ตารางการฉีดวัคซีนเด็กเกิดใหม่และเด็กเล็ก วัคซีนแต่ละชนิดมีหน้าที่ป้องกันโรคอะไรบ้าง

เรื้องนี้ต้องอ่าน รวมตารางฉีดวัคซีนเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 12 ปี เสริมเกราะป้องกันโรคให้ลูกน้อยก่อนจะสายเกินไป
เผยแพร่ครั้งแรก 26 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 1 พ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ตารางการฉีดวัคซีนเด็กเกิดใหม่และเด็กเล็ก วัคซีนแต่ละชนิดมีหน้าที่ป้องกันโรคอะไรบ้าง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • วัคซีน สร้างขึ้นมาจากไวรัสหรือแบคทีเรียที่ถูกทำให้สิ้นฤทธิ์ด้วยกรรมวิธีทางการแพทย์จนทำให้ไม่สามารถก่อให้เกิดโรคได้ แต่จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับป้องกันไม่ให้เกิดโรคร้ายในอนาคต หรือช่วยลดความรุนแรงเมื่อเกิดโรคได้
  • เด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 12 ปี จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้ารับการฉีดวัคซีน เนื่องจากยังมีภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง โดยกรมควบคุมโรคได้ให้การสนับสนุนการฉีดวัคซีนฟรีสำหรับเด็ก จำนวน 9 ชนิด สามารถควบคุมโรคได้ถึง 11 โรค
  • วัคซีนฟรีสำหรับเด็กสามารถควบคุมโรคได้ 11 ชนิด ได้แก่ วัณโรค โรคไวรัสตับอักเสบชนิดบี โรคคอตีบ โรคไอกรน โรคบาดทะยัก โรคโปลิโอ โรคหัด โรคหัดเยอรมัน โรคคางทูม โรคไข้สมองอักเสบเจอี และโรคเอชพีวี
  • ผู้ปกครองจะต้องพาเด็กเข้ารับการฉีดวัคซีนเด็กตามลำดับ เริ่มตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 12 ปี หรือประมาณป. 6 สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่สถานพยาบาลต่างๆ หรือเทศบาลในท้องถิ่นบางแห่ง (ดูแพ็กเกจฉีดวัคซีนเด็กได้ที่นี่

การฉีดวัคซีนเด็กวัยแรกเกิดจนถึงอายุ 12 ปี นับว่าเป็นสิ่งที่พ่อแม่ ผู้ปกครองควรต้องปฏิบัติ ไม่ควรละเลย เนื่องจากการฉีดวัคซีนเป็นการเสริมภูมิคุ้มกันโรคของเด็กเพื่อป้องกันโรคร้ายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นแล้วเป็นอันตรายต่อเด็กได้

วัคซีนในแต่ละชนิดนั้นสร้างมาจากไวรัส หรือแบคทีเรียที่ถูกทำให้สิ้นฤทธิ์ด้วยกรรมวิธีทางการแพทย์จนไม่สามารถก่อให้เกิดโรคได้แล้ว แต่จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายของเด็กเกิดการสร้างภูมิคุ้มกัน สำหรับป้องกันไม่ให้เกิดโรคร้ายๆ ได้ในอนาคต 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

กำหนดการฉีดวัคซีนเด็กในวัยต่างๆ

การฉีดวัคซีนของเด็กต้องเป็นไปตามแบบแผนที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข มีการสนับสนุนให้ฉีดวัคซีน " ฟรี " สำหรับเด็กทุกคนในปี 2561 จำนวน 9 ชนิด สามารถควบคุมโรคได้ถึง 11 โรค ได้แก่ 

ลำดับการฉีดวัคซีนเด็ก

ลำดับการฉีดวัคซีนเด็กตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 12 ปี มีดังนี้

1. วัคซีนเด็กสำหรับเด็กแรกเกิด

  • BCG   ป้องกันวัณโรค: ให้ก่อนออกจากโรงพยาบาล
  • HB1    ป้องกันโรคตับอักเสบบี: ต้องฉีดวัคซีนตัวนี้ให้เร็วที่สุดภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด

2. วัคซีนเด็ก อายุ 1 เดือน

  • HB2  ป้องกันโรคตับอักเสบบี

3. วัคซีนเด็ก อายุ 2 เดือน

  • DTP-HB1    วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน และตับอักเสบบี
  • OPV1          ป้องกันโรคโปลิโอชนิดรับประทาน โดยใช้หยอดข้างปาก

4. วัคซีนเด็ก อายุ 4 เดือน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • DTP-HB2   วัคซีนรวมเพื่อป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน และตับอักเสบบี
  • OPV2         ป้องกันโรคโปลิโอ แบบรับประทาน 1 ครั้ง
  • IPV1            ป้องกันโรคโปลิโอ โดยต้องให้แบบฉีด 1 เข็ม

5. วัคซีนเด็ก อายุ 6 เดือน

  • DTP-HB3  วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน และตับอักเสบบี
  • OPV3        ป้องกันโรคโปลิโอ แบบรับประทาน 1 ครั้ง

6. วัคซีนเด็ก อายุ 9 เดือน

  • MMR1  วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน ซึ่งถ้าไม่ได้ฉีดวัคซีนตามกำหนด จะต้องรีบฉีดโดยเร็วที่สุด

7. วัคซีนเด็ก อายุ 1 ปี

  • LAJE1  ป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี ชนิดเชื้อเป็นแบบอ่อนฤทธิ์

8. วัคซีนเด็ก อายุ 1 ปี 6 เดือน

  • DTP4   วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก และไอกรน
  • OPV4  ป้องกันโรคโปลิโอ แบบรับประทาน 1 ครั้ง

9. วัคซีนเด็ก อายุ 2 ปี 6 เดือน

  • LAJE2   ป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี ชนิดเชื้อเป็นแบบอ่อนฤทธิ์
  • MMR2  วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน

10. วัคซีนเด็ก อายุ 4 ปี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • DTP5   วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก และไอกรน
  • OPV5  ป้องกันโรคโปลิโอ แบบรับประทาน 1 ครั้ง

11. วัคซีนเด็กประถมศึกษาชั้นปีที่ 1

  • MMR   วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน
  • HB       ป้องกันโรคตับอักเสบบี
  • LAJE   ป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี ชนิดเชื้อเป็นแบบอ่อนฤทธิ์
  • IPV      ป้องกันโรคโปลิโอ โดยต้องให้แบบฉีด 1 เข็ม
  • DT       ป้องกันโรคคอตีบและบาดทะยัก
  • OPV    ป้องกันโรคโปลิโอ ชนิดรับประทาน 1 ครั้ง
  • BCG    ป้องกันโรควัณโรค

12. วัคซีนเด็กประถมศึกษาชั้นปีที่ 5

  • วัคซีน HPV1 และ HPV2 ป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกจากเชื้อ HPV

13. วัคซีนเด็กประถมศึกษาชั้นปีที่ 6

  • วัคซีน DT ป้องกันโรคคอตีบและบาดทะยัก

วัคซีนเด็กเป็นการฉีดเพื่อให้เด็กให้มีภูมิป้องกันจากโรคร้ายที่จะเกิดขึ้นได้หลังจากอายุแรกเกิดจนถึง 12 ปี นับว่าเป็นผลดีกับตัวเด็กเป็นอย่างมาก และวัคซีนก็ไม่ใช่ยารักษาโรคด้วยเช่นกัน 

ดังนั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ พ่อแม่ หรือผู้ปกครองควรใส่ใจพาบุตรหลานทุกช่วงอายุ ไปฉีดวัคซีนให้ครบตามกำหนดที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้อย่างไม่ตกหล่น หรือขาดไป

แต่หากเราไม่สามารถพาเด็กไปฉีดวัคซีนตามกำหนดดังกล่าว อาจเกิดจากการลืม หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถไปรับวัคซีนได้ เช่น ต้องเลื่อนการฉีดวัคซีนเพราะเด็กมีอาการเจ็บป่วยอย่างรุนแรงจนต้องเลื่อนการได้ฉีดวัคซีนออกไป ให้รีบพาไปฉีด และไม่ต้องเริ่มฉีดวัคซีนใหม่ตั้งแต่เข็มแรกแต่ให้นับต่อไปได้เลย 

ถ้าวัคซีนนั้นต้องให้มากกว่า 1 ครั้ง เมื่อได้วัคซีนเด็กไปบ้างแล้วไม่สามารถให้ครั้งต่อไปตามกำหนดได้ก็ให้ฉีดวัคซีนต่อได้เลยโดยไม่ต้องเริ่มนับเข็มที่ 1 ใหม่เช่นกัน

กำหนดการฉีดวัคซีนเด็กที่มารับล่าช้าไม่ตรงตามกำหนด

กระทรวงสาธารณสุขมีกำหนดการฉีดวัคซีนเด็กที่ไม่สามารถไปรับวัคซีนตามกำหนดได้ในปี 2561 เป็นวัคซีน 9 ชนิด แต่สามารถควบคุมโรคได้ถึง 11 โรค เหมือนเด็กที่ได้รับตามกำหนดปกติและไม่มีค่าใช้จ่าย 

ในปีนี้ได้มีการยกเลิกวัคซีน “โรคไข้เลือดออก” ออกไปแล้ว ซึ่งกำหนดการให้ไว้ 5 ครั้ง ตามช่วงอายุดังต่อไปนี้

ครั้งที่ 1 เมื่อพบเด็กครั้งแรกช่วงอายุ 1 – 6 ปี เดือนที่ 0

  • DTP-HB1  วัคซีนรวมเพื่อป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน และตับอักเสบบี
  • OPV1         ป้องกันโรคโปลิโอ แบบรับประทาน 1 ครั้ง
  • IPV            ป้องกันโรคโปลิโอ โดยต้องให้แบบฉีด 1 เข็ม
  • MMR1       วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน
  • BCG          ป้องกันโรควัณโรค

ครั้งที่ 2 อายุ 1 – 6 ปี เดือนที่ 1

  • DTP-HB2  วัคซีนรวมเพื่อป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน และตับอักเสบบี
  • OPV2        ป้องกันโรคโปลิโอ แบบรับประทาน 1 ครั้ง
  • LAJE1        ป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี ชนิดเชื้อเป็นแบบอ่อนฤทธิ์

ครั้งที่ 3 อายุ 1 – 6 ปี เดือนที่ 2

  • MMR2   วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน

ครั้งที่ 4 อายุ 1 – 6 ปี เดือนที่ 4

  • DTP-HB3   วัคซีนรวมเพื่อป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน และตับอักเสบบี
  • OPV3         ป้องกันโรคโปลิโอ แบบรับประทาน 1 ครั้ง

ครั้งที่ 5 อายุ 1 – 6 ปี เดือนที่ 12

  • DTP4   รวมป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก และไอกรน
  • OPV4  ป้องกันโรคโปลิโอ แบบรับประทาน 1 ครั้ง
  • LAJE2 ป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี ชนิดเชื้อเป็นแบบอ่อนฤทธิ์

ครั้งที่ 1 เมื่อพบเด็กครั้งแรกอายุ 7 ปี ขึ้นไป เดือนที่ 0

  • dT1       ป้องกันโรคคอตีบและบาดทะยัก
  • OPV1   ป้องกันโรคโปลิโอ แบบรับประทาน 1 ครั้ง
  • IPV      กรณีเก็บตกเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี และนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1
  • MMR / MR    วัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน
  • BCG    ให้ในกรณีที่ไม่เคยได้รับเมื่อแรกเกิดและไม่มีแผลเป็น แต่จะงดให้ในกรณีเด็กมีอาการติดโรคเอดส์

