ค้นหาโรค อาการ หรือวิธีการรักษา

การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Urinary tract infection; UTI)

เผยแพร่ครั้งแรก 28 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 11 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

ความหมาย เกิดการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ โดยแบ่งเป็นทางเดินปัสสาวะส่วนบนและส่วนล่าง ส่วนบนประกอบด้วยไตและท่อไต ส่วนล่างประกอบด้วยกระเพาะปัสสาวะและโครงสร้างที่อยู่ต่ำกว่ากระเพาะปัสสาวะ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนบน (Upper UTI) ได้แก่ กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน (Acute pyelonephritis) กรวยไตอักเสบเรื้อรัง (Chronic pyelonephritis) ฝีในไต (Renal abscess) เนื้อเยื่อไตอักเสบ (Interstitial nephritis) และฝีรอบๆ ไต (Perirenal abscess) การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง (Lower UTI) ได้แก่ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) ต่อมลูกหมากอักเสบ (Prostatitis) และ หลอดปัสสาวะอักเสบ (Urethritis) นอกจากนี้มีการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ และมีการติดเชื้อในปัสสาวะ

สาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Escherichia, Staphylococci, Pseudomonas species, Streptococci, Gram-negative bacteria มักพบในผู้หญิง เด็กเล็ก อาจเกิดจากการใส่สายสวนปัสสาวะ การส่องกล้องทางท่อปัสสาวะ ถ่ายปัสสาวะไม่หมด มีการอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ มีการอักเสบของเยื่อบุท่อไต โรคเบาหวาน การตั้งครรภ์ ระบบประสารทผิดปกติ โรคเกาต์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

พยาธิสรีรภาพ เมื่อมีการติดเชื้อเกิดขึ้น แบคทีเรียมีมากในกระเพาะปัสสาวะ แต่ถ่ายปัสสาวะออกไม่หมด ทำให้เกิดการอักเสบ ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อจากอุจจาระเข้าไปในฝีเย็บ และไปยังท่อไตและกระเพาะปัสสาวะและไปยังเยื่อบุ

อาการ ปัสสาวะแสบ ขัด ขุ่น มีไข้ ปวดหลัง เคาะเจ็บที่ Costovertebral angle ตรวจพบเม็ดเลือดขาวและแบคทีเรียในปัสสาวะ ในปัสสาวะมีเลือดและหนองปน

การวินิจฉัยโรค ส่งปัสสาวะเพาะเชื้อได้ผลบวก ทำให้ IVP (Intravenous pyelogram), VCUG (Voiding cystourethrogram) เพื่อดูว่ามีการอุดตันของทางเดินปัสสาวะจากต่อมลูกหมากโตหรือไม่ ซึ่งจะเกิด Cystitis เพิ่มขึ้น Retrograde pyelogram, Cystoscopy เพื่อดูว่ามีความผิดปกติของโครงสร้าง นิ่ว ก้อนเนื้องอก สิ่งแปลกปลอม ใน Lower urologic tract หรือไม่

การรักษา ให้ยา Co-trimoxazole 2 เม็ด วันละ 2 ครั้ง นาน 7-10 วัน หรือ Norfloxacin 400 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง หรือ Ofloxacin 200 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง นาน 7-10 วัน ให้ดื่มน้ำมากๆ แช่ก้นด้วยน้ำอุ่น (Warm sitz bath) เพื่อให้สุขสบาย

การพยาบาล ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษาและสังเกตผลข้างเคียง กระตุ้นให้ดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยให้เลือดไปเลี้ยงไตได้ดีขึ้น และชะล้างเชื้อแบคทีเรียจากทางเดินปัสสาวะ ทำความสะอาดบริเวณอุ้งเชิงกราน แนะนำผู้ป่วยเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ หลีกเลี่ยงสิ่งที่รบกวนต่อทางเดินปัสสาวะ เช่น ชา กาแฟ เครื่องเทศ แอลกอฮอล์ กระตุ้นให้ปัสสาวะบ่อยๆ ทุก 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้กระเพาะว่างและขับเอาแบคทีเรียออกจากทางเดินปัสสาวะ ควรหลีกเลี่ยงการสวนคาสายสวนปัสสาวะ หากจำเป็นต้องใส่ควรพยายามเอาออกโดยเร็ว หากจำเป็นต้องใส่จะต้องดูแลทำความสะอาดบริเวณฝีเย็บ ดูแลให้ Close system ใช้สายสวนที่มีขนาดเล็ก สังเกตสี กลิ่น ปัสสาวะ ป้องกันการเกิดซ้ำโดยให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ ฝึกให้มีนิสัยการขับถ่ายปัสสาวะทุก 2-3 ชั่วโมงในตอนกลางวัน และถ่ายปัสสาวะโดยเฉพาะหลังการร่วมเพศ แนะนำผู้ป่วยหญิงให้ทำความสะอาดบริเวณฝีเย็บทุกครั้งหลังถ่ายปัสสาวะโดยล้างจากหน้าไปหลัง

ขอบคุณข้อมูลดีๆจากหนังสือ "คู่มือโรค" โดยปราณี ทู้ไพเราะ จากจากโรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความก่อนหน้า
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
บทความต่อไป
โรคมะเร็งที่ไต
โรคมะเร็งที่ไต