อาการไมเกรน

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
อาการไมเกรน

ไมเกรนเป็นอาการปวดหัวในระดับปานกลางถึงรุนแรง ที่มีการเกิดขึ้นซ้ำๆ โดยการเกิดขึ้นซ้ำนั้นมีความเกี่ยวข้องกันกับระบบทางเดินอาหารและระบบประสาท ในผู้ป่วยที่เป็นไมเกรนชนิดมีออรา (aura) จะมีการเตือนจากระบบประสาท เช่น การรับรู้กลิ่น การรับรู้ด้านการสัมผัส หรือการมองเห็น ก่อนการเกิดอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง สาเหตุการเกิดไม่เกรนนั้นไม่แน่ชัดในแต่ละบุคคล

ปัจจัยที่ทำให้เกิดไมเกรน

1. ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ความร้อน ความเย็น เสียง แสง อุณหภูมิ การเคลื่อนไหว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

2. ปัจจัยด้านพฤติกรรม เช่น ความเครียด พฤติกรรมการรับประทานอาหาร การรับประทานอาหารบางชนิด เช่น แอลกอฮอล์ คาเฟอีน ชอกโกแลต ของหมักดอง ผงชูรส อาหารที่มีไนเตรท (nitrate) อย่างเนื้อแปรรูป ซัคคารีน (saccharin) แอสพาเทม (aspartame) ในเครื่องดื่มอัดลม รวมไปถึงพฤติกรรมการนอน การสูบบุหรี่

3. ปัจจัยด้านฮอร์โมน เช่น การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในแต่ละช่วงวัย การเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ การมีประจำเดือน การตกไข่ การหมดประจำเดือน หรือการใช้ยาคุมกำเนิด

4. ปัจจัยด้านอารมณ์ เช่น ความเคียด ความวิตกกังวล อาการซึมเศร้า

การรักษาไมเกรนด้วยการใช้ยา

ยาสำหรับรักษาอาการไมเกรนนั้น แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลัก คือ ยากลุ่มบรรเทาอาการปวด (analgesic) และยากลุ่มต้านการอักเสบ NSAID ซึ่งยาสองกลุ่มนี้ใช้สำหรับบรรเทาอาการปวดไมเกรนระดับปานกลาง และยาอีกสองกลุ่มคือ ทริปแทน (triptan) และ เออโกทามีน (ergotamine) ยาสองกลุ่มหลังนี้ใช้สำหรับบรรเทาอาการปวดไมเกรนระดับรุนแรง

ยากลุ่มพาราเซตามอล

พาราเซตามอลมีกลไกในการยับยั้งอาการปวด คือ ยังยั้งเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์พรอสตาแกลนดิน (prostaglandin) ซึ่งเป็นสารที่มีบทบาทต่อการอักเสบ ขนาดรับประทานสำหรับบรรเทาอาการไมเกรนจะสูงกว่าอาการปวดศีรษะคือ ให้รับประทาน 600 ถึง 1000 มิลลิกรัม จากนั้นรับประทานซ้ำทุก 4 ถึง 6 ชั่วโมง แต่ห้ามรับประทานเกินวันละ 4000 มิลลิกรัม เนื่องจากยาเป็นพิษต่อตับ ยาพาราเซตามอลอยู่ใน category B สามารถผ่านรกได้ ยามีความปลอดภัยในการใช้ในผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์เมื่อใช้เป็นระยะเวลาสั้น ควรระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีการแพ้ยาพาราเซตามอล หรืออาจใช้ยาเม็ดผสมพาราเซตามอล 250 มิลลิกรัม แอสไพริน 250 มิลลิกรัม และ คาเฟอีน 65 มิลลิกรัม โดยรับประทานเริ่มต้นสองเม็ดและรับประทานซ้ำทุก 6 ชั่วโมง

ยากลุ่มต้านการอักเสบ NSAID

ยากลุ่ม NSAID มีกลไกยับยั้งเอนไซม์ไซโคลออกซิจิเนส (cyclooxygenase) โดยเอนไซม์นี้เป็นเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนกรดอะราคิโดนิค (arachidonic acid) เป็นพรอสตาแกลนดิน ที่เป็นสารสื่อกลางตอบสนองการอักเสบและความรู้สึกเจ็บปวด ยาที่นิยมใช้ ได้แก่ ibuprofen-nsaid' target='_blank'>ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) ขนาดยาที่ใช้สำหรับบรรเทาอาการไมเกรนอยู่ที่ 400 ถึง 600 มิลลิกรัมในการรับประทานครั้งแรก และรับประทานซ้ำใน 1 ถึง 2 ชั่วโมง นาพรอกเซน (naproxen) ขนาดยาอยู่ที่ 500 ถึง 750 มิลลิกรัมในการรับประทานครั้งแรก และรับประทานซ้ำอีก 250 มิลลิกรัมหากอาการยังไม่ดีขึ้น ขนาดยาสูงสุดคือ 1375 มิลลกรัมต่อวัน และไดโคลฟิแนก (diclofenac) ขนาดยาอยู่ที่ 50 ถึง 100 มิลลิกรัมในการรับประทานครั้งแรก และรับประทานซ้ำอีก 50 มิลลิกรัม ใน 8 ชั่วโมง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ผลข้างเคียงของยากลุ่ม NSAID คือ อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหารได้จึงควรรับประทานยาพร้อมกับหรือหลังอาหาร

