การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ หมายถึง มีเชื้อจุลชีพซึ่งส่วนใหญ่เป็นแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะจนทำให้เกิดการอักเสบบริเวณนั้น ๆ และอาจลุกลามไปยังบริเวณใกล้เคียงอื่น ๆ ได้
ส่งยาคุมถึงบ้าน ไม่เขิน ไม่เสียเวลา
กินยาคุมอย่างถูกต้อง ไม่ต้องกังวลเรื่องท้อง

การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ พบได้ทุกเพศ ทุกวัย พบว่าเด็กชายจะติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะบ่อยกว่าเด็กหญิงแต่ในคนอายุระหว่าง 20 –40 ปี มักพบในหญิงมากกว่าชาย เพราะท่อปัสสาวะของหญิงสั้นกว่าชาย โดยเฉพาะถ้าหญิงนั้นดื่มน้ำน้อยและชอบอั้นปัสสาวะ จะทำให้เชื้อโรคในน้ำปัสสาวะย้อนกลับขึ้นไปที่กระเพาะปัสสาวะได้ แต่เมื่ออายุมากขึ้น จะพบการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะบ่อยเท่ากันทั้งหญิงและชาย
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ ได้แก่
- การอั้นปัสสาวะ
- การมีเพศสัมพันธ์ (มักเกิดภายใน 48 ชั่วโมง หลังมีเพศสัมพันธ์)
- การมีเพศสัมพันธ์เป็นสาเหตุหนึ่งของการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ เนื่องจากจุลชีพที่อยู่บริเวณช่องคลอดเคลื่อนตัวมาที่ท่อปัสสาวะ นอกจากนั้นการใช้ถุงยางอนามัยที่เคลือบด้วยตัวยาทำลายอสุจิ จะเพิ่มอัตราการติดเชื้อเป็น 2 – 3 เท่า เพราะด้วยยาทำลายอสุจิจะเปลี่ยนแปลงแบคทีเรียเจ้าถิ่นที่เป็นประโยชน์บริเวณช่องคลอด ทำให้ติดเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะเจริญเติบโตได้ดีขึ้นและมีจำนวนมากขึ้น
- เกิดการอุดกั้นระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น มีนิ่วตามทางเดินปัสสาวะหรือต่อมลูกหมากโต ทำให้น้ำปัสสาวะค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะตามทางเดินปัสสาวะ
- ภูมิต้านทานโรคของร่างกายในบางสภาวะต่ำลง เช่น ขณะตั้งครรภ์ เป็นโรคเบาหวาน เป็นต้น
- ตำแหน่งที่มีการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะและอาการแสดง
- ทางการแพทย์จะแบ่งการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ เป็น 2 ประเภท ดังนี้
- การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง
- เป็นการติดเชื้อที่ต่อมลูกหมากและกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งเชื้อโรคที่เข้าสู่บริเวณนี้มักมาจากส่วนล่าง เช่น ตามท่อปัสสาวะแล้วย้อนขึ้นไปส่วนบน อวัยวะที่เกิดการอักเสบติดเชื้อมากที่สุด คือ กระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ
อาการแสดง
ผู้ป่วยมีอาการขัดเบา ปวดหรือแสบเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อย กะปริตรกะปรอยโดยเฉพาะเวลากลางคืน เวลาปวดท้องต้องถ่ายปัสสาวะทันทีหรืออั้นไม่อยู่ บางรายการอาจมีไข้ หรือพบปัสสาวะเป็นสีขาวขุ่น ซึ่งเกิดจากการมีเม็ดเลือดขาวปะปนออกมา นอกจากนี้ในหญิงยังอาจพบอาการแวดท้องน้อย กดเจ็บหรือปวดหน่วง ๆ บริเวณหัวเหน่า
การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะส่วนบน
เป็นการแสดงของการติดเชื้อที่ท่อไต ไต และกรวยไต อวัยวะที่มีการอักเสบบ่อย คือ กรวยไต ที่เรียกว่ากรวยไตอักเสบ สาเหตุของการติดเชื้อตำแหน่งนี้ คือ ผู้ป่วยได้รับเชื้อจากทางกระแสเลือด โดยอาจมาจากภาวะแทรกซ้อนของทอนซิลอักเสบจากเชื้อสเตร็ปโตคอกคัสกลุ่มเอ แล้วเชื้อนี้หลุดลอดไปอยู่ในกระแสเลือด และไปตามอวัยวะต่าง ๆ เช่น ไปที่ไต ทำให้กรวยไตอักเสบจนทำให้ไตเสีย เป็นต้น
ส่งยาคุมถึงบ้าน ไม่เขิน ไม่เสียเวลา
กินยาคุมอย่างถูกต้อง ไม่ต้องกังวลเรื่องท้อง

อาการของการติดเชื้อส่วนนี้ คือ ผู้ป่วยจะมีไข้สูง หนาวสั่น เหงื่อออก ปวดหลัง เอวหรือสีข้าง ข้างใดข้างหนึ่งที่ติดเชื้อ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะเป็นสีน้ำล้างเนื้อเพราะมีเลือดปนออกมาในน้ำปัสสาวะ และอาจมีอาการขัดเบาร่วมด้วย
เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
จุลชีพที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อส่วนนี้ ส่วนใหญ่เป็นแบคทีเรียแกรมลบ โดยเฉพาะ อี.โคไล (E. coli)
แสดงจุลชีพที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
จุลชีพที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อ |
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ |
กรวยไตอักเสบ |
การติดเชื้อเรื้อรัง และมีภาวะแทรกซ้อน |
E.coli |
80 |
85 |
37 |
Stophylococcus saprophyticus (S.saprophyticus) |
10 |
5 |
- |
Klebsiella spp. |
3 |
5 |
8 |
Proteus spp. (Proteus mirabulls) |
2 |
3 |
5 |
Candida spp. (เชื้อรา) |
- |
- |
1 |
Pseudomonas aeruginosa (P.aeruginosa) |
- |
- |
15 |
Enterococci |
- |
- |
15 |
Enterobacter spp. |
- |
- |
6 |
จุลชีพอื่น ๆ |
5 |
2 |
13 |
ดังกล่าวข้างต้นแล้วว่า เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ ส่วนใหญ่เป็นแบคทีเรียแกรมลบ และจากตารางเราจะพบว่า อี.โคไล เป็นเชื้อที่พบมากที่สุด รองลงมา คือ Stophylococcus saprophyticus แบคทีเรียชนิดนี้ไม่ได้มาจากอาหารหรืออยู่บริเวณช่องคลอดหรือตามทางเดินปัสสาวะเหมือนอีโคไล แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มีการติดเชื้อจากแบคทีเรียชนิดนี้ คือ จากการอั้นปัสสาวะนาน ๆ การใช้ถุงยางที่น้ำยาทำลายอสุจิ การติดเชื้อส่วนนี้มักพบในหญิงวัยรุ่นหรือผู้ที่เคยมีการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะมาแล้ว
กรณีมีอาการเรื้อรังและหรือเกิดภาวะแทรกซ้อน ส่วนใหญ่มาจากการติดเชื้อหลายชนิดร่วมกันควรส่งต่อแพทย์
แนวทางการรักษาการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
การรักษาการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะทั้งส่วนบนและส่วนล่าง จะเน้นที่การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นหลัก ส่วนจะใช้ชนิดใดและระยะเวลาที่รับประทานนานเท่าใดขึ้นกับความรุนแรงของโรค ตำแหน่งที่ติดเชื้อและการตอบสนองของผู้ป่วยต่อยา
ยาปฏิชีวนะกลุ่มที่นิยมนำมาใช้เป็นอันดับแรก คือ กลุ่มฟลูออโรควิโนโลนโดยเฉพาะโอฟล็อกซาซิน แต่ในรายที่เพิ่งเริ่มเป็นและมีอาการไม่มาก อาจใช้กลุ่มซัลโฟนาไมด์ หรือที่รู้จักกันว่าสูตรโคไตรม็อกชาโชล ซึ่งประกอบด้วยตัวยา 2 ตัวร่วมกัน คือ ซัลฟาเมท็อกชาโชลและไตรเมโทพริม (SMX/TMP) อย่างไรก็ตามสูตรโคไตรม็อกชาโชลเป็นยารุ่นเก่า ไม่ค่อยนิยมใช้เพราะเชื้อเกิดการดื้อยาสูงและพบการแพ้ยาบ่อยและแพ้รุนแรง โดยเฉพาะการแพ้ที่เรียกว่า “สตีเฟ่น จอห์นสัน ซินโดรม” หรือ “โรคตาหยี ปากกระโถน” แพทย์ส่วนใหญ่จึงนิยมใช้กลุ่มฟลูออโรควิโนโลนมากกว่าซึ่งยากลุ่มนี้จะดีมากโดยเฉพาะในผู้ที่มีการติดเชื้อต่อมลูกหมาก เพราะยาถูกดูดซึมเข้าต่อมลูกหมากได้ดี สิ่งที่ควรระวัง คือ ไม่ควรใช้ยากลุ่มฟลูออโรควิโนโลนในเด็กอายุต่ำกว่า 8 ปี หรือผู้เป็นโรค
