การรักษาการฉีกขาดของผิวหนัง

ผิวหนังที่บางนั้นอาจเกิดการฉีกขาดได้ง่ายแม้แต่เวลาที่คุณพยายามจะรักษามัน
เผยแพร่ครั้งแรก 22 ก.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
การรักษาการฉีกขาดของผิวหนัง

การฉีกขาดของผิวหนังเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยเมื่อมีอายุมากขึ้น เพราะผิวหนังเริ่มแห้งและเปราะบางมากขึ้น ผิวหนังชนิดนี้สามารถฉีกขาดออกจากกันได้อย่างง่ายดายแม้จะใช้แรงกดเพียงเล็กน้อยก็ตาม แม้แต่พลาสเตอร์ปิดแผลเองก็อาจติดแน่นกับผิวหนังมากเกินไปจนทำให้ผิวหนังเหล่านี้ให้ฉีกขาดออกจากกันได้ 

สิ่งที่สำคัญกว่าการรักษาก็คือการป้องกันการฉีกขาดของผิวหนัง เราแทบจะไม่สามารถปิดบริเวณที่ฉีกขาดได้เลย โดยเฉพาะเมื่อผิวหนังส่วนนั้นหายไป หากเกิดการฉีกขาดของผิวหนังแล้วละก็ วิธีการรักษาก็คือการทำความสะอาดบริเวณนั้นให้ดีและป้องกันไม่ให้เกิดการฉีกขาดมากขึ้น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ขั้นตอนในการดูแลผิวหนัง

  1. ล้างผิวหนังบริเวณนั้นด้วยน้ำเกลือ ระวังอย่าให้ผิวหนังฉีกมากขึ้นและอย่าใช้สารละลาย hydrogen peroxide หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ใช้เฉพาะน้ำเกลือก็เพียงพอ
  2. ปล่อยให้ผิวหนังแห้งเองหรือเป่าจนแห้งอย่างระมัดระวัง หากมีส่วนของผิวหนังเปิดให้นำกลับไปยังตำแหน่งที่ใกล้เคียงของเดิมมากที่สุด
  3. ปิดบริเวณที่ฉีกขาดได้ด้วยอุปกรณ์หลายชนิด เช่น แผ่นฟิล์มปิดแผล (เช่น Tagaderm) หากใช้แผ่นฟิล์มลักษณะนี้อย่าลืมลอกออกในทิศทางเดียวกับผิวหนังที่เปิดออก เพราะหากลอกในทิศตรงข้ามคุณอาจจะทำให้แผลนั้นเปิดอีกครั้งได้
  4. หากใช้แผ่นฟิล์มปิดแผลให้รอจนหายดี หากแผ่นปิดแผลสกปรกให้ลอกออก ทำความสะอาดบริเวณแผลใหม่ แล้วปิดแผลอีกครั้ง หากแผลเกิดการติดเชื้อให้ไปพบแพทย์

หากคุณใช้อุปกรณ์ปิดแผลชนิดที่ไม่สามารถมองเห็นแผล ควรเปลี่ยนแผ่นปิดแผลทุก 3 วันเพื่อดูว่าแผลเริ่มดีขึ้นหรือไม่ หรือเกิดการติดเชื้อ เวลาลอกอุปกรณ์ปิดแผล ให้ลอกออกเบา ๆ ไปในทิศทางเดียวกับผิวหนังที่เปิด


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Stacy Sampson, DO, Everything You Should Know About Skin Abrasions (https://www.healthline.com/health/abrasion), January 23, 2018
นายแพทย์อาทิ เครือวิทย์, WOUND MANAGEMENT (https://med.mahidol.ac.th/surgery/sites/default/files/public/pdf/wound%20management.Jan_.%2031,2011.pdf)
แพทย์หญิง ดร.สุมิตรา พงษ์ศิริ, บาดแผลและการหายของบาดแผล (http://web1.dent.cmu.ac.th/mis/dis/UserFiles/File/surg/SheetDOS381/Sheet%20Wound%20Healing_45.pdf)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป