การรักษาภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว

เผยแพร่ครั้งแรก 26 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
การรักษาภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว

การรักษาภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวจะประกอบไปด้วยวิธีการหลายอย่าง เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต การใช้ยาต้านเกร็ดเลือด warfarin-anticoagulant' target='_blank'>ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาลดความดันโลหิต และการผ่าตัด

แม้ว่าอาการของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวจะหายอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่นาทีหรือไม่กี่ชั่วโมงโดยไม่ต้องรักษาใดๆ แต่คุณยังจำเป็นต้องได้รับการรักษาเพื่อป้องกันไม่ให้มีอาการของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวหรือโรคหลอดเลือดสมองถาวรที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวถือเป็นสัญญาณเตือนที่สำคัญว่าคุณมีความเสี่ยงอย่างมากต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองถาวรในอนาคตอันใกล้ โดยมีความเสี่ยงสูงสุดในช่วงไม่กี่วันแรกจนถึงไม่กี่สัปดาห์แรกหลังมีภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว

โรคหลอดเลือดสมองคือโรคทางสุขภาพร้ายแรงที่ทำให้เกิดความพิการถาวรได้ และอาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในผู้ป่วยบางราย แต่ถ้าได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมหลังจากมีภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว จะทำให้ความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดสมองลดลงได้

ในการรักษาจะขึ้นกับปัจจัยของแต่ละบุคคล เช่น อายุ และประวัติทางการแพทย์ ทีมแพทย์ที่ดูแลคุณจะให้คำแนะนำทางเลือกในการรักษาและแจ้งให้คุณทราบถึงประโยชน์และความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการรักษา

คุณจะได้รับคำแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่จะช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ร่วมกับการใช้ยาเพื่อรักษาโรคใดๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว

ในบางกรณีคุณอาจจำเป็นต้องรับการผ่าตัด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรักษา

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต

มีวิธีในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลายอย่างที่คุณสามารถทำได้ ซึ่งอาจช่วยลดโอกาสของการเป็นโรคหลอดเลือดสมองภายหลังมีภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่สามารถทำได้ ได้แก่:

  • รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ-แนะนำให้รับประทานอาหารไขมันต่ำ ลดปริมาณเกลือ เพิ่มปริมาณใยอาหาร รวมถึง ผักและผลไม้สด
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ-คำแนะนำสำหรับคนส่วนใหญ่คือ ให้ออกกำลังกายแบบแอโรบิกความหนักปานกลางอย่างน้อย 150 นาที ต่อสัปดาห์ เช่น ปั่นจักรยาน หรือเดินเร็ว
  • หยุดสูบบุหรี่-ถ้าคุณสูบบุหรี่ การหยุดสูบบุหรี่อาจช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดสมองในอนาคตได้
  • ลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์-คุณควรจำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ลง โดยผู้ชายแนะนำไม่เกิน 3-4 หน่วยต่อวัน ผู้หญิงแนะนำไม่เกิน 2-3 ยูนิตต่อวัน

การใช้ยา

นอกจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวจำเป็นต้องได้รับยาอย่างน้อย 1 ชนิด เพื่อช่วยลดโอกาสของการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือการมีภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวซ้ำ

บางส่วนของยาที่ใช้ในการรักษา มีดังนี้

ยาต้านเกร็ดเลือด (Antiplatelets)

เกร็ดเลือดคือเซลล์ในระบบเลือดที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด ถ้าหลอดเลือดได้รับความเสียหาย เกร็ดเลือดจะเกาะกลุ่มกันเป็นลิ่มเลือดเพื่อป้องกันเลือดออก

ยาต้านเกร็ดเลือดจะออกฤทธิ์โดยลดความสามารถของเกร็ดเลือดในการเกาะกลุ่มกันเป็นลิ่มเลือด ถ้าคุณมีภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว คุณจะได้รับคำแนะนำให้ใช้ยาต้านเกร็ดเลือด

ยาต้านเกร็ดเลือดที่ใช้กันบ่อยๆ มีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ แอสไพริน (aspirin) และ โคลพิโดเกรล (clopidogrel) โดยยา aspirin อาจแนะนำให้รับประทานร่วมกับยาต้านเกร็ดเลือดอีก 1 ชนิด คือไดไพริดาโมล (dipyridaole) เพราะจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการรับประทานแยกกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ผลข้างเคียงหลักของยาต้านเกร็ดเลือดคือ อาหารไม่ย่อย และเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดเลือดออก ตัวอย่างเช่น คุณอาจมีเลือดออกนานกว่าปกติถ้าคุณมีบาดแผล หรือคุณอาจมีอาการฟกช้ำได้ง่ายกว่าปกติ

ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulants)

ยาต้านการแข็งตัวของเลือดจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดโดยการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมีของเลือด ทำให้ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดได้

