การรักษากลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรัง

เผยแพร่ครั้งแรก 11 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
การรักษากลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรัง

แม้ว่าจะไม่มีวิธีรักษาอาการเหนื่อยล้าของกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังได้อย่างหายขาด แต่มีหลายวิธีที่สามารถช่วยในการจัดการกับอาการของคุณได้

เนื่องจากความซับซ้อนของลักษณะของโรค การเปลี่ยนแปลงรูปแบบโรคและความรุนแรง และอาการที่หลากหลาย การดูแลรักษาจึงแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละคน แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปอาจสามารถช่วยจัดการอาการหลาย ๆ อย่างที่เกิดขึ้น หรือพวกเขาอาจส่งต่อคุณไปหาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือบริการที่จะช่วยคุณในการจัดการอาการแต่ละอย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยขึ้นอยู่กับศูนย์บริการต่าง ๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่ของคุณ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ในการตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับคุณ คุณควรพิจารณาถึงหลักฐานที่ผ่านมาของการรักษานั้น เช่น จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ และการสำรวจที่ผ่านมา และตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการรักษาก่อนที่คุณจะตัดสินใจเข้ารับการรักษานั้น คุณมีสิทธิ์ปฏิเสธทางเลือกในการรักษาใด ๆ ที่รู้สึกว่าไม่สบายใจได้เสมอ

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจแนะนำตัวเลือกการรักษาต่อไปนี้

การรักษาด้วยยา

แพทย์ประจำตัวของคุณอาจซักถามถึงยาที่คุณทานอยู่และพิจารณาถึงภาวะทางการแพทย์ที่คุณกำลังเป็นอยู่อื่น ๆ ร่วมด้วย โดยอาจมีการปรับยาที่ใช้อยู่เหล่านั้นเพื่อรักษาอาการสำคัญของกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังควบคู่กันไปด้วย

คำแนะนำเรื่องการรับประทานอาหาร

ความเจ็บป่วยดังกล่าวของคุณอาจทำให้ยากต่อการได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อวันอย่างเหมาะสม เนื่องจากสูญเสียความอยากอาหารและเกิดการแพ้อาหารบางชนิดได้ แพทย์ประจำตัวของคุณอาจสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีที่คุณสามารถปรับและเปลี่ยนแปลงอาหารประจำวันได้

คำแนะนำเรื่องการดูแลภาวะพิการ

แพทย์ประจำตัวของคุณอาจทำการรักษาคุณโดยตรง หรือส่งต่อคุณไปยังนักกายภาพบำบัดเพื่อแนะนำเครื่องมือช่วยเหลือ กิจกรรม หรือการสนับสนุนที่สามารถช่วยคุณในการฟื้นฟูหรือปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อให้คุณสามารถใช้ชีวิตอยู่อย่างเต็มศักยภาพยิ่งขึ้น

คำแนะนำเรื่องการจับจังหวะชีวิต

การปรับสมดุลของช่วงเวลาทำกิจกรรมกับช่วงเวลาพักผ่อนและการสังเกตกิจกรรมที่จำเป็นต่อคุณมากที่สุดสามารถช่วยลดจำนวนช่วงความเมื่อยล้าอย่างหนักหลังการออกแรงได้ (Post-exertional malaise) การจับจังหวะชีวิตด้วยตัวคุณเองโดยการหยุดกิจกรรมต่าง ๆ ก่อนที่จะเกิดผลกระทบจากโรคนั้นสามารถทำให้คุณมีพลังงานสำรองเก็บไว้ และไม่เกิดอาการขึ้น อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องง่ายมากที่คุณมักเผลอจะทำกิจกรรมต่าง ๆ มากมายอย่างเพลิดเพลินในวันดี ๆ แต่กลับเจ็บป่วยด้วยผลกระทบของโรคในภายหลัง ดังนั้น คุณอาจต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนนิสัย และฝืนใจหยุดทำกิจกรรมบางสิ่งบางอย่างแม้ในขณะที่กำลังไปได้สวย ซึ่งการฝึกจับจังหวะชีวิตเช่นนี้เป็นกุญแจสำคัญในการจัดการสภาวะของกลุ่มอาการนี้ของคุณในระยะยาว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การบำบัดด้วยการออกกำลังกายแบบค่อยเป็นค่อยไป (Graded exercise therapy)

การบำบัดนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค่อย ๆ เพิ่มความสามารถในการทำงานในชีวิตประจำวันและจัดการอาการต่าง ๆ ของโรค ซึ่งกิจกรรมนี้ควรทำโดยนักบำบัดโรคผู้มีประสบการณ์ในเรื่องกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังและมีการดูแลทางคลินิกอย่างเหมาะสม

การเข้ารับคำปรึกษา

การเข้ารับคำปรึกษาสามารถช่วยให้คุณปรับตัวเข้ากับความเหนื่อยล้าเรื้อรังที่เกิดขึ้นในชีวิตของคุณ ซึ่งการทำเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าโรคดังกล่าวนั้นเป็นโรคทางจิตเวชหรือเป็นโรคแกล้งทำแต่อย่างใด

การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (CBT)

สามารถใช้เพื่อลดระดับอาการ ลดความพิการ และความทุกข์ทรมานจากอาการเจ็บป่วยเรื้อรังดังกล่าวได้

การบำบัดทางเลือกและแบบองค์รวม (Alternative and Holistic therapies)

การรักษาทางเลือกหรือการบำบัดแบบองค์รวมอาจช่วยทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการป่วยเรื้อรังเป็นระยะเวลานานรู้สึกสบายมากขึ้น แต่ควรระวังในการใช้วิธีใด ๆ ที่อ้างว่าสามารถให้การรักษาอาการอ่อนล้าแบบเรื้อรังได้ หากการบำบัดเหล่านั้นไม่ได้รับการยอมรับทางการแพทย์ หรือเผยแพร่ในวารสารที่ได้รับการยอมรับจากผู้ตรวจทานผู้ทรงคุณวุฒิ หรือมีราคาแพงจนน่าตกใจ คุณควรปรึกษากับแพทย์ประจำตัวของคุณก่อนที่จะลองการบำบัดดังกล่าว จนกว่าจะมีการศึกษาวิจัยต่อไปในภายภาคหน้าที่สามารถบ่งบอกได้ว่าคนที่เป็นกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังนั้นอาจได้รับประโยชน์จากการบำบัดทางเลือกหรือไม่ อย่างไร 

คำแนะนำสำหรับการใช้ชีวิตร่วมกับอาการอ่อนล้าเรื้อรัง

คุณสามารถทำอะไรได้บ้าง

มีบางสิ่งบางอย่างที่คุณสามารถทำเพื่อตัวเอง เพื่อช่วยให้คุณสามารถจัดการสภาวะของโรค และยังสามารถคงใช้ชีวิตด้วยตัวของคุณเองให้ได้มากที่สุด การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยสามารถสร้างความแตกต่างให้กับพลังงาน และความคล่องตัวในชีวิตของคุณ สิ่งเหล่านี้เรียกว่าการดูแลจัดการด้วยตนเอง

โดยคุณอาจลองทำตามคำแนะนำดังต่อไปนี้:

  • วางแผนเวลาของคุณ - บันทึกสิ่งที่คุณทำไปในแต่ละวันเพื่อให้คุณสามารถมองภาพของกิจกรรมที่ใช้พลังงานมาก และกิจกรรมที่คุณสามารถขอให้คนอื่นทำเพื่อคุณได้ วิธีนี้จะช่วยให้คุณเลือกทำกิจกรรมบางอย่างที่สำคัญสำหรับคุณมากที่สุด และวางแผนวันของคุณเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ได้ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังจะแสดงให้คุณเห็นว่ามีรูปแบบอาการของโรคเป็นอย่างไรหากอาการต่าง ๆ ปรากฏขึ้นในระหว่างวัน
  • พักผ่อนและผ่อนคลาย - เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการดูแลอาการอ่อนล้าเรื้อรัง คุณอาจต้องการการสนับสนุนและคำแนะนำต่าง ๆ เพื่อการผ่อนคลายที่ดีทั้งในแง่ของกิจกรรมทางร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ของคุณ
  • การสนับสนุนจากคนรอบข้าง - เปิดใจพูดตรง ๆ กับคนอื่นไว้ล่วงหน้า และขอความช่วยเหลือเมื่อคุณต้องการก่อนที่คุณจะหมดแรง คือแนวทางสำคัญในการจัดการสภาวะโรคของคุณ การพูดคุยถึงความรู้สึกของคุณเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการจัดการสภาวะทางสุขภาพในระยะยาวเนื่องจากผลกระทบของอาการดังกล่าวนั้นมีต่อชีวิตประจำวันของคุณไปได้ตลอด ในขณะที่คุณกำลังปรับตัวให้เข้ากับการวินิจฉัยโรค และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ของชีวิต คุณอาจต้องได้รับการสนับสนุนจากบุคคลภายนอก เช่น การให้คำปรึกษา หรือการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมซึ่งอาจเป็นประโยชน์ได้ พูดคุยกับแพทย์ประจำตัวของคุณได้เกี่ยวกับการสนับสนุนเรื่องจิตใจและอารมณ์หากจำเป็น

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/chronic-fatigue-syndrome#treatment


22 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Chronic fatigue syndrome (CFS/ME) - Treatment. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/chronic-fatigue-syndrome-cfs/treatment/)
Treatment of ME/CFS | Myalgic Encephalomyelitis/Chronic Fatigue Syndrome (ME/CFS). Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/me-cfs/treatment/index.html)
Chronic Fatigue Syndrome: Causes, Symptoms, and Treatment. Healthline. (https://www.healthline.com/health/chronic-fatigue-syndrome)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป