กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

Type 1 Diabetes (เบาหวานชนิดที่ 1)

เผยแพร่ครั้งแรก 13 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคเบาหวาน เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน แบ่งเป็น 2 ชนิดหลักๆ คือ โรงเบาหวานชนิดที่ 1 และโรคเบาหวานชนิดที่ 2
  • โรคเบาหวานชนิดที่ 1 คือ ผู้ป่วยไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำตาลกลูโคสในเลือดได้ เป็นชนิดที่พบได้น้อย และมักพบในเด็ก ซึ่งในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดแน่ชัด
  • โรคเบาหวานชนิดที่ 2 คือ ผู้ป่วยผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้มีน้ำตาลกลูโคสสะสมในเลือดปริมาณสูง เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด ประมาณ 90-95% ของผู้ป่วยเบาหวาน
  • เมื่อป่วยเป็นโรคเบาหวาน สิ่งหนึ่งที่ผู้ป่วยจะต้องให้ความสำคัญก็คือ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสมสำหรับตัวเอง ซึ่งสามารถขอคำปรึกษาจากแพทย์ประจำตัวได้
  • ทุกคนสามารถเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้หมด ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น ชอบรับประทานอาหารที่มีรสชาติหวาน หรือไม่ออกกำลังกาย เพื่อความปลอดภัย คุณควรตรวจสุขภาพทุกปี โดยในโปรแกรมตรวจสุขภาพจะรวมไปถึงการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วย (ดูแพ็กเกจตรวจเบาหวานได้ที่นี่)

โรคเบาหวาน เป็นหนึ่งในโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน แบ่งเป็น 2 ชนิดหลักๆ คือ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งเกิดจากร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) หรือผลิตได้ไม่เพียงพอ

ฮอร์โมนอินซูลิน ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณของน้ำตาลกลูโคสในเลือด โดยการช่วยให้ตับ กล้ามเนื้อ และเซลล์ไขมันดูดซึมน้ำตาลเข้าไป เมื่อไม่สามารถนำน้ำตาลกลูโคสในเลือดไปใช้จึงเกิดการสะสม ส่งผลให้ค่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงจนส่งผลเสียต่อร่างกายตามมา หรือเป็นโรคเบาหวานนั่นเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โรคเบาหวานชนิดที่ 1 คืออะไร?

โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เคยรู้จักในชื่อโรคเบาหวานชนิดที่ต้องใช้อินซูลิน (Insulin dependent diabetes) หรือ โรคเบาหวานในเด็ก (Juvenile Onset Diabetes) เนื่องจากมักพบในเด็ก 

โรคเบาหวานชนิดที่ 1 พบได้ 5% ของผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมด อ้างอิงจากศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค (Centers for Disease Control and Prevention: CDC)

โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดเมื่อร่างกายผลิตอินซูลินได้น้อย หรือไม่ได้เลย ถือเป็นความผิดปกติทางระบบภูมิคุ้มกัน หมายความว่า ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดพลาด เข้าโจมตี และทำลาย Beta cells ของตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลิน ซึ่งในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดแน่ชัด

โรคเบาหวานชนิดที่ 1 กับชนิดที่ 2 แตกต่างกันอย่างไร?

โรคเบาหวานชนิดที่ 1 ตับอ่อนจะไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ ซึ่งเกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายนั้นเข้าโจมตีตับอ่อน และทำลายเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างอินซูลิน 

ในขณะที่เบาหวานชนิดที่ 2 นั้น ตับ กล้ามเนื้อ และเซลล์ไขมันไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน หรือเรียกว่า "ภาวะดื้อต่ออินซูลิน" ทำให้น้ำตาลกลูโคสไม่สามารถเข้าสู่เซลล์เหล่านี้ได้ดีเท่าเดิม และไปสะสมอยู่ในกระแสเลือด

ในโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ตับอ่อนจะตอบสนองต่อระดับน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นด้วยการสร้างอินซูลินออกมามากขึ้น แต่ไม่สามารถสร้างออกมาได้มากพอที่จะจัดการกับระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดในช่วงที่สูงที่สุดได้ ซึ่งพบในช่วงหลังรับประทานอาหาร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ซึ่ง CDC ได้กล่าวว่า โรคเบาหวานชนิดที่ 2 พบมากถึง 90-95% ของผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมด

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 1

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 1 แต่มีข้อสันนิษฐานว่า ผู้ป่วยโรคนี้อาจมีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดการทำลาย Beta cell ของตับอ่อน ซึ่งทำให้สูญเสียความสามารถในการผลิตอินซูลิน

ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ที่เป็นไปได้ประกอบด้วย

  • พันธุกรรม
  • ประวัติครอบครัว
  • ภาวะขาดวิตามินดี
  • เริ่มดื่มนมวัวเร็วเกินไป
  • โรคทางระบบภูมิคุ้มกันอื่นๆ เช่น โรคที่ต่อมไทรอยด์ โรคแอดดิสัน (Addison’s disease) โรคเซลิแอค (Celiac Disease) และ Autoimmune gastritis
  • ติดเชื้อไวรัสในช่วงวัยเด็ก
  • การเริ่มอาหารประเภทซีเรียล และกลูเตนเร็วเกินไป (ก่อย 4 เดือน) หรือช้าเกินไป (หลัง 7 เดือน)
  • ขณะคลอด มารดามีอายุมาก หรือมีภาวะครรภ์เป็นพิษ

จะรู้ได้อย่างไรว่า เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1

ทุกคนสามารถเป็นโรคเบาหวานโดยที่ไม่รู้ตัวได้ เนื่องจากบางครั้งอาการแสดงไม่ชัดเจน โดยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 สามารถเกิดได้ทั้งแบบฉับพลัน และแบบค่อยเป็นค่อยไป

เวลาที่ผู้ป่วยเพิ่งเริ่มเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 พวกเขามักจะมีอาการดังต่อไปนี้

  • ปัสสาวะบ่อย เนื่องจากร่างกายพยายามกำจัดน้ำตาลกลูโคสส่วนเกินโดยการขับออกทางปัสสาวะ
  • ดื่มน้ำมากขึ้น เพื่อชดเชยสารน้ำที่เสียไปทางปัสสาวะ
  • กินเยอะ เนื่องจากร่างกายต้องการพลังงานชดเชยพลังงานที่ไม่ได้รับจากน้ำตาล (ไม่สามารถดูดซึมน้ำตาลได้)
  • น้ำหนักลด เนื่องจากร่างกายเริ่มนำไขมัน และกล้ามเนื้อมาใช้เป็นพลังงาน
  • รู้สึกอ่อนเพลียตลอดเวลา
  • เด็กผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวาน อาจมีแนวโน้มที่จะติดเชื้อราที่ช่องคลอด ก่อนที่จะได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคเบาหวาน

หากไม่สามารถสังเกตพบอาการเหล่านี้ และไม่ได้รับการรักษา จะมีการสะสมสารเคมีในเลือดที่ทำให้ร่างกายมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน มีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจและอาจหมดสติได้ แพทย์เรียกภาวะนี้ว่า ภาวะคิโตซิส (Diabetic Ketoacidosis: DKA)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อย่างไรก็ตาม การเข้ารับการรักษาจะช่วยควบคุม หรือหยุดอาการเหล่านี้ได้ และลดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาแทรกซ้อนในระยะยาว ซึ่งแพทย์สามารถวินิจฉัยโรคนี้ได้จากการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด

การพยากรณ์โรคเบาหวานชนิดที่ 1

โดยทั่วไป ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 จะมีอายุขัยสั้นลง อ้างอิงจากการศึกษาในวารสาร Journal of the American Medical Assocation (JAMA) ปี 2015 พบว่า ผู้ชายที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 จะมีอายุขัยสั้นกว่าผู้ชายที่ไม่ได้เป็นโรค 11 ปี และในผู้หญิงจะสั้นลง 13 ปี 