ยากลุ่มทริปแทน

ยากลุ่มทริปแทน มีกลไกคือกระตุ้นตัวรับเซโรโทนิน (serotonin) ทำให้เกิดการหดตัวของหลอดเลือดในสมอง ลดการทำงานของระบบประสาทและการหลั่งเปปไทด์ ส่งผลช่วยลดการส่งสัญญาณสื่อประสาทความเจ็บปวด ยาที่นิยมใช้คือยาซูมาทริปแทน (sumatriptan) ขนาดยาอยู่ที่ 50 ถึง 100 มิลลิกรัม รับประทานซ้ำในอีก 2 ชั่วโมงหากอาการไมเกรนกลับมากำเริบ ไม่รับประทานยาเกิน 300 มิลลิกรัมต่อวัน

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นของการใช้ยากลุ่มทริปแทน คืออาการมึนงง การรับความรู้สึกผิดเพี้ยน (Paresthesia) เช่น รู้สึกชา เหน็บ คัน เหมือนมีของแหลมตำ หรือรู้สึกแสบร้อน ไม่ควรใช้ยากลุ่มทริปแทนในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด โรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ โรคที่เกี่ยวของกับหลอดเลือดสมอง ไม่ใช่ทริปแทนร่วมกับยากลุ่ม SSRI และ SNRI เนื่องจากจะทำให้เกิดกลุ่มอาการเซโรโทนิน (serotonin syndrome) ซึ่งอันตรายถึงชีวิต ไม่ใช้ยาภายใน 2 สัปดาห์ของการใช้ยากลุ่ม MAO-I และไม่ใช้ยาภายใน 24 ชั่วโมงหลังการใช้ยาบรรเทาอาการไมเกรนอีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มเออกอท

ยากลุ่มเออกอท

ยากลุ่มเออกอท ได้แก่ คาร์เฟอกอท เป็นยาผสมระหว่างเออโกทามีน ทาร์เทรท 1 มิลลิกรัม และคาเฟอีน 100 มิลลิกรัม ขนาดรับประทานคือ รับประทาน 2 เม็ดในการรับประทานครั้งแรก และรับประทานอีก 1.5 เม็ดหากอาการยังไม่ดีขึ้น โดยไม่รับประทานเกิน 6 เม็ดต่อวันและ 10 เม็ดต่อสัปดาห์

ผลข้างเคียงของการใช้ยาคือ คลื่นไส้ อาเจียน และผลข้างเคียงที่รุนแรงและเป็นอันตรายคือ การชาปลายมือปลายเท้า เนื่องจากยาทำให้หลอดเลือดส่วนปลายหดตัว อาจนำไปสู่การเกิดเนื้อตายได้จากการขาดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลาย (ergotism) จึงไม่ควรใช้ยามากกว่า 6 เม็ดต่อวัน และมากกว่า 10 เม็ดต่อสัปดาห์ หากเริ่มมีอาการชาปลายมือปลายเท้า ให้หยุดใช้ยาทันทีเพื่อป้องกันผลข้างเคียงนี้ ไม่ควรใช้ยากลุ่มนี้กับผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคหัวใจขาดเลือด โรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ โรคที่เกี่ยวของกับหลอดเลือดสมอง หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับหลอดเลือดส่วนปลาย ยาคาเฟอกอทเป็นยากลุ่ม category X ห้ามใช้ในผู้ป่วยตั้งครรภ์เนื่องจากอาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์

การบำบัดนอกเหนือจากการใช้ยา

เช่นเดียวกันกับการรักษาอาการปวดศีรษะ การใช้เทคนิคเพื่อลดอาการไมเกรนนอกเหนือจากการใช้ยา เช่น กระประคบเย็นหรือประคบด้วยน้ำแข็ง ก็สามารถช่วยลดการความไวของประสาทสัมผัสรับความเจ็บปวด ช่วยบรรเทาอาการปวดไมเกรนลงได้


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Migraine With Aura: Symptoms, Causes, and Treatment. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/migraine-with-aura-headache-4171966)
Retinal migraine: Causes, symptoms, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/314917)
Hemiplegic Migraine: Treatment, Symptoms, and Triggers. Healthline. (https://www.healthline.com/health/migraine/hemiplegic-migraine)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป