กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การตรวจระบบทางเดินอาหารด้วยอัลตร้าซาวน์

เผยแพร่ครั้งแรก 19 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การตรวจระบบทางเดินอาหารด้วยอัลตร้าซาวน์

ระบบทางเดินอาหาร ประกอบด้วย อวัยวะต่างๆมากมาย ได้แก่ หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ทหารหนัก ตับ ถุงน้ำดี ท่อน้ำดี และ ตับอ่อน เราเรียกอวัยวะเหล่านี้ว่า เป็น “ระบบทางเดินอาหาร” (Gastrointestinal system)

การตรวจระบบทางเดินอาหาร นั้น เป็นการตรวจดูระบบและการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในทางเดินอาหาร เพื่อประเมินอาการและวินิจฉัยโรคที่อาจเกิดขึ้นจากความผิดปกติต่างๆ ซึ่งมีหลายวิธี เช่น การเอ็กซเรย์  (X-Ray) การตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT-Scan) การตรวจด้วยอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) การส่องกล้อง (Scope) เป็นต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษาโรคทางเดินอาหาร วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 116 บาท ลดสูงสุด 74%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การตรวจระบบทางเดินอาหารแต่ละวิธีการจะขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ ตามความจำเป็นและความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย โดยในที่นี้จะขอกล่าวถึง การตรวจระบบทางเดินอาหารด้วยวิธีอัลตราซาวด์ต่อไป

อัลตร้าซาวด์คืออะไร

อัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) คือ  การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงเป็นการตรวจทางการแพทย์ที่นำมาใช้ประโยชน์ในการตรวจอวัยวะต่างๆของร่างกาย โดยไม่เป็นอันตราย ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ การตรวจเพื่อการวินิจฉัยและ การตรวจเพื่อการรักษา ซึ่งมีข้อสังเกต ดังนี้

1.  การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อการวินิจฉัย (Diagnostic ultrasound หรือ sonography หรือ ultrasonography) เป็นการใช้คลื่นเสียงเพื่อสร้างภาพของอวัยวะและโครงสร้างภายในร่างกายเพื่อช่วยในการวินิจฉัยภาวะทางการแพทย์ ภาพที่สร้างขึ้นจากการตรวจนี้เรียกว่า sonograms  โดยในเวลาตรวจผู้เชี่ยวชาญจะทาเจลที่มีคุณสมบัติสื่อคลื่นเสียงลงผิวหนังบริเวณที่จะตรวจ จากนั้น จะใช้ ทรานดิวเซอร์ Transducer (หน้าตาเหมือนบาร์โค้ด) วางลงบนผิวหนังเพื่ออ่านคลื่นที่ส่งสะท้อนกลับมาเป็นภาพ

2.  การใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อรักษา เช่น เพื่อเปลี่ยนแปลงหรือทำลายเนื้อเยื่อ วิธีการทำนั้นมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่ต้องการรักษา ภาวะต่างๆ ที่สามารถใช้รักษาด้วยวิธีนี้  เช่น การสลายนิ่วในถุงน้ำดี  การทำลายเนื้องอกในมดลูกที่ไม่ใช่มะเร็ง การสลายต้อกระจกเป็นต้น

การอัลตร้าซาวน์ระบบทางเดินอาหาร จึงสามารถทำได้ โดยมีวัตถุประสงค์ ทั้ง 2 ประการ คือ เพื่อการวินิจฉัยและเพื่อการรักษา ซึ่งมีความสำคัญดังนี้

1. เป็นการตรวจเพื่อประเมินการทำงานของระบบทางเดินอาหาร เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ดูความผิดปกติทั่วไป เช่น นิ่วในไต นิ่วในถุงน้ำดี ก้อนเนื้อในตับ ก้อนในกระเพาะอาหาร ลำไส้ เป็นต้น
  • ติดตามดูความเปลี่ยนแปลงของโรค เช่น อาจเคยมีประวัติพบก้อนเนื้อในระบบทางเดินอาหาร เพื่อประเมินและติดตามความก้าวหน้าว่าก้อนมีขนาดโตขึ้นหรือไม่
  • เพื่อแยกสาเหตุและอาการที่อาจเกิดขึ้น ร่วมกับ การวินิจฉัยแยกโรค ร่วมกับ วิธีอื่นๆ

2. เป็นการตรวจดูการทำงานของอวัยวะในระบบทางเดินอาหารส่วนบน (Upper GI tract) ประกอบไปด้วย หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กตอนบน

3. เป็นการตรวจอวัยวะในระบบทางเดินอาหารส่วนล่าง  (LowerGI tract) ประกอบไปด้วย ลำไส้เล็กตอนล่าง ลำไส้ใหญ่ลงมาจนถึงทวารหนัก

ซึ่งอวัยวะทั้งหมดของทั้ง 2 ส่วนนี้ สามารถเกิดความผิดปกติได้ เช่น มีภาวะเลือดออก ตรวจพบก้อนเนื้อและความผิดปกติอื่นๆ ทั้งนี้การตรวจระบบทางเดินอาหารด้วยการอัลตร้าซาวด์ มีข้อจำกัดในการตรวจและต้องเตรียมตัวก่อนการตรวจดังนี้

ข้อควรคำนึงในการตรวจระบบทางเดินอาหารด้วยอัลตร้าซาวด์

  1. อัลตร้าวซาวด์ไม่สามารถใช้การตรวจอวัยวะส่วนที่มีลมได้ เช่นปอด กระเพาะอาหาร เป็นต้น ทั้งนี้เพราะอากาศจะไม่สะท้อนคลื่นสัญญาณกลับ ทำให้ไม่สามารถรับสัญญาณมาสร้างภาพได้
  2. อัลตร้าซาวด์ไม่สามารถใช้ตรวจอวัยวะที่เป็นกระดูกได้ เพราะกระดูกจะสะท้อนคลื่นกลับหมด ไม่สามารถทะลุทะลวงลงไปยังอวัยวะต่างๆ ได้
  3. ผู้ป่วยต้องงดอาหาร และเครื่องดื่มที่มีไขมันทุกชนิด ประมาณ 4-6 ชั่วโมง (สามารถดื่มน้ำเปล่าได้) พร้อมกลั้นปัสสาวะเอาไว้ เพราะจะสามาถมองเห็นอวัยวะในช่องท้องทั้งหมดได้อย่างชัดเจน
  4. กรณีที่แพทย์สงสัยว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบห้ามผู้ป่วยดื่มน้ำและรับประทานอาหารทุกชนิด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์

 

 

 

        


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How to perform gastrointestinal ultrasound: Anatomy and normal findings. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5658311/)
The role of intestinal ultrasound in diagnostics of bowel diseases. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5894446/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาการเจ็บแน่นหน้าอก อาจเป็นผลมาจากโรคแผลในกระเพาะอาหาร
อาการเจ็บแน่นหน้าอก อาจเป็นผลมาจากโรคแผลในกระเพาะอาหาร

ปวดท้องแน่นหน้าอก อาการที่อาจเกิดจากโรคแผลในกระเพาะอาหาร ไม่ใช่โรคหัวใจ

อ่านเพิ่ม
โรคกระเพาะอาหาร แผลที่เกิดจากกรดในกระเพาะอาหาร
โรคกระเพาะอาหาร แผลที่เกิดจากกรดในกระเพาะอาหาร

หิวก็ปวด อิ่มก็ปวด อาการเด่นของโรคกระเพาะอาหาร โรคยอดฮิตของคนที่กินอาหารไม่ตรงเวลา

อ่านเพิ่ม