กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การรักษาแผลเป็นนูนด้วยการผ่าตัด

เผยแพร่ครั้งแรก 15 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การรักษาแผลเป็นนูนด้วยการผ่าตัด

เคยเป็นไหม ... หกล้ม มีดบาด เป็นสิว ผ่าคลอด ... รักษาแผลจนหายสนิทแล้ว แต่กลับยังเหลือรอยแผลเป็นฝากไว้ให้เราช้ำใจซะนี่! โดยเฉพาะแผลเป็นที่นูนออกมา เพราะนอกจากจะทำให้ผิวเราไม่เรียบ ไม่สวยงามแล้ว ยังอำพรางปกปิดไม่ได้ ยิ่งถ้าเป็นกับใบหน้า จะเมคอัพทับยังไงก็เอาไม่อยู่ หลายคนที่เผชิญปัญหานี้อยู่ คงกำลังมองหาวิธีรักษา โดยเฉพาะวิธีที่เห็นผลชัดเจนอย่างวิธีผ่าตัด แต่อย่าเพิ่งใจร้อน เรามาทำความรู้จักแผลเป็นนูนให้ดีกว่านี้ก่อนดีกว่า และมาดูกันว่าการผ่าตัดแผลเป็นนูนมีข้อดี ข้อเสีย ยังไง และการดูแลหลังผ่าตัด เราต้องทำอย่างไรบ้าง

ประเภทของแผลเป็นนูน

แผลเป็นนูนมีด้วยกัน 2 ประเภท ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

1. แผลเป็นนูนธรรมดา คือแผลเป็นที่นูนออกมาจากผิวปกติ แต่ไม่มีการขยายขอบเขตของแผล และสามารถยุบหายเองได้ตามธรรมชาติ แต่อาจต้องใช้เวลานานสักหน่อย

2. แผลเป็นนูนคีลอยด์ คือแผลเป็นนูนที่สามารถขยายขอบเขตให้ใหญ่ขึ้น และนูนขึ้นได้ ยิ่งเวลาผ่านไปแผลเป็นจะยิ่งใหญ่และมีสีเข้มขึ้น อีกทั้งอาจมีอาการคัน ระคายเคือง บวมแดง และอักเสบร่วมด้วย แผลเป็นคีลอยด์เกิดได้กับแผลทุกชนิด ทั้งแผลผ่าตัด แผลผ่าคลอด แผลจากสิว แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะมีแผลเป็นแบบคีลอยด์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุกรรมด้วย

การรักษาแผลเป็นนูน

ทำได้หลายวิธี เช่น ผ่าตัดศัลยกรรม ทำเลเซอร์ ใช้แผ่นแปะซิลิโคน ทายา ทาครีมหรือเจลลดรอยแผลเป็น และการฉีดยาเพื่อให้แผลเป็นยุบ แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีวิธีรักษาที่สามารถกำจัดรอยแผลเป็นได้ 100% และมีโอกาสที่แผลเป็นจะกลับมาเป็นใหม่ได้

การผ่าตัดแผลเป็นนูน

การผ่าตัด ดูจะเป็นวิธีรักษาแผลเป็นนูนที่ได้ผลอย่างชัดเจนที่สุด การผ่าตัดมักใช้รักษาแผลเป็นคีลอยด์เท่านั้น ส่วนแผลเป็นธรรมดาไม่มีความจำเป็นต้องผ่าตัด (เพราะยิ่งผ่าก็ยิ่งเกิดแผลเป็นใหม่เหมือนกัน) และต้องเป็นแผลคีลอยด์ที่เกิดขึ้นนานจนขยายตัวเต็มที่แล้ว การผ่าตัดทำได้โดยตัดแต่งแผลเป็นบางส่วนออกเพื่อลดขนาดและความนูนของแผล หรือจะใช้วิธีตัดผิวหนังส่วนอื่นๆ มาปิดทับก็ได้ เช่น ผิวหนังบริเวณต้นขา จากนั้นก็จะเย็บแผลใหม่ให้ดูเรียบขึ้น การผ่าตัดจะช่วยตกแต่งแผลให้ดูเรียบและเล็กลงได้อย่างรวดเร็ว ราคาค่าผ่าตัดก็ขึ้นอยู่กับขนาดและลักษณะของแผลเป็น โดยเฉลี่ยเริ่มต้นที่ 8,000 – 10,000 บาท

ข้อดีของการรักษาด้วยการผ่าตัด

  • เป็นวิธีที่ให้ผลรวดเร็วและเห็นได้ว่าแผลเป็นยุบลงอย่างชัดเจน หากเปรียบเทียบกับวิธีรักษาอื่นๆ เช่น การทายา การทาครีมลดแผลเป็น หรือการใช้แผ่นแปะเจลซิลิโคน ที่ให้ผลค่อนข้างช้า หรือบางครั้งแทบไม่ได้ผลเลย
  • สามารถรักษาแผลเป็นนูนที่มีขนาดใหญ่มากได้ หากเทียบกับการรักษาด้วยเลเซอร์ แผลเป็นขนาดใหญ่ต้องทำเลเซอร์หลายครั้ง ซึ่งต้องใช้ค่าใช้จ่ายมาก และไม่ได้ผลดีมากนัก

ข้อเสียของการผ่าตัดแผลเป็น

  • การผ่าตัดทำให้เกิดแผลเป็นใหม่ และมีโอกาสสูงเช่นกันที่จะกลายเป็นแผลคีลอยด์ขนาดใหญ่กว่าเดิม ดังนั้น จึงต้องใช้วิธีรักษาอื่นๆ ควบคู่ไปด้วยหลังผ่าตัด เช่น การฉีดยาสเตียรอยด์ การแปะแผ่นซิลิโคน หรือการทายาลดแผลเป็น
  • เป็นวิธีที่เจ็บตัว โดยเฉพาะหากเป็นแผลเป็นขนาดใหญ่มากๆ อาจต้องใช้เวลาพักฟื้นนาน และลำบากกว่าการรักษาด้วยวิธีอื่น
  • แผลอาจเกิดการติดเชื้อได้ หากไม่ดูแลอย่างดีหลังการผ่าตัด

การดูแลหลังการผ่าตัด

  • ระมัดระวังอย่าให้แผลผ่าตัดโดนน้ำจนกว่าจะตัดไหม ระหว่างนั้นให้ล้างแผลด้วยน้ำเกลือเป็นประจำ และหมั่นรักษาความสะอาด
  • หลีกเลี่ยงการเกา หรือถูบริเวณแผลผ่าตัด เพราะจะทำให้เกิดการระคายเคืองได้
  • เมื่อแผลผ่าตัดปิดสนิทแล้ว ให้นวดแผลบ่อยๆ และทายาลดแผลเป็นด้วย วิธีนี้จะช่วยป้องกันการเกิดแผลเป็นใหม่ได้

12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
เลเซอร์รอยแผลเป็นด้วย Picoway กับข้อควรรู้ต่างๆ, (https://hdmall.co.th/c/hdinsight-remove-scars-at-gangnam-clinic).
Keloid and Hypertrophic Scar Treatment & Management: Medical Care, Prevention, Standard Treatments. Medscape. (https://emedicine.medscape.com/article/1057599-treatment)
Management of Ear Keloids Using Surgical Excision Combined with Postoperative Steroid Injections. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6790263/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)