ครั้งที่ 2 อายุ 7 ปี ขึ้นไป เดือนที่ 1

  • HB1       ป้องกันโรคตับอักเสบบี
  • LAJE1   ป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี ชนิดเชื้อเป็นแบบอ่อนฤทธิ์

ครั้งที่ 3 อายุ 7 ปี ขึ้นไป เดือนที่ 2

  • dT2       ป้องกันโรคคอตีบและบาดทะยัก
  • OPV2   ป้องกันโรคโปลิโอ แบบรับประทาน 1 ครั้ง
  • HB2      ป้องกันโรคตับอักเสบบี

ครั้งที่ 4 อายุ 7 ปีขึ้นไปเดือนที่ 7

  • HB3    ป้องกันโรคตับอักเสบบี

ครั้งที่ 5 อายุ 7 ปี ขึ้นไป เดือนที่ 12

  • dT3       ป้องกันโรคคอตีบและบาดทะยัก
  • OPV3   ป้องกันโรคโปลิโอ แบบรับประทาน 1 ครั้ง
  • LAJE2  ป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี ชนิดเชื้อเป็นแบบอ่อนฤทธิ์ 

ในกรณีที่เด็กไม่สามารถไปฉีดวัคซีนตามกำหนด ล่าช้า หรือไม่ครบถ้วนนั้น รวมถึงเด็กที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนตามกำหนดครบภายในเวลา 1 ปี สามารถให้วัคซีนต่อเนื่องตามที่กำหนดในกำหนดการให้วัคซีนตามปกติ 

หากมีเหตุจำเป็นและเพื่อให้เด็กได้รับประโยชน์จากวัคซีนอย่างเต็มที่ แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาการฉีดวัคซีนตามความเหมาะสมต่อไป

สถานที่ขอรับวัคซีนเด็ก

การรับการฉีดวัคซีนเด็ก สามารถพาลูกหลานไปรับได้ที่คลินิกเด็กทั่วไป เทศบาลในท้องถิ่นบางแห่ง และโรงพยาบาล ถึงแม้ว่าเด็กจะมีอาการน้ำมูกไหล หรือเป็นหวัดเล็กน้อยก็ยังสามารถรับวัคซีนได้ 

โดยผลข้างเคียงจากวัคซีนอาจมีบ้าง แต่ก็เป็นเพียงเล็กน้อยและใช้เวลาไม่นานก็จะหายไป หากสงสัยควรปรึกษาแพทย์หรือสอบถามแพทย์ผู้ให้บริการเพิ่มเติม 

การฉีดวัคซีนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็กอย่างมาก และเป็นสิ่งที่ทางการแพทย์ได้วิจัยมาเป็นอย่างดีแล้วว่า เด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 12 ปี ควรได้รับวัคซีนตามช่วงเวลาที่กำหนดไว้จึงจะได้ผลสูงสุด 

ดังนั้น ถ้าเด็กไม่ได้ฉีดวัคซีนตามกำหนด อาจทำให้ลูกได้รับวัคซีนไม่ครบ และเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงจนไม่อาจรักษาได้ 

ฉะนั้นผู้ปกครองจึงไม่ควรเลื่อนนัดแพทย์ หากไม่ติดเหตุจำเป็นสุดวิสัยจริงๆ นอกจากนี้ ผู้ปกครองอาจพิจารณาให้วัคซีนอื่นๆ ที่ไม่ได้รวมอยู่ในโปรแกรมมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขด้วย เช่น ไวรัสตับอักเสบเอ อีสุกอีใส ไข้หวัดใหญ่ โรคท้องร่วงจากไวรัสโรต้า มะเร็งปากมดลูก ไข้นิวโมคอคคัส หรือไข้ฮิบ

ดูแพ็กเกจฉีดวัคซีนเด็ก เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android

รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีน


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ตารางการให้วัคซีนในเด็กไทยปกติ (http://www.thaipediatrics.org/file_upload/files/vacsine.pdf)
EPI program : วัคซีนพื้นฐาน (http://data.nvi.go.th/vaccineknowledge/content/epi-program.php)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)