แต่การประมาณอายุขัยนั้นขึ้นอยู่กับการควบคุมระดับน้ำตาลและตัวโรคด้วย   

นอกจากนี้จากการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งได้รับการรักษาอย่างเข้มงวดเป็นเวลา 6.5 ปี จะสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อน และลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตโดยรวมได้

การใช้ชีวิตร่วมกับโรคเบาหวานชนิดที่ 1

ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 จะต้องใส่ใจการรับประทานอาหาร และการใช้ชีวิตมากกว่าคนปกติทั่วไป ดังนี้

  • ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดวันละหลายๆ ครั้ง
  • ฉีดยาอินซูลินให้กับตัวเอง หรือใช้ปั๊มอินซูลิน
  • รับประทานอาหารที่เหมาะสมและดีต่อสุขภาพ นับปริมาณน้ำตาลและแป้งในอาหารที่รับประทาน และระยะเวลาระหว่างมื้ออาหาร
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาล และป้องกันการเกิดปัญหาในระยะยาวเช่นโรคหัวใจ
  • ติดตามกับแพทย์และทีมรักษาเป็นประจำ เพื่อให้มีสุขภาพที่ดี และได้รับการรักษาสำหรับปัญหาที่เกิดขึ้น

บางครั้งผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจจะรู้สึกว่า ตัวเองแตกต่างจากคนอื่น เนื่องจากพวกเขาต้องฉีดยาอินซูลิน คิดเกี่ยวกับสิ่งที่ตัวเองกิน และต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดทุกๆ วัน

ผู้ป่วยวัยรุ่นบางคนอาจจปฏิเสธว่า ตัวเองไม่ได้เป็นโรค พวกเขาอาจจะคิดว่า หากไม่สนใจมันก็โรคจะหายไปเอง อาจจะรู้สึกโกรธ เศร้า หรือรู้สึกว่า พ่อแม่เจ้ากี้เจ้าการกับการควบคุมโรคเบาหวาน

หากคุณเป็นโรคเบาหวานไม่ว่าจะชนิดใดก็ตาม มันเป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึกว่า เหมือนโลกนั้นพลิกคว่ำ แต่อย่างน้อยทีมแพทย์นั้นสามารถให้คำตอบ และการสนับสนุนได้ ดังนั้นอย่าลังเลที่จะถามแพทย์

นอกจากนี้ คุณควรขอความช่วยเหลือจากกลุ่มคนที่คุณสามารถพูดคุยแสดงความรู้สึกได้ และทำความเข้าใจว่าพวกเขาอยู่ร่วมกับโรคนี้ได้อย่างไร

โรคเบาหวานชนิดที่ 1 นั้นเป็นเรื่องยากที่จะทำใจยอมรับ แต่เด็ก หรือวัยรุ่นที่เป็นโรคเบาหวานชนิดนี้ก็ยังคงสามารถเล่นกีฬา ท่องเที่ยว ออกเดท ไปโรงเรียน และทำงานได้เหมือนกับเพื่อนคนอื่นๆ หากดูแลตัวเองได้อย่างเหมาะสม 

ดูแพ็กเกจตรวจเบาหวาน เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


36 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Type 1 Diabetes: Symptoms, Treatment, Causes, and Vs. Type 2. Healthline. (https://www.healthline.com/health/type-1-diabetes-causes-symtoms-treatments)
Type 1 diabetes: Overview, symptoms, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323729)
Type 1 diabetes. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/type-1-diabetes/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เราป่วยเป็นโรคความดัน และเบาหวานรับยาต่อเนื่อง
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
มึนๆงงๆตาลายหูอื้อค่ะเมื่อก่อนไม่เคยเป็นเกียวกับอะไรค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
พ่อเป็นต้อกระจก ตอนนี้บอดไปแล้ว ถ้าไปผ่าจะหายไหมคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
นอนกรนเสียงดัง ตื่นเช้ามีอาการง่วง เป็นเบาหวาน ควรไปตรวจที่ไหนดีคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
มีอาการเหมือนคนเป็นโรคเบาหวาน แต่ตรวจแล้วไม่เป็น มีข้อบงชี้ว่าจะเป็นโรคอะไรไหมคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)