขาวผิดปกติ ที่เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเกิดการอักเสบติดเชื้อขึ้นในช่องคลอด โดยอาจเป็นการอักเสบติดเชื้อจากแบคทีเรียหรือการติดเชื้อรา  เนื้องอก การแพ้สารเคมีและยา การบาดเจ็บของอวัยวะสืบพันธุ์ เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว เชื้อที่ทำให้อาการตกขาวมีกลิ่นรุนแรงและผิดปกติมากที่สุดก็คือเชื้อแบคทีเรีย โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สาเหตุของการเกิดตกขาวมีกลิ่น

โดยปกติช่องคลอดจะมีเชื้อแบคทีเรียประจำถิ่นหรือแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย คือแลคโตบาซิลไล (Lactobacilli) โดย lactobacilli จะทำให้สภาพภายในช่องคลอดเป็นกรด โดยมีค่า pH น้อยกว่า 4.5 (3.8-4.2) ซึ่งจะทำห้แบคทีเรียก่อโรคและปรสิตอื่นถูกยับยั้งไม่สามารถเจริญเติบโตได้ เมื่อไรที่จำนวนแบคทีเรียชนิดนี้ลดลง เช่น เมื่อร่างกายอ่อนแอ สูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือสวนล้างช่องคลอดบ่อยๆ จำนวนแบคทีเรียแลคโตบาซิลไลก็จะลดลง จากนั้นเมื่อเจอกับความอับชื้น หรือสัมผัสเชื้อแบคทีเรียก่อโรคเข้า ก็ช่องคลอดจะอักเสบ ทำให้เกิดภาวะตกขาวตามมา

อาการและอาการแสดงของตกขาวมีกลิ่น

ตกขาวมีกลิ่นซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียนั้น กลิ่นจะค่อนข้างรุนแรง เช่น เหม็นอับคล้ายปลาเค็ม และจะยิ่งรุนแรงขึ้นหลังมีเพศสัมพันธ์หรืออยู่ในช่วงระยะหมดประจำเดือน สีของตกขาวจะเป็นสีขาวปนเทา หรือเหลืองปนเขียว

อย่างไรก็ตาม ระดับความรุนแรงของกลิ่นในแต่ละคนจะแตกต่างกัน บางคนไม่มีกลิ่น บางคนมีกลิ่นรุนแรงจนสัมผัสได้นอกร่มผ้า และเมื่อมีเพศสัมพันธ์จะมีอาการระคายเคืองและอาการเจ็บมากขึ้น ซึ่งหากการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดเกิดขึ้นในหญิงตั้งครรภ์ ก็อาจเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด และลูกที่เกิดมาก็เสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียไปด้วย

การวินิจฉัยและรักษาอาการตกขาวมีกลิ่น

เมื่อไปพบแพทย์ด้วยอาการตกขาวมีกลิ่น แพทย์จะทำการตรวจภายใน และใช้ไม้พันสำลีป้ายเอาตกขาวปริมาณเล็กน้อยไปส่องกล้องจุลทรรศน์ เพื่อส่องหาเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของตกขาวมีกลิ่น การเพาะเชื้อนี้จะช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรค โดยเฉพาะในกรณีที่เป็นซ้ำบ่อย หรือดื้อต่อการรักษา อย่างไรก็ตาม ไมจำเป็นต้องทำทุกราย  

จากนั้นแพทย็จะให้ยาปฏิชีวนะในการฆ่าเชื้อที่ก่อให้เกิดอาการตกขาวนั้น ยาที่ได้อาจเป็นยาเม็ดรับประทาน หรือ ยาสอดช่องคลอด หรือ ทั้งสองอย่าง ผู้ป่วยต้องรับประทาน หรือใช้อย่างต่อเนื่องจนครบตามที่แพทย์สั่ง ร่วมกับปฏิบัติตัวดังนี้

