ค้นหาโรค อาการ หรือวิธีการรักษา

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)

เผยแพร่ครั้งแรก 28 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 11 ก.พ. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 31 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

กระเพาะอักเสบคือ การอักเสบของเยื่อบุกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย การระคายเคืองเนื่องจากการอักเสบจะกระตุ้นเส้นประสาทของกระเพาะปัสสาวะให้รู้สึกอยากปัสสาวะอย่างปัจจุบันทันด่วน แม้ว่าในกระเพาะปัสสาวะจะว่างก็ตาม  

สาเหตุ 

โดยมากมักเกิดจากเชื้อ Escherichia Coli ซึ่งเป็นเชื้อในลำไส้  จากเชื้อ Chlamydia ซึ่งติดต่อทางเพศสัมพันธ์ซึ่งอาจมีกระเพาะปัสสาวะอักเสบในช่วงฮันนีมูน (Honeymoon cystitis) การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงวัยหมดประจำเดือน หรืออาการแพ้ผ้าอนามัยชนิดสอด  ยาฆ่าเชื้ออสุจิ สารหล่อลื่นจากการใส่สายสวนปัสสาวะ  การคาสายสวนปัสสาวะ การใส่กล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

พยาธิสรีรภาพ 

เกิดจากการทำงานของเยื่อบุกระเพาะปัสสาวะเสียไป เมื่อเยื่อบุของกระเพาะปัสสาวะฉีกขาดจากการสวนปัสสาวะ มีก้อนนิ่วที่หยาบ มีเนื้องอก มีพยาธิใบไม้ เมื่อเยื่อบุกระเพาะปัสสาวะฉีกขาด จะทำให้แบคทีเรียเข้าไปในเนื้อเยื่อและทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ประกอบกับมีการเปลี่ยนแปลงของเลือดที่ไปเลี้ยงเนื้อเยื่อกระเพาะปัสสาวะลดลงเนื่องจากความดันในกระเพาะปัสสาวะเพิ่มขึ้น กระเพาะปัสสาวะยืดขยาย คอของกระเพาะปัสสาวะหดรัดตัว หรือท่อปัสสาวะอุดตันจากต่อมลูกหมากโต หรือท่อปัสสาวะตีบ 

เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดกระเพาะปัสสาสะอักเสบซึ่งพบบ่อยคือ เชื้ออีโคไล เชื้อนี้จะเข้าไปในท่อปัสสาวะโดยตรงและเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ  แบคทีเรียจะเพิ่มจำนวนในน้ำปัสสาวะที่ขังอยู่จากการถ่ายปัสสาวะออกไม่หมด หรือจากทางเดินปัสสาวะอุดตัน  น้ำปัสสาวะจะช่วยให้แบคทีเรียเพิ่มจำนวนเนื่องจากปัสสาวะมีภาวะเป็นด่างเอื้อต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรียนั่นเอง 

เมื่อมีการติดเชื้อเกิดขึ้นจะทำให้เยื่อเมือกบวมแดง อาจมีเลือดออก หากมีการอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะส่วนล่างร่วมด้วยและไม่ได้รับการแก้ไขจะกลายเป็นการอักเสบเรื้อรัง มีพังผืดเกิดขึ้น กระเพาะปัสสาวะเล็กลง ความจุของกระเพาะปัสสาวะลดลงด้วย ทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะขุ่น ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น อาจปวดหัวเหน่า และปัสสาวะมีเลือดปน

อาการ 

  • รู้สึกอยากปัสสาวะอย่างปัจจุบันทันด่วน
  • เวลาถ่ายปัสสาวะจะมีอาการปวด หรือรู้สึกแสบร้อน
  • หากมีการติดเชื้ออย่างรุนแรงจะมีปัสสาวะเพียงเล็กน้อยและมักมีเลือดปนออกมาด้วย
  •  อาจมีไข้ต่ำๆ 
  • มีอาการเจ็บบริเวณท้องน้อย 
  • ปัสสาวะลำบาก แสบขัด 
  • ปัสสาวะบ่อยแต่ออกกะปริบกะปรอย 
  • ปัสสาวะขุ่น และมีกลิ่นเหม็น

