กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

IBS (ลำไส้แปรปรวน)

เผยแพร่ครั้งแรก 2 ต.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

นอกจากอาการผมร่วง น้ำหนักขึ้น นอนไม่หลับ ซึ่งมักเป็นอาการที่เกิดขึ้นในผู้ที่มีภาวะเครียดแล้ว โรคลำไส้อักเสบ ก็เป็นอีกโรคที่เกิดในผู้ที่มีภาวะเครียดด้วยเช่นกัน และเป็นโรคที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดอาการไม่สบายตัว ทรมานระหว่างใช้ชีวิตระหว่างวัน

เรามาดูข้อมูลเกี่ยวกับโรคลำไส้แปรปรวน และวิธีรักษาโรคนี้กัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ความหมายของโรคลำไส้แปรปรวน

โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome: IBS) เกิดจากผู้ที่มักเครียด และสะสมความเครียดอยู่บ่อยๆ สุดท้ายจนสุดท้ายก็ส่งผลกระทบไปถึงกระเพาะอาหาร ประกอบกับการกินอาหารที่ไม่เป็นเวลา รวมถึงการรับประทานอาหารรสจัด 

โรคลำไส้แปรปรวนมีอาการหลักๆ ดังต่อไปนี้ 

  • ปวดแน่นท้อง 
  • ท้องอืด 
  • แสบท้อง 
  • มีลมเยอะ 
  • ลำไส้บีบมวน 
  • มีอาการคลื่นไส้อาเจียน 
  • มีการถ่ายแข็ง ถ่ายเหลว หรือทั้งแข็งและเหลวสลับกันไปก็ได้

ผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคลำไส้แปรปรวน 

สำหรับคนที่เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่ที่พบบ่อยๆ คือ ผู้หญิงตั้งแต่วัยรุ่น จนถึงวัยกลางคน แต่ก็ไม่เสมอไป เพราะคนที่มีความเครียดไม่ว่าเพศใดอายุใดก็สามารถเป็นได้เหมือนกัน สำหรับโรคนี้เป็นแล้วจะไม่อันตรายถึงชีวิตแต่จะเป็นๆ หายๆ ตลอดชีวิต

คนที่เป็นโรคนี้ส่วนมากมักจะรู้สึกรำคาญ และก็มักจะปรับตัวทำใจกับโรคนี้ได้ในที่สุด แต่ทั้งนี้ ก่อนที่จะสรุปว่าเป็นโรคนี้ได้ ต้องให้หมอทำการตรวจอย่างละเอียดเสียก่อน 

เพราะอาการของโรคลำไส้แปรปรวนจะมีอาการคล้ายๆ กับโรคร้ายได้หลายโรค เช่น แผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบนิ่วในถุงน้ำดี มะเร็งกระเพาะอาหาร หรือมะเร็งตับ

โรคลำไส้อักเสบคล้ายกับโรคหวัดลงกระเพาะหรือไม่?

มีบางคนสงสัยว่า โรคแปรปรวน มีอาการคล้ายกับโรคหวัดลงกระเพาะจะเป็นโรคเดียวกัน แต่ในความเป็นจริง โรคหวัดลงกระเพาะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ดังนั้นจึงถือว่า โรคหวัดลงกระเพาะอยู่ในกลุ่มอาการการติดเชื้อไวรัสใข้หวัดมากกว่า คือ เมื่อไข้หวัดหายแล้ว อาการเหล่านั้นก็จะหายตามไปด้วยเช่นกัน

วิธีการรักษา

สำหรับวิธีการรักษาโรคนี้ อย่างแรก คือ ผู้ป่วยต้องได้รับการวินิจฉัยจากหมอให้แน่ชัดเสียก่อนว่า ป่วยเป็นโรคนี้แน่นอน แล้วจึงค่อยไปสร้างความคุ้นเคยกับหมอที่ทำการรักษา เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคเรื้อรัง ต้องมีหมอที่เชี่ยวชาญ และเข้าใจการรักษาในระยะยาว 

หลังจากนั้นจึงให้หมอ รักษาตามอาการต่อไป เช่น หากมีอาการท้องเสียก็ควรงดกินอาหารที่จะสามารถให้เกิดการท้องเสียได้ เช่น ถั่วที่มีแก๊สเยอะๆ หรือถ้ามีอาการท้องผูกให้กินควรอาหารที่มีกากใยเยอะๆ 

และหากโรคนี้เกิดจากความเครียด ทางที่ดีควรแก้ที่ต้นเหตุ คือ 

  • พยายามไม่เครียด
  • รู้จักปล่อยวาง 
  • หมั่นออกไปเจอโลกภายนอก 
  • คบค้าสมาคมกับเพื่อนใหม่ๆ กลุ่มใหม่ๆ 
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 
  • รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ มีกากใยมากๆ ควรมีสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ 
  • หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกน้ำตาล และไขมัน

