กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

อาการเจ็บคอ

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาการเจ็บคอ

อาการเจ็บคอ เก็ดขึ้นจากการบวมร่วมกับการระคายเคืองบริเวณเนื้อเยื่อด้านหลังภายในลำคอ สาเหตุหลักของอาการเจ็บคอนั้นเกิดขึ้นจากการติดเชื้อ โดยกว่า 90 เปอร์เซนต์เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ได้แก่ ไรโนไวรัส (rhinovirus) โคโรนาไวรัส (coronavirus) อินฟลูเอนซาไวรัส (influenza virus) การติดเชื้อนั้นโดยปกติจะติดไม่นาน มีระยะเวลาติดเชื้อน้อยกว่า 7 วันและอาการเจ็บคอสามารถหายได้เอง การใช้ยาจึงใช้แค่เพื่อบรรเทาไม่ให้รู้สึกระคายเคืองและรอให้อาการหายไปได้เองตามการดำเนินไปของโรค อาการที่อาจเกิดขึ้นร่วมกับการเจ็บคอ ได้แก่ ความรู้สึกระคายเคืองในลำคอ เสียงแหบ ส่วนมากอาการเหล่านี้ไม่เกี่ยวข้องกับการมีไข้หรือต่อมน้ำเหลืองโต โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีอาการน้ำมูกไหลร่วมด้วย

การรักษาอาการเจ็บคอ

หากอาการเจ็บคอเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย สังเกตได้จากการมีหนองสีขาวเมื่อส่องดูภายในลำคอ กรณีนี้จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะซึ่งไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะมารับประทานเองเนื่องจากยาปฏิชีวนะจำเป็นต้องได้รับขนาด และความถี่ครบตามจำนวนเพื่อป้องกันการดื้อยา จึงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อให้คำแนะนำในการใช้ยาปฏิชีวนะสำหรับอาการเจ็บคอที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษา หู คอ จมูก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 854 บาท ลดสูงสุด 54%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หากอาการเจ็บคอเกิดขึ้นจากเชื้อไวรัส ซึ่งโดยปกติแล้วจะสามารถหายได้เองภายใน 4-7 วันโดยไม่ต้องรับประทานยา ในระหว่างนี้ควรพักผ่อนให้มากและไม่ออกกำลังกายที่ใช้กำลังมาก แต่หากต้องการใช้ยาเนื่องจากมีความรู้สึกเจ็บมากขึ้น อาจใช้ยาพาราเซตามอล หรือยาต้านการอักเสบ NSAID ได้ โดยขนาดการใช้ยาพาราเซตามอล อยู่ที่ขนาดทั่วไปสำหรับบรรเทาอาการปวด คือ  325 ถึง 650 มิลลิกรัม ทุก 4 ถึง 6 ชั่วโมง และห้ามรับประทานเกิน 4000 มิลลิกรัมใน 1 วัน เนื่องจากยาพาราเซตามอลมีพิษต่อตับ ยาต้านการอักเสบกลุ่ม NSAID ที่สามารถรับประทานได้ เช่นยาไอบูโพรเฟน (ibuprofen) ขนาด 200 ถึง 400 มิลลิกรัม ทุก 4 ถึง 6 ชั่วโมง โดยรับประทานไม่เกินวันละ 1200 มิลลิกรัม และยากลุ่ม NSAID มีผลข้างเคียง คือระคายเคืองกระเพาะอาหารจึงควรรับประทานยานี้หลังอาหาร

เป็นความเข้าใจผิดของคนส่วนใหญ่ว่าการเจ็บคอนั้นจะต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ ซึ่งยาปฏิชีวนะจะได้ผลเฉพาะการเจ็บคอที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น ไม่สามารถใช้รักษาการเจ็บคอที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสได้ นอกจากนี้การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุสมผลนำไปสู่การเกิดการดื้อยาอีกด้วย

การใช้ยาอมแก้เจ็บคอ ที่มีส่วนผสมของยาชาเฉพาะที่คือ เบนโซเคน (benzocaine) ก็สามารถช่วยลดอาการเจ็บได้ เบนโซเคนมีความปลอดภัยสูงกว่ายาตัวอื่นในท้องตลาด ตัวยาถูกดูดซึมได้น้อย การอมลูกอมแก้เจ็บคอควรค่อยๆให้ลูกอมละลายอย่างช้าๆในปาก การใช้สเปรย์ที่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหย และสารระเหย เช่น เมนทอล (menthol) น้ำมันยูคาลิปตัส (eucalyptus oil) ไทมอล (thymol) เฮกซิลเรซอซินอล (hexylresorcinol) และฟีนอล (phenol) จะช่วยเพิ่มการหลั่งของน้ำลายทำให้รู้สึกระคายเคืองน้อยลง ร่วมกับการมีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่แบบอ่อนๆ และฤทธิ์ในการยับยั้งแบคทีเรีย นอกจากนี้แล้ว เมนทอลยังทำให้รู้สึกเย็น ชุ่มคอ ซึ่งสามารถช่วยลดความรู้สึกเจ็บลงได้ ยาอื่นๆที่อาจช่วยให้อาการหวัดหายได้เร็วขึ้น เช่น วิตามินซี

การบำบัดนอกเหนือจากการใช้ยา

การดื่มเครื่องดื่มเย็น หรือไอศกรีม อาจช่วยลดการระคายเคือง ลดอาการเจ็บคอแบบไม่รุนแรงลงได้ชั่วคราว เนื่องจากทำให้เกิดความรู้สึกชา การกลั้วคอด้วยน้ำเกลือ อาจช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอได้ การอมลูกอมแข็งในปากจะช่วยเพิ่มการสร้างน้ำลาย ลดการระคายเคืองของผนังเยื่อบุลำคอ แต่แนะนำถ้าอมในปริมาณมากแนะนำให้อมลูกอมที่ไม่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะช่วยให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายกลับมาแข็งแรงและอาการติดเชื้อหายได้ไวยิ่งขึ้น การดื่มน้ำให้มากๆและพักผ่อนให้เพียงพอเป็นและถ้าหากอาการเจ็บคอรุนแรงขึ้นและยังคงอยู่มากกว่า 2 วัน ร่วมกับการมีไข้ ปวดศีรษะ ตัวบวม มีผื่น คลื่นไส้ อาเจียน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้แพทย์ทำการวินิจฉัยและรักษาต่อไป

 


19 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
15 natural remedies for a sore throat: Marshmallow root and more. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/318631)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เจ็บคอ (Sore Throats)
เจ็บคอ (Sore Throats)

อาการเจ็บคอ ภาวะแทรกซ้อน สาเหตุ และวิธีการรักษาอาการเจ็บคอ

อ่านเพิ่ม
เข้าใจอาการกลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอ และวิธีรักษา
เข้าใจอาการกลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอ และวิธีรักษา

เรียนรู้หลากหลายสาเหตุของอาการเจ็บคอ เพื่อหาแนวทางการรักษาหรือใช้ยาที่บรรเทาอาการได้ตรงจุด

อ่านเพิ่ม