รายชื่ออาหารควรเลี่ยง ยามเจ็บป่วย เมื่อร่างกายไม่แข็งแรง

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
รายชื่ออาหารควรเลี่ยง ยามเจ็บป่วย เมื่อร่างกายไม่แข็งแรง

แม้ว่าอาหารเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ แต่ในบางครั้งการบริโภคอาหารสามารถก่อโทษให้แก่ร่างกายได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกำลังเจ็บป่วย การเลือกบริโภคอาหารมีความสำคัญมากว่าจะทำให้อาการป่วยดีขึ้นหรือแย่ลง อย่างไรก็ตามลองมาดู 9 อาหารที่ควรเลี่ยงเมื่อเจ็บป่วย

1. กาแฟ

เครื่องดื่มยอดนิยมอย่างกาแฟเป็นสิ่งต้องห้ามหากกำลังป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อท้องเสียหรืออาเจียน สารคาเฟอีนในกาแฟจะยิ่งทำให้อาการแย่ลง เนื่องจากสารดังกล่าวมีฤทธิ์กระตุ้นให้รู้สึกปวดปัสสาวะมากขึ้นกว่าปกติ อีกทั้งยังกระตุ้นกล้ามเนื้อบริเวณทางเดินอาหาร ส่งผลให้อาการท้องเสียรุนแรงยิ่งขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

2. น้ำส้ม

แม้ว่าการบริโภคน้ำส้มจะทำให้รู้สึกสดชื่นขึ้น แต่หากกำลังมีอาการไอหรือเจ็บคอ ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มชนิดนี้เป็นอย่างยิ่ง เพราะส้มอุดมไปด้วยกรดซิตริกซึ่งจะยิ่งทำให้อาการเจ็บคอแย่ลงและต้องใช้เวลารักษานานขึ้น

3. ของหวาน

การบริโภคของหวานในยามที่เจ็บป่วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีอาการท้องเสียจะยิ่งทำให้ร่างกายใช้เวลาฟื้นตัวนานขึ้น เนื่องจากน้ำตาลจะเป็นตัวการที่ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวซึ่งมีบทบาทสำคัญในการต่อสู้กับแบคทีเรียหรือเชื้อโรคต่างๆทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ

4. เครื่องดื่มประเภทโซดา

เครื่องดื่มประเภทโซดามีส่วนผสมของคาเฟอีนเช่นเดียวกับกาแฟซึ่งมีฤทธิ์ในการกระตุ้นให้ร่างกายขับของเหลวออกมา ซึ่งหากกำลังอยู่ในช่วงที่ประสบกับภาวะท้องเสีย การบริโภคเครื่องดื่มชนิดนี้จะยิ่งทำให้อาการแย่ลง นอกจากนี้เครื่องดื่มประเภทโซดายังอุดมไปด้วยน้ำตาลซึ่งจะไปกดการทำงานของเม็ดเลือดขาวให้ทำงานได้แย่ลงเช่นกัน

5. ขนมถุงกรุบกรอบ

อาหารต้องห้ามขณะมีอาการไอหรือเจ็บคอคงหนีไม่พ้นขนมกรุบกรอบทั้งหลาย ซึ่งจะยิ่งทำให้เจ็บคอหนักขึ้นและทำให้ต้องใช้เวลาในการรักษาอาการดังกล่าวนานขึ้นไปอีก

6. เครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีความเหมือนกับกาแฟตรงที่มีฤทธิ์ในการขับของเหลวออกจากร่างกาย ซึ่งจะยิ่งเป็นอันตรายต่อผู้ที่กำลังมีอาการท้องเสีย

7. นม

อาจเคยได้ยินมาบ้างว่าควรงดอาหารที่มีส่วนผสมของนมในช่วงเจ็บป่วย เนื่องจากจะยิ่งทำให้ร่างกายผลิตน้ำมูกหรือเสมหะมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าการลดการบริโภคนมจะทำให้น้ำมูกลดลงไปด้วย แต่มีบางคนพบว่าอาหารชนิดนี้ทำให้เสมหะข้นเหนียวมากขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

8. อาหารทอดหรือมีไขมันสูง

อาหารในกลุ่มนี้มักมีไขมันสูงซึ่งทำให้ใช้เวลานานขึ้นในการเคลื่อนย้ายไปยังระบบย่อยอาหาร อีกทั้งยังเป็นตัวการที่ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณลำไส้หดเกร็ง จึงส่งผลให้อาการคลื่นไส้และท้องเสียแย่ลง นอกจากนี้การบริโภคอาหารดังกล่าวยังสามารถก่อให้เกิดอาการกรดไหลย้อนได้เช่นกัน

9. อาหารที่มีรสเผ็ด

หากกำลังมีอาการน้ำมูกไหล การบริโภคอาหารที่มีรสเผ็ดอย่างพริกจะทำให้อาการแย่ลง เนื่องจากในพริกมีสารแคปไซซิน (Capsaicin) ซึ่งจะไปรบกวนการทำงานของทางเดินหายใจ ส่งผลให้น้ำมูกไหลมากยิ่งขึ้น

เมื่อรู้เช่นนี้แล้วหากอยากฟื้นตัวจากอาการเจ็บป่วยต่างๆก็ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารตามที่กล่าวไว้ข้างต้นและพักผ่อนให้เพียงพอ


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Foods to avoid if you're over 65. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/eat-well/foods-to-avoid-over-65/)
14 foods to avoid to lose weight: What to stop eating and why. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324564)
11 Foods to Avoid When Trying to Lose Weight. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/11-foods-to-avoid-for-weight-loss)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รู้จักกับ “มะตูม” สมุนไพรเพื่อสุขภาพ ดับกระหายคลายร้อน
รู้จักกับ “มะตูม” สมุนไพรเพื่อสุขภาพ ดับกระหายคลายร้อน

รู้หรือไม่ว่า มะตูมนอกจากจะเอามาทำเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพได้แล้ว ส่วนอื่นๆ ของมะตูมก็สามารถนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรบำรุงร่างกายได้อีกด้วย!

อ่านเพิ่ม