ยานี้จะได้รับการแนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวที่มีสาเหตุมาจากหัวใจ ซึ่งมักเกิดจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดหัวใจห้องบนสั่นพริ้ว (atrial fibrillation)

ยาวาร์ฟาร์ริน (warfarin), rivaroxaban, dabigatran และ apixaban คือตัวอย่างของยาต้านการแข็งตัวของเลือดที่แนะนำให้ใช้กับผู้ป่วยภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวบางราย

ผลข้างเคียงของยาต้านการแข็งของเลือดทุกตัวคือ เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดเลือดออก เพราะยาไปลดความสามารถในการแข็งตัวของเลือด คุณอาจจำเป็นต้องตรวจเลือดเป็นประจำระหว่างการใช้ยา warfarin เพื่อประเมินว่าคุณไม่ได้รับขนาดยาที่สูงเกินไปหรือต่ำเกินไป

ยาลดความดันโลหิต (Antihypertensives (blood pressure medication))

ถ้าคุณมีภาวะความดันโลหิตสูง คุณจะได้รับคำแนะนำให้ใช้ยาลดความดันโลหิต เพราะความดันโลหิตสูงคือปัจจัยเสี่ยงหนึ่งของการเป็นภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวหรือโรคหลอดเลือดสมอง

มียาลดความดันโลหิตหลายชนิดที่สามารถช่วยควบคุมความดันโลหิตให้กับคุณ ได้แก่:

  • ยาขับปัสสาวะกลุ่ม thiazide
  • angiotensin-converting enzyme (ACE) inhibitors
  • calcium channel blockers
  • beta-blockers

แพทย์จะแนะนำยาลดความดันโลหิตที่เหมาะสมกับคุณ ผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องใช้ยาลดความดันโลหิต 2 หรือ 3 รายการที่แตกต่างกันเพื่อลดความดันโลหิต

ยาในกลุ่ม สแตติน (statins)

ถ้าคุณมีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง คุณจะได้รับคำแนะนำให้รับประทานยาในกลุ่มสแตติน (statin) ยาในกลุ่ม statins จะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดโดยไปยับยั้งเอนไซม์ในตับที่ทำหน้าที่ผลิตคอเลสเตอรอล

Statins อาจช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดสมองไม่ว่าจะมีระดับคอเลสเตอรอลเป็นเท่าใด และคุณอาจได้รับยา statins แม้ว่าระดับคอเลสเตอรอลจะไม่ได้สูงมากนัก

ตัวอย่างของยาในกลุ่ม statins ที่แนะนำสำหรับผู้ป่วยภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว ได้แก่ atorvastatin, simvastatin และ rosuvastatin

การผ่าตัด

ในผู้ป่วยบางรายอาจต้องมีการผ่าตัดที่เรียกว่า การผ่าตัดเอาคราบไขมันที่อุดตันในหลอดเลือดคอที่ไปเลี้ยงสมองออก (Carotid endarterectomy) ซึ่งอาจได้รับคำแนะนำให้ผ่าตัดหลังมีภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว

การผ่าตัดเอาคราบไขมันที่อุดตันในหลอดเลือดคอที่ไปเลี้ยงสมองออก (Carotid endarterectomy)

การผ่าตัดเอาคราบไขมันที่อุดตันในหลอดเลือดคอที่ไปเลี้ยงสมองออก คือการผ่าตัดเพื่อเอาคราบไขมันออกจากหลอดเลือดแดงใหญ่ที่ด้านข้างลำคอทั้งสองข้าง

หลอดเลือดใหญ่ที่คอ ชื่อว่า carotid arteries จะทำหน้าที่นำส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง เมื่อมีการอุดตันของไขมันเกิดขึ้นภายในหลอดเลือด carotid arteries ทำให้หลอดเลือดแข็งและตีบแคบ ทำให้เลือดไหลผ่านบริเวณดังกล่าวไปยังสมองได้ยากขึ้น

เราเรียกภาวะนี้ว่า โรคหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวและโรคหลอดเลือดสมองได้ เพราะมีการอุดตันของหลอดเลือดเกินขึ้น

ในการผ่าตัดเอาคราบไขมันออกจากเส้นเลือด carotid arteries ในผู้ที่มีการตีบแคบปานกลางหรือรุนแรง จะช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดสมองและภาวะสมองขาดเลือดได้อย่างมาก

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/transient-ischaemic-attack-tia#treatment


22 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Transient ischaemic attack (TIA) - Treatment. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/transient-ischaemic-attack-tia/treatment/)
Diagnosis and Management of Transient Ischemic Attack. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5898963/)
Transient ischemic attack (TIA) - Diagnosis and treatment - Mayo Clinic (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/transient-ischemic-attack/diagnosis-treatment/drc-20355684)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)