โลหิตจากชนิดขาดเอนไซม์ จีซิกพีดี (G-6 PD) และหญิงขณะตั้งครรภ์ เพราะมีรายงานว่าทำให้กระดูกอ่อนของตัวอ่อนในสัตว์ทดลองผิดปกติ และมีรายงานว่าพบอาการปวดข้อและข้อบวมในเด็กที่ใช้ยากลุ่มนี้ นอกจากนั้นอาจพบอาการข้างเคียงที่สำคัญของยา คือ ผิวหนังไวต่อแสงแดด เมื่อถูกแดดจะเกิดผื่นแดง จึงควรรแนะนำให้หลีกเลี่ยงการถูกแดดให้มากที่สุดในระหว่างที่ใช้ยา
ระยะเวลาในการใช้ยา
หากเป็นการติดเชื้อที่ไม่รุนแรง เพิ่งเริ่มเป็นหรือเป็นครั้งแรก ไม่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบเฉียบพลัน จะใช้ยาระยะสั้นประมาณ 3-5 วัน หรืออาจนานประมาณ 5-10 วัน ก็เพียงพอ
กรณีกรวยไตอักเสบเฉียบพลันหรือกรวยไตอักเสบที่ไม่รุนแรงจะใช้ยานานขึ้น เช่น ประมาณ 10-14 วัน แต่ในรายที่เป็นซ้ำแล้วซ้ำอีกหรือรุนแรงหรือมีอาการแทรกซ้อน เรื้อรัง ระยะเวลาการใช้ยาอาจจะนานกว่านั้น และการรักษาจะซับซ้อนกว่า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นกับชนิดของยาปฏิชีวนะที่ใช้ด้วย
กรณีผู้สูงอายุที่เกิดการติดเชื้อบริเวณต่อมลูกหมากและมีอาหารกลับมาเป็นซ้ำบ่อย ๆ อาจต้องใช้ยานานถึง 3 เดือน หรือกว่านั้น
ตารางแสดงยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
ยาอันดับแรก |
ขนาดรับประทาน |
ยาอันดับถัดไป |
ขนาดรับประทาน |
|
การติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และปัสสาวะอักเสบ |
|
ครั้งละ 2 เม็ด เช้า – เย็น หลังอาหาร |
|
ครั้งละ 500 มก. วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน |
|
วันละ 0.75-1.5 กรัม |
|||
|
|
วันละ 0.25 – 1 กรัม |
||
|
ครั้งละ 500 มก. วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน |
|||
|
ครั้งละ 100-200 มก. ก่อนอาหาร เช้า-เย็น |
|
ครั้งละ 625 มก. วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารหรือหลังอาหาร เช้า-เย็น |
|
|
ครั้งละ 250-500 มก. วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารหรือหลังอาหาร เช้า - เย็น |
|||
การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะส่วนบน เช่น กรวยไตอักเสบ หรือการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะที่มีภาวะแทรกซ้อนร่วมด้วย |
|
ครั้งละ 200 มก. วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า-เย็น |
ส่งต่อแพทย์ |
|
|
||||
|
ครั้งละ 250-500 มก. วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารหรือ หลังอาหารเช้า – เย็น |
|||
|
ครั้งละ 400 มก. วันละ 1 ครั้ง หรือ ตามแพทย์สั่ง |
หมายเหตุ
1. โอฟล็อกชาชิน จัดเป็นยาอันดับแรกที่ดี เพราะไวต่ออี.โคไล และยามีฤทธิ์ครอบคลุมเชื้อไม่กว้างเกินความจำเป็นจนอาจทำลายจุลชีพเจ้าถิ่นที่เป็นประโยชน์ นอกจากนั้นตัวยาถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดไม่ดีทำให้มีความเข้มข้นของยาที่ระบบทางเดินปัสสาวะสูง มีประสิทธิภาพทำลายจุลชีพที่ทำให้เกิดการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะได้ดี
2.กรณีที่ใช้ยาอันดับแรกไม่ได้ผลหรือมีอาการรุนแรงจึงค่อยใช้ยาอันดับถัดไป
การรักษาแบบป้องกัน
ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะเมื่อรักษาหายแล้วอาจกลับมาเป็นซ้ำได้อีกโดยเฉพาะกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ในรายที่กลับมาเป็นซ้ำหรือเป็นบ่อย อาจให้ยาเป็นระยะๆสำหรับรายที่การติดเชื้อมีสาเหตุมาจากการมีเพศสัมพันธ์ ควรให้ยาเพื่อป้องกันโดยการให้ครั้งเดียวหลังมีเพศสัมพันธ์ เช่น ไซโปรฟล็อกซาชิน 125 มก. วันละ 1 ครั้ง หรืออาจใช้ SMX/TMP40/200 มก. วันละ 1 ครั้ง หรือ ซีฟาเล็กชิน 250 มก. วันละ 1 ครั้ง อย่างใดอย่างหนึ่ง
ผู้ป่วยที่มีการกลับมาเป็นซ้ำแต่ไม่บ่อยนัก อาจแนะนำให้ใช้ยาทันทีที่เริ่มมีอาการโดยให้ติดต่อกัน 3 วัน
นอกจากการรับประทานยาปฏิชีวนะแล้ว ยังควรให้ยาประกอบอาการอื่นร่วมด้วย ถ้ามีอาการต่างๆ ดังต่อไปนี้
1.กรณีผู้ป่วยมีอาการปวดบริเวณกระเพาะปัสสาวะหรือตามทางเดินปัสสาวะให้จ่ายยากลุ่มคลายการบีบเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ เช่น ฟลาโวเซต ฮัยออสซีน ไดไซโคลมีน หรือยาอื่น เช่น
- ฟีนาโซไพริดีน
ฟีนาโซไพริดีนสามารถลดอาการปวดบริเวณกระเพาะปัสสาวะหรือตามท่อไตได้ดี แต่เนื่องจากยามีผลทำให้ปัสสาวะเปลี่ยนเป็นสีแดงส้ม จึงควรบอกผู้ป่วยให้ทราบด้วย
- ฟลาโวเชต
บางตำราจัดฟลาโวเซต ให้อยู่ในกลุ่มยาคลายการบีบเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบข้อดีของฟลาโวเซตเมื่อเทียบกับยาคลายการบีบเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบชนิดอื่น คือ ยาออกฤทธิ์เจาะจงต่อกล้ามเนื้อเรียบที่ระบบปัสสาวะมากกว่ายาคลายการบีบเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบชนิดอื่น ทำให้สามารถลดอาการปวดบริเวณกระเพาะปัสสาวะหรือตามท่อไตได้เช่นเดียวกับฟินาโซไพริดีนและมีผลลดอาการขัดเบาเช่นปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะออกมาไม่ต่อเนื่องได้ดี
- 1.ถ้าผู้ป่วยมีอาการไข้ให้พาราเซตามอลลดไข้เป็นระยะๆ
- 2.ถ้ามีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ให้ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน ชื่อ ดอมเพอริโดน
คำแนะนำที่ควรให้ผู้ป่วยเพิ่มเติมเพื่อช่วยให้ผลการรักษาดีขึ้นและไม่กลับมาเป็นซ้ำ
ในระหว่างการรักษาและหลังจากรักษาหายแล้ว ควรให้คำแนะนำเพื่อไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ ดังนี้
- 1.ดื่มน้ำวันละ 2-3 ลิตร จนเป็นนิสัย
- รับประทานผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวหรือวิตามินซีเสริมทุกวันเพื่อทำให้ปัสสาวะเป็นกรดไม่เกิดการตกตะกอนของเกลือต่างๆ ที่อยู่ในน้ำปัสสาวะ
- ห้ามอั้นปัสสาวะ โดยเฉพาะในหญิง
- เช็ดอุจจาระด้วยวิธีที่ถูกต้อง คือ เช็ดย้อนจากหน้าไปหลังเพื่อไม่ให้อุจจาระผ่านท่อปัสสาวะและช่องคลอด
- ในหญิงควรทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศด้วยสบู่ และถ่ายปัสสาวะทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์
- หลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาล้างช่องคลอด โดยเฉพาะชนิดฉีดหรือชนิดสอดเข้าไปในช่องคลอด
- ควรอาบน้ำด้วยฝักบัวหรือขัน มากกว่าการอาบน้ำในอ่างน้ำ