การวินิจฉัยโรค 

  • จากประวัติการถ่ายปัสสาวะผิดปกติ 
  • ตรวจร่างกายโดยการคลำและตรวจทางหน้าท้องจะกดเจ็บบริเวณท้องน้อย 
  • ตรวจปัสสาวะเพื่อวิเคราะห์เชื้อแบคทีเรีย  อาจพบเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะ อาจพบคาสท์และพบเชื้อโรค 
  • การตรวจทางรังสีวิทยา เช่น Plain Kidney ureters and bladder (Plain KUB) Intravenous pyelogram (IVP)  Ultrasound  
  • ทั้งนี้การส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะไม่จำเป็นต้องทำในโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบทั่วไป 
  • สำหรับผู้ชายอาจคลำพบต่อมลูกหมากโต

การรักษา 

  • ให้ยาปฏิชีวนะ 3 – 7 วัน เช่น Sulfamethoxazole  Trimethoprim  Nitrofurantoin เพื่อช่วยบรรเทาอาการอย่างรวดเร็ว โดยอาการมักดีขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง โดยไม่จำเป็นต้องส่งปัสสาวะเพาะเชื้อ 
  • อาจใช้การนั่งในอ่างน้ำอุ่นเพื่อช่วยลดอาการระคายเคืองและลดความเจ็บปวด  
  • แนะนำให้ดื่มน้ำวันละ 2-3 ลิตร/วัน  
  • หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์และคาเฟอีน 
  • แนะนำผู้ป่วยไม่ให้สวมกางเกงในที่คับเกินไป 
  • ผู้หญิงหลังถ่ายอุจจาระควรทำความสะอาดให้ถูกวิธีด้วยการเช็ดจากหน้าไปหลัง

การพยาบาล 

  • สังเกตลักษณะปัสสาวะ 
  • ติดตามผลการตรวจปัสสาวะ 
  • ให้ยาตามแผนการรักษา เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวด 
  • ให้ดื่มน้ำมากๆ 2-3 ลิตร/วัน 
  • แช่ก้น 
  • วางกระเป๋าน้ำร้อนที่ท้องน้อย 
  • เมื่อรู้สึกปวดปัสสาวะให้ถ่ายทันที 
  • หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ โกโก้ น้ำอัดลม และสุรา
  • ควรถ่ายปัสสาวะทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์และก่อนนอน 
  • แนะนำเกี่ยวกับการรับประทานยา การมาตรวจตามนัด การทำความสะอาดถูกวิธีหลังถ่ายปัสสาวะ 
  • หลีกเลี่ยงการอาบน้ำในอ่างอาบน้ำ 
  • หลีกเลี่ยงการนุ่งผ้าอ้อมและกางเกงในที่ทำจากไนล่อนและการให้ฮอร์โมนเพศหญิง เช่น เอสโตรเจน

ที่มาของข้อมูล

"คู่มือโรค" โดยปราณี ทู้ไพเราะ จากจากโรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในผู้ใหญ่ วรางคณา สุเมธพิมลชัย, สุรสีห์ พร้อมมูล, ภัทรา คูระทอง Journal of the Nephrology Society of Thailand (2017)

Ira Klimberg, et al., (2005) Time to symptom relief for uncomplicated urinary tract infection treated with extended-release ciprofloxacin: a prospective, open-label, uncontrolled primary care study, Current Medical Research and Opinion, 21:8, 1241-1250

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความก่อนหน้า
ภาวะไตวายเรื้อรัง
ภาวะไตวายเรื้อรัง
บทความต่อไป
นิ่วในไต
นิ่วในไต