  1. หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ตลอดการรักษา ถ้าจำเป็นต้องมี ต้องใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง
  2. รักษาความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะชุดชั้นใน เสื้อผ้า และอุปกรณ์เครื่องใช้ที่คิดว่าต้องสัมผัสโดยตรง
  3. ไม่ควรใช้แผ่นรองอนามัยตลอดเวลา เพราะทำให้เกิดความอับชื้น หากจำเป็นให้ใช้เฉพาะเวลาที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้านหรือเดินทาง
  4. ไม่สวนล้างช่องคลอด หรือทำความสะอาดช่องคลอดด้วยน้ำยาทำความสะอาดรุนแรง หรือมีส่วนผสมของน้ำหอม เพราะนอกจากจะไม่ช่วยให้อาการดีขึ้น ยังกระตุ้นให้เกิดการระคายเคือง และลดจำนวนเชื้อแบคทีเรียชนิดดีที่ป้องกันโรคได้ การทำความสะอาดที่ดีที่สุดคือการล้างทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ภายนอกด้วยน้ำสะอาดและสบู่อ่อนๆ เท่านั้น จากนั้นซับให้แห้ง ไม่ต้องโรยแป้งหรือประพรมน้ำหอมจะดีที่สุด
  5. รับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอเพื่อช่วยในการขับถ่ายเชื้อและยาออกจากร่างกาย
  6. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย งดอาหารรสจัดและอาหารหมักดองในช่วงทำการรักษาเด็ดขาด
  7. งดสูบบุหรี่
  8. งดการดื่มแอลกอฮอล์ในระหว่างรักษา
  9. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคให้มากที่สุด
  10. สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด โปร่ง และหลวมสบาย เพื่อให้อากาศถ่ายเทความอับชื้น ไม่ควรสวมเสื้อผ้ารัดแน่นจนเกินไป เช่น กางเกงรัดรูป ชุดรัดหน้าท้อง กางเกงยีนคับแน่น
  11. ไปตรวจและพบแพทย์ตามนัด หากมีอาการผิดปกติก่อนนัด เช่น อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะผิดปกติจากผลข้างเคียงการใช้ยา ให้รีบพบแพทย์ก่อนนัดได้
  12. หากพบความผิดปกติหลังการรักษา เช่น มีเลือด มีหนอง เจ็บแสบช่องคลอด ปัสสาวะแสบขัด ก็ควรกลับไปพบแพทย์เช่นกัน ไม่ควรซื้อยามารับประทานเองเด็ดขาด

6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
พญ.อรวี ฉินทกานันท์ ,ตกขาว ภาวะที่คุณผู้หญิงไม่ควรมองข้าม (https://med.mahidol.ac.th/ramachannel), 1 พฤศจิกายน 2560
พญ.เจนจิต ฉายะจินดา และ นางสาวปารีดา เปิ่นสูงเนิน.,โรคติดเชื้อระบบสืบพันธุ์น่ารู้ : ภาวะตกขาวคันในช่องคลอด (http://www.si.mahidol.ac.th), 1 สิงหาคม 2554.
Soper DE. Genitourinary infections and sexually transmitted diseases. In: Berek JS, Adashi EY, Hillard PA, editors. Novak's gynecology. 12th ed. Baltimore: Williams & Wilkins, 1996

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ตกขาวแบบต่างๆ บ่งบอกถึงสาเหตุอะไรบ้าง
ตกขาวแบบต่างๆ บ่งบอกถึงสาเหตุอะไรบ้าง

ตกขาวมีความผิดปกติ สามารถบอกโรคและอันตรายได้มากมาย อ่านสาเหตุและอาการของตกขาวผิดปกติที่นี่

อ่านเพิ่ม
ทำอย่างไรเมื่อตกขาวเป็นสีเหลือง?
ทำอย่างไรเมื่อตกขาวเป็นสีเหลือง?

สันนิษฐานสาเหตุที่ทำให้มี ตกขาวสีเหลือง การสังเกตอาการ และหลักปฏิบัติเบื้องต้น

อ่านเพิ่ม
ไขคำตอบสารพัดอาการเกี่ยวกับตกขาว
ไขคำตอบสารพัดอาการเกี่ยวกับตกขาว

ว่ากันว่า ตกขาวสามารถบ่งบอกภาวะตั้งครรภ์ได้ จริงหรือ? มาเข้าใจและรู้ทุกคำตอบเกี่ยวกับปัญหาเรื่องตกขาว ที่ผู้หญิงหลายคนสงสัยแต่ไม่กล้าถาม

อ่านเพิ่ม