งานวิจัยพบว่าการรักษาโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบในปัจจุบันอาจมากเกินความจำเป็น

เผยแพร่ครั้งแรก 14 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
งานวิจัยพบว่าการรักษาโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบในปัจจุบันอาจมากเกินความจำเป็น

โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นโรคที่เกิดจากกระเปาะที่ยื่นออกจากผนังลำไส้ใหญ่นั้นเกิดการอักเสบและทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย ท้องผูก มีไข้ และอาจทำให้เกิดเลือดออกทางทวารหนักได้ ในบางครั้งโรคนี้สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานอาหารเหลว แต่ในบางครั้งก็จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะหรือแม้กระทั่งการผ่าตัดในการรักษา ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา พบว่ามีการนัดผู้ป่วยมาผ่าตัดเพื่อทำการรักษาโรคนี้มากขึ้นถึง 25-30% ซึ่งงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร JAMA เมื่อปี 2014 นั้นรายงานว่าการรักษาดังกล่าวนั้นเป็นการรักษาที่เกินความจำเป็น

นักวิจัยได้ทำการศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบและแนวทางในการรักษาทั้งหมด 80 ชิ้น นักวิจัยพบว่าบางครั้งการให้ยาปฏิชีวนะและการผ่าตัดนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ในรายที่เป็นโรคนี้เรื้อรังหรือกลับเป็นซ้ำควรมีการควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะหรือการผ่าตัดมากกว่าเดิม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ได้หมายความว่าแพทย์ไม่ควรรักษาโรคนี้ด้วยการให้ยาปฏิชีวนะหรือการผ่าตัดเลย ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้อง มีไข้ มีปริมาณเม็ดเลือดขาวสูง และตรวจร่างกายพบความผิดปกติอย่างชัดเจนก็จำเป็นที่จะต้องได้รับยาปฏิชีวนะ แต่ถ้าหากอาการดังกล่าวนั้นไม่ชัดเจน ผู้ป่วยอาจจะไม่จำเป็นต้องได้รับยา

การรักษาด้วยการผ่าตัดก็เช่นเดียวกัน แน่นอนว่าหากผู้ป่วยเป็นโรคนี้ซ้ำ 2 ครั้งภายในเวลา 6 เดือนก็ย่อมแสดงว่ามีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดเพื่อการรักษา ดังนั้นการรักษาโรคนี้จึงจำเป็นต้องพิจารณาเป็นรายบุคคลไป

โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบนั้นเป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อยนัก แต่เป็นภาวะที่เกิดตามหลังการมีถุงผนังลำไส้ใหญ่โป่งซึ่งเป็ฯภาวะที่พบได้บ่อยและมักไม่ทำให้เกิดอาการและไม่เป็นอันตราย ยกเว้นบางกลุ่มที่อาจเกิดการอักเสบหรือเลือดออกจากบริเวณที่โป่งพองออกมาได้ โดยงานวิจัยพบว่าเกิดขึ้นได้ประมาณ 4% ของเวลาทั้งหมด และมีการคาดการณ์ว่าจะมีผู้ป่วยประมาณ 10-25% ที่เกิดภาวะถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบนั้นประกอบด้วยอายุ โดยผู้ที่มีอายุมากกว่า 80 ปีถึง 70% เป็นโรคนี้ ปัจจัยอื่นๆ ประกอบด้วยความอ้วน การไม่ออกกำลังกาย และการรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารต่ำ

อย่างไรก็ตามก็ยังมีหลักฐานไม่เพียงพอที่จะสามารถสรุปได้ว่า การออกกำลังกาย การลดน้ำหนักและการรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูงนั้นจะช่วยป้องกันการเกิดโรคนี้ได้ ในปัจจุบันเชื่อว่าเส้นใยอาหารนั้นมีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของลำไส้ใหญ่ ทั้งช่วยลดอาการท้องผูก, ควบคุมระดับ cholesterol และทำให้อิ่มท้องได้นานขึ้นซึ่งจะช่วยควบคุมน้ำหนักตัวได้

ผู้ใหญ่ควรรับประทานเส้นใยอาหารจากอาหารที่มีเส้นใยอาหารมากวันละ 25-30 กรัม เช่นจากถั่ว ธัญพืช ผัก และผลไม้ หากคุณคิดว่าอาจจะรับประทานเส้นใยอาหารจากอาหารได้ไม่เพียงพอ ให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการรับประทานอาหารเสริม คุณควรค่อยๆ เริ่มรับประทานเส้นใยอาหารเหล่านี้เพิ่มขึ้นทีละน้อยเนื่องจากหากมีการรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปนั้นอาจทำให้ท้องอืดได้ นอกจากเส้นใยอาหารแล้วนั้น น้ำตาลก็ถือว่ามีบทบาทสำคัญเนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการคล้ายกับโรคลำไส้แปรปรวนได้

การรับประทานอาหารที่มีเส้นใยมากนั้นจะช่วยบรรเทาการที่ผนังกล้ามเนื้อภายในลำไส้ใหญ่นั้นเกิดการหนาตัวขึ้นและลดการเกิดอาการปวดท้องจากภาวะดังกล่าว รวมถึงทำให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

อาหารและเครื่องดื่มที่อาจทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้และโรคลำไส้แปรปรวนมีอาการประกอบด้วย

  • หน่อไม้ฝรั่ง
  • บรอคโคลี่
  • กะหล่ำปลี
  • เชอร์รี่
  • น้ำอัดลม
  • อาหารและเครื่องดื่มที่เติมน้ำตาล (เช่นน้ำเชื่อมและน้ำผลไม้)
  • ผลิตภัณฑ์จากนม
  • ถั่ว
  • ลูกพีช
  • ลูกแพร์

31 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Ulcerative colitis - Treatment. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/ulcerative-colitis/treatment/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ชนิดของมะเร็งลำไส้
ชนิดของมะเร็งลำไส้

มะเร็งลำไส้ชนิดต่าง ๆ

อ่านเพิ่ม
ฉันควรรับประทานอาหารอย่างไรหลังจากการผ่าตัดทำทวารเทียมหรือการผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่ออก
ฉันควรรับประทานอาหารอย่างไรหลังจากการผ่าตัดทำทวารเทียมหรือการผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่ออก

การเปลี่ยนแปลงอาหารเล็กๆ น้อยๆ หลังการผ่าตัดทำทวารเทียมจะช่วยให้ร่างกายของคุณปรับตัวได้

อ่านเพิ่ม
ฉันควรกินอาหารอย่างไรหลังจากตัดลำไส้ใหญ่ไปแล้ว?
ฉันควรกินอาหารอย่างไรหลังจากตัดลำไส้ใหญ่ไปแล้ว?

ตัวเลือกอาหารที่เหมาะสมช่วยเรื่องการรับประทานอาหารที่ดีหลังจากตัดลำไส้ใหญ่ไปแล้ว

อ่านเพิ่ม