กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

ระบบทางเดินปัสสาวะ

ระบบทางเดินปัสสาวะมีกระบวนการทำงานอย่างไร และสาเหตุความผิดปกติประกอบด้วยอะไรบ้าง
เผยแพร่ครั้งแรก 18 ธ.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 21 ต.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ระบบทางเดินปัสสาวะ

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ระบบทางเดินปัสสาวะมีหน้าที่สำคัญคือ ขับถ่ายของเสียและสารต่างๆ ที่เกินความต้องการออกไปจากร่างกาย เพื่อรักษาสมดุลของสาร และกระบวนการเมตาบอลิซึม (Metabolism) ของร่างกายให้เป็นปกติ
  • ท่อปัสสาวะของผู้ชายจะมีความยาวมากกว่าท่อปัสสาวะของผู้หญิง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ชายสามารถอั้นปัสสาวะได้นานกว่าผู้หญิง และมีโอกาสเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบติดเชื้อได้น้อยกว่าผู้หญิง
  • ความผิดปกติที่เกิดกับระบบทางเดินปัสสาวะ ไม่ว่าจะจากการติดเชื้อ หรืออุดตัน จะทำให้มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับการถ่ายปัสสาวะ เช่น ถ่ายปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะออกมาทีละน้อยแต่บ่อย บางครั้งอาจถ่ายปัสสาวะไม่ออก ปวดบริเวณท่อปัสสาวะทั้งขณะถ่ายปัสสาวะและไม่ได้ถ่ายปัสสาวะ
  • อาการที่ปัสสาวะเป็นเลือด ปวดหลัง หรือมีไข้เป็นสัญญาณอย่างหนึ่งว่า ได้เกิดการติดเชื้อที่บริเวณไตแล้ว ต้องรีบทำการรักษาอย่างเร่งด่วน
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจไต

ระบบทางเดินปัสสาวะมีหน้าที่สำคัญคือ ขับถ่ายของเสียและสารต่างๆ ที่เกินความต้องการออกไปจากร่างกาย เพื่อรักษาสมดุลของสาร และกระบวนการเมตาบอลิซึม (Metabolism) ของร่างกายให้เป็นปกติ 

ระบบทางเดินปัสสาวะจึงเปรียบเสมือนกับโรงบำบัดน้ำเสียของร่างกายนั่นเอง ลองคิดดูว่า จะเกิดอะไรขึ้นบ้างหากระบบปัสสาวะเกิดการติดเชื้อ หรือมีความผิดปกติเกิดขึ้นบ้าง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ระบบทางเดินปัสสาวะประกอบด้วยอะไรบ้าง

ระบบทางเดินปัสสาวะประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ ได้แก่ ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ โดยมีกระบวนการทำงานดังนี้

  • ไต มีลักษณะคล้ายเม็ดถั่วแดงอยู่สองข้างของเอว เป็นส่วนที่มีเส้นเลือดดำและเส้นเลือดแดงใหญ่ที่นำเลือดของร่างกายทั้งหมดมาคัดกรองเอาส่วนที่ต้องใช้เก็บไว้ และเอาส่วนเกิน หรือส่วนที่ไม่ใช้ออกจากร่างกาย โดยเลือดทั้งหมดจะไหลผ่านเข้าสู่ไตไปที่เนื้อไต ซึ่งประกอบด้วยหน่วยกรองเล็กๆ มากมายภายในไต เรียกว่า “เนฟรอน (Nephron)” 
  • เนฟรอน ทำหน้าที่แยกน้ำ เกลือแร่ และสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายกลับเข้าไปในร่างกาย การดูดซึมกลับของสารโซเดียมยังเป็นตัวควบคุมความดันโลหิตในร่างกายอีกด้วย ส่วนน้ำ สารที่เป็นของเสีย และสารต่างๆ ที่เกินจากที่ร่างกายต้องการใช้จะถูกขับออกมาในรูปของปัสสาวะ รวบรวมเข้าสู่กรวยไต ซึ่งอยู่ในเนื้อไตเช่นกัน
  • กรวยไต มีลักษณะเป็นสามเหลี่ยม ภายในประกอบด้วยหน่วยกรองภายในไต หรือเนฟรอน จำนวนข้างละประมาณ 1 ล้านหน่วย น้ำปัสสาวะที่ผ่านจากเนฟรอนมาที่กรวยไตนี้ จะไหลลงสู่ท่อไตที่อยู่สองข้างของเอว ไปเก็บไว้ที่กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณท้องน้อย
  • กระเพาะปัสสาวะ จะสามารถเก็บน้ำปัสสาวะได้ประมาณ 1 ลิตร เมื่อกระเพาะปัสสาวะเต็มก็จะกระตุ้นให้ถ่ายปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะออกสู่ภายนอกร่างกาย

ความแตกต่างระหว่างระบบทางเดินปัสสาวะของผู้หญิงและผู้ชาย

  • บริเวณรอยต่อของกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะของผู้ชาย จะมีต่อมชนิดหนึ่งโอบรอบท่อปัสสาวะเรียกว่า "ต่อมลูกหมาก" ในขณะที่ระบบทางเดินปัสสาวะของหญิงจะไม่มีต่อมนี้ ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะที่สร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ และเป็นที่พักของอสุจิ
  • ท่อปัสสาวะของผู้ชายจะมีความยาวมากกว่าท่อปัสสาวะของผู้หญิง ซึ่งนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ชายสามารถอั้นปัสสาวะได้นานกว่าผู้หญิง และมีโอกาสเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบติดเชื้อได้น้อยกว่าผู้หญิง

ความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ

ความผิดปกติที่เกิดกับระบบทางเดินปัสสาวะส่วนใหญ่มาจาก 2 สาเหตุ ได้แก่ 

  • เกิดการอุดตัน
  • การติดเชื้อ 

ทั้งสองอย่างนี้ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติในการขับถ่ายปัสสาวะ

ลักษณะอาการความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ

ความผิดปกติที่เกิดกับระบบทางเดินปัสสาวะ มักทำให้ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติในการขับถ่ายปัสสาวะ หรือที่เรียกว่า “ขัดเบา” คือการถ่ายปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะออกมาทีละน้อย แต่บ่อย 

บางครั้งอาจถ่ายปัสสาวะไม่ออก ปวดบริเวณท่อปัสสาวะ ทั้งขณะถ่ายปัสสาวะ และไม่ได้ถ่ายปัสสาวะ 

ลักษณะการถ่ายปัสสาวะจะผิดปกติในผู้ชายปัสสาวะจะออกมาเป็นหยด ลำปัสสาวะไม่พุ่ง ในขณะที่ผู้หญิง ปัสสาวะจะออกเป็นหยด ทีละนิด ปริมาณปัสสาวะอาจมาก หรือน้อยผิดปกติก็ได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ตลอดจนถึงมีความผิดปกติของน้ำปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะขุ่นขาว มีสีคล้ายน้ำนมที่เจือจาง มีความรู้สึกอ่อนเพลีย บางรายปัสสาวะเป็นเลือด ปวดหลัง มีไข้ 

อาการที่ปัสสาวะเป็นเลือด ปวดหลัง หรือมีไข้นี้เป็นสัญญาณอย่างหนึ่งว่า ได้เกิดการติดเชื้อที่บริเวณไตแล้ว 

หากไม่แน่ใจว่า อาการที่คุณเป็นอยู่นั้นเข้าข่ายระบบทางเดินปัสสาวะผิดปกติหรือไม่ หรือยังไม่มีเวลาไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย ปัจจุบันเริ่มมีบริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์ (วีดีโอคอล) แล้ว หรือจะโทรศัพท์ขอคำแนะนำจากแพทย์แบบไม่ต้องเห็นหน้ากัน ก็มีให้บริการแล้วเช่นกัน 

สาเหตุความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ

สาเหตุหลักของความผิดปกติที่เกิดกับระบบทางเดินปัสสาวะ มี 2 ประการ ดังนี้

1.เกิดการอุดกั้นบริเวณทางเดินปัสสาวะ

การอุดกั้นบริเวณทางเดินปัสสาวะ หมายถึง มีสิ่งกีดขวางการไหลของปัสสาวะ หรือน้ำปัสสาวะไหลออกสู่ภายนอกร่างกายไม่ได้ตามปกติ 

กรณีที่ระบบทางเดินปัสสาวะถูกอุดกั้นเรื้อรังรุนแรง ปัสสาวะจะขังอยู่ในร่างกายนาน จนนำไปสู่การติดเชื้อที่ไต ทำให้การทำงานของไตเริ่มผิดปกติ เกิดภาวะไตเสีย ไม่สามารถคัดกรองของเสียออกจากร่างกายได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นั่นทำให้มีของเสียจำนวนมากค้างอยู่ในเลือด และนำไปสู่การสูญเสียในที่สุด

การอุดกั้นระบบทางเดินปัสสาวะ มาจากสาเหตุหลัก ดังนี้

  • เกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะ 
    นิ่ว เป็นก้อนของสารในร่างกาย ซึ่งมาจากการสะสมพอกพูนของสารบางอย่างในน้ำปัสสาวะ เช่น กรดยูริก (Uric acid) ออกซาเลต (Oxalate) แคลเซียม (Calcium) และไปอุดตันอยู่ตามส่วนต่างๆ ของระบบทางเดินปัสสาวะ โดยเฉพาะบริเวณกระเพาะปัสสาวะ เนื้อไต และท่อไต ทำให้เกิดการกีดขวางทางเดินของน้ำปัสสาวะ มักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
  • ต่อมลูกหมากโต 
    ต่อมลูกหมากเป็นต่อมที่โอบรอบท่อปัสสาวะบริเวณที่ต่อกับกระเพาะปัสสาวะในผู้ชาย ส่วนระบบทางเดินปัสสาวะในผู้หญิงจะไม่มีต่อมลูกหมาก เมื่อผู้ชายอายุ 50 ปี ขึ้นไป ต่อมลูกหมากมักจะโตแล้วไปบีบท่อปัสสาวะให้แคบลงจนทำให้ปัสสาวะลำบาก มีอาการขัดเบา ซึ่งนับเป็นสาเหตุที่พบบ่อยมากในโรคที่ทำให้เกิดการอุดกั้นของระบบทางเดินปัสสาวะ และมักมีการติดเชื้อร่วมด้วยเสมอ

2. การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

ผู้หญิงทั้งเด็กและผู้ใหญ่สามารถติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้บ่อยกว่าในผู้ชาย เนื่องจากมีท่อปัสสาวะที่สั้นกว่า ความชื้นรอบบริเวณรูเปิดของท่อปัสสาวะมากกว่า และรูเปิดของท่อปัสสาวะใกล้กับทวารหนักมากกว่า 

โดยภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะนั้น จะเกิดขึ้นเมื่อแบคทีเรียเข้าไปในทางเดินปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะ ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย E. coli (อี. โคไล) 

ความผิดปกติในระบบทางเดินอาหารนั้น มักเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตบางอย่าง เช่น การรับประทานอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งมากเกินไป การดื่มน้ำน้อย การไม่ออกกำลังกาย การอั้นปัสสาวะบ่อยๆ การไม่รักษาความสะอาดหลังขับถ่าย 

หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสม ย่อมสามารถลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดความผิดปกติในระบบทางเดินอาหารได้

อย่างไรก็ตาม หากปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตแล้ว แต่ยังเกิดอาการเหล่านี้ หรือมีอาการที่รุนแรงขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุอื่นๆ ต่อไป

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจไต จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases (NIDDK), The Urinary Tract & How It Works (https://www.niddk.nih.gov/health-information/urologic-diseases/urinary-tract-how-it-works), 5 May 2020.
Mayo Clinic, Male urinary system (https://www.mayoclinic.org/male-urinary-system/img-20007900), 5 May 2020.
Johns Hopkins Medicine, Anatomy of the Urinary System (https://www.hopkinsmedicine.org/health/wellness-and-prevention/anatomy-of-the-urinary-system)), 5 May 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ที่มีต่อร่างกาย ลดความเสี่ยงอะไรบ้าง ตั้งแต่ 20 นาที จนถึง 15 ปี
ประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ที่มีต่อร่างกาย ลดความเสี่ยงอะไรบ้าง ตั้งแต่ 20 นาที จนถึง 15 ปี

ร้อยพันประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ อ่านสักนิด คุณภาพชีวิตดีขึ้นแน่นอน

อ่านเพิ่ม
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง

หยุดอาการแสบร้อนยอดอก หยุดกรดไหลย้อน คุณทำได้ด้วยตนเองตามคำแนะนำนี้

อ่านเพิ่ม
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การอบสมุนไพร
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การอบสมุนไพร

ภูมิปัญญาไทยที่ทรงคุณค่า บรรเทาอาการเจ็บป่วย รักษาโรค และบำรุงสุขภาพได้ หากใช้อย่างถูกวิธี

อ่านเพิ่ม