สักเรืองแสง เทรนด์ฮิตมาแรงที่ควรศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจ

อ่านข้อมูลเกี่ยวกับการสักเรืองแสง วิธีการ และความเสี่ยง เพื่อประกอบการตัดสินใจ
เผยแพร่ครั้งแรก 22 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 5 ส.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
สักเรืองแสง เทรนด์ฮิตมาแรงที่ควรศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจ

รอยสักบนร่างกายนั้นถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง และสังคมทุกวันนี้ก็เปิดกว้างต่อการสักขึ้นมาก แต่แค่รอยสักธรรมดาๆ เห็นทีจะไม่พออีกต่อไปแล้ว เพราะเทรนด์รอยสักที่กำลังมาแรงในตอนนี้ก็คือการสักเรืองแสงนั่นเอง สำหรับใครที่ไม่แน่ใจว่าสักเรืองแสงคืออะไรกันแน่ ทำยังไง อันตรายไหม ไปหาคำตอบกันได้จากบทความนี้เลย

สักเรืองแสง คืออะไร?

สักเรืองแสง (UV Tattoo) เป็นการสักโดยใช้หมึกผสมยูวีหรือหมึกผสมฟอสฟอรัส ซึ่งจะเรืองแสงออกมาอย่างสวยงามเมื่อถูกแสงแบล็คไลท์ (Blacklight) แสงที่ว่านี้มักจะใช้ตามผับบาร์ หรือสถานที่เที่ยวตอนกลางคืน การสักเรืองแสงจึงเป็นตัวช่วยสร้างสีสันในงานปาร์ตี้และเป็นที่ถูกอกถูกใจของคนหนุ่มสาวมากนั่นเอง อย่างไรก็ตาม รอยสักเรืองแสงจะจางลงได้เมื่อเวลาผ่านไปนานๆ หรือเมื่อถูกแสงแดดมากๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สักเรืองแสงต่างจากสักธรรมดาอย่างไร?

การสักเรืองแสง ทำได้ 2 แบบ คือแบบเน้นเรืองแสงอย่างเดียว ไม่มีการลงสีบนผิวหนัง ทำให้มองเห็นเป็นสีผิวปกติ และจะปรากฏเป็นรอยสักเรืองแสงให้เห็นก็ต่อเมื่อถูกแสงแบล็คไลท์เท่านั้น ส่วนอีกแบบคือการลงสีเป็นรอยสักปกติและสักเรืองแสงทับให้มองเห็นใต้แสงแบล็คไลท์ด้วย โดยบริเวณที่นิยมสักกันมากก็คือบนใบหน้า ตามแขน หรือขา

ไม่ว่าการสักเรืองแสงวิธีไหนก็ต้องอาศัยฝีมือและความชำนาญพอตัว เพราะทำได้ยากและอาจใช้เวลานานกว่าการสักปกติ เนื่องจากหมึกที่ใช้ค่อนข้างเส้นบางและลงยาก ต้องระมัดระวังและใส่ใจรายละเอียด และต้องใช้แบล็คไลท์ส่องไว้อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้รอยสักต่อเนื่องและสวยงาม ดังนั้นแม้จะเป็นช่างสักที่มีฝีมือการสักแบบธรรมดา ก็ไม่ได้รับประกันว่าจะสักเรืองแสงสวยเสมอไป หากไม่อยากเสียใจหรือผิดหวังจึงควรเลือกช่างที่เคยเห็นฝีมือการสักเรืองแสงมาแล้วเป็นดีที่สุด

สักเรืองแสง ปลอดภัยหรือไม่?

ปัจจุบันยังไม่สามารถบอกได้ว่าการสักเรืองแสงนั้นปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน และยังไม่มีคำเตือนจากหน่วยงานที่ดูแลเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกายังไม่รองรับว่าการใช้หมึกยูวีกับคนนั้นจะปลอดภัย เพราะปกติหมึกชนิดนี้จะใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตรและการประมงเท่านั้น

นอกจากนี้ จากรายงานที่ผ่านมา พบว่าผู้ที่รับการสักเรื่องแสงบางรายมีอาการระคายเคืองที่ผิวหนัง มีผื่นขึ้น และเป็นแผลพุพอง ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่ขึ้นได้จากฟอสฟอรัสที่นำมาผสมในหมึกนั่นเอง และแม้จะนำส่วนผสมฟอสฟอรัสออกไปแล้วก็ยังมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์หลังจากการสักได้

สำหรับคนที่สนใจการสักเรืองแสง ควรศึกษาข้อมูลให้ถี่ถ้วน เลือกร้านสักที่เชื่อถือได้ สะอาด และปลอดภัยตามมาตรฐาน เพราะการสักที่ไม่ถูกสุขอนามัย เครื่องมือไม่สะอาด หรือมีการดูแลหลังสักไม่ดี จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อและแบคทีเรียและไวรัสต่างๆ ซึ่งในกรณีรุนแรงอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เลยทีเดียว

ที่มาของข้อมูล

UV Tattoos: Application & Risks (https://www.tattoohealth.org/content/tattoo-ink/uv-tattoos-ultraviolet-tattoo-ink-health-risks)

Think Before You Ink: Are Tattoos Safe? (https://www.fda.gov/consumers/consumer-updates/think-you-ink-are-tattoos-safe) 5 Febuary 2017

Porraphat Jutrakul, แพทย์เตือนคนอยากเท่ด้วยรอยสัก (https://www.thaihealth.or.th/Content/44425-แพทย์เตือนคนอยากเท่ด้วยรอยสัก.html) 4 กันยายน 2561


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Tattoo Risks - Body Piercing Health Risks. Healthline. (https://www.healthline.com/health/beauty-skin-care-tattoos-piercings)
Think before you ink: Are tattoos safe? (2016, May 3) (http://www.fda.gov/forconsumers/consumerupdates/ucm048919.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)