การเป็นโรคลำไส้แปรปรวนหลังคลอด

หลังจากการตั้งครรภ์ และคลอดลูก ผู้หญิงบางคนอาจมีอาการต่อไปนี้

  • ปวดท้องถ่าย: มีความต้องการที่จะถ่ายเกิดขึ้นทันที
  • กลั้นอุจจาระไม่ได้
  • อุจจาระเล็ด: รู้สึกปวดท้องถ่ายแต่มักมีอุจจาระเล็ดออกมาก่อนจะสามารถเข้าห้องน้ำได้ทัน
  • มีอุจจาระหลังจากถ่าย: มีอุจจาระไหลออกมาหลังจากการถ่ายเสร็จสิ้นไปแล้ว ถือเป็นรูปแบบความผิดปกติทางการกลั้นอุจจาระที่พบได้น้อยที่สุด

ปัจจัยทำให้อาการโรคลำไส้แปรปรวนหลังคลอดเกิดขึ้น

มีปัจจัยหลายอย่างที่เพิ่มความเสี่ยงของการมีปัญหาปวดท้องถ่าย หรือปัญหาการกลั้นอุจจาระหลังจากคลอดลูก

  • ความเสี่ยงสูงขึ้นในผู้ที่คลอดลูกครั้งแรก ความเสี่ยงนี้จะลดลงเมื่อคลอดลูกคนถัดไป
  • มีการทำลายกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักขณะคลอด
  • เมื่อมีการตัดฝีเย็บ งานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้มีจำนวนจำกัดเนื่องจากมีผู้ที่เกี่ยวข้องน้อยหหรือไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างประเภทของแผลที่เกิดขึ้นในงานวิจัยที่เคยทำมาก่อน
    แต่พบว่า มีหลักฐานบางอย่างที่ระบุว่าผู้หญิงที่มีแผลตัดฝีเย็บระดับ 4 และมีการฉีกขาดจะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่สุด โดยน่าจะเกิดจากการที่โดนกล้ามเนื้อของทวารหนัก อย่างไรก็ตาม ปัญหาเกี่ยวกับอาการปวดท้องอาจเกิดขึ้นโดยไม่มีการตัดฝีเย็บ หรือแผลฉีกขาดได้
  • เมื่อมีการใช้ Forceps ระหว่างการคลอด
  • เพิ่งผ่านการตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานไม่ทำงานซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดปัญหาด้านการกลั้นอุจจาระ

จะป้องกันปัญหาระยะยาวขากได้อย่างไร?

ปัญหาด้านการกลั้นอุจจาระจากการตั้งครรภ์ และการคลอดลูกนี้อาจเกิดได้หลายปีหลังจากการคลอด แต่มีวิธีที่คุณจะสามารถช่วยลดโอกาสในการเกิดปัญหาระยะยาว โดยคุณควร...

  • รักษาน้ำหนักให้เหมาะสม
  • เคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ
  • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและถูกหลักโภชนาการ
  • ไม่สูบบุหรี่

จะเห็นได้ว่า โรคลำไส้แปรปรวนไม่ได้เกิดขึ้นแค่กับผู้ที่มีภาวะเครียดเท่านั้น แต่ยังสามารถก่ออันตรายได้กับผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ ด้วย ทางที่ดีเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ขึ้นกับตนเอง คุณควรรักษาระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่ายของตนเองให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ

วิธีการดูแลระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่ายของตนเองก็แสนง่าย เพียงรับประทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ หมั่นดื่มน้ำให้เพียงพอ สภาพจิตใจให้สดใสเสมอ เพียงเท่านี้ระบบทั้ง 2 ระบบของร่างกายก็จะทำงานได้อย่างคล่องตัว ไม่สร้างความรู้สึกสบายตัวให้กับคุณ


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How to Deal With an IBS Attack. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/how-to-deal-with-an-ibs-attack-1945092)
Tests for Irritable Bowel Syndrome: Rome Criteria, Blood Test, Colonoscopy, and More. WebMD. (https://www.webmd.com/ibs/guide/ibs-when-you-should-see-doctor#1)
IBS: Symptoms, Causes, Diagnosis, Triggers, and Treatment (https://www.healthline.com/health/irritable-bowel-syndrome)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ทำไม่ ต้องอ้วนลงพุ่งค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปวดกลังปวดเอว.เอ็นข้อศอกอักเสบเรื้อรังไม่หายสักที
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การปวดหลังเป็นประจำทุกวันเกิดจากอะไร
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
มีลูกเป็นเด็ก CP ค่ะ ตอนนี้ทานอาหารทางสายยาง...ไม่ทราบว่าน้องมีโอกาสต้องเจาะใส่สายทางหน้าท้องหรือป่าวค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อาการปวดเมื้อยบริเวณเหนือสะโพก เกิดจากอะไร มีวิธีรักษายังไงคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)