คู่มืออาการท้องเสีย (Diarrhea)

รู้จักอาการท้องเสีย ถ่ายถี่และเหลว ทั้งประเภท สาเหตุ การรักษา การป้องกัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดภาวะร่างกายขาดน้ำ ซึ่งอันตรายถึงชีวิต
เผยแพร่ครั้งแรก 27 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
คู่มืออาการท้องเสีย (Diarrhea)

ท้องเสียเป็นอาการถ่ายอุจจาระในความถี่ หรือปริมาณอุจจาระที่ถ่ายมีของเหลวมากกว่าปกติ มักเกิดแบบเฉียบพลันมากกว่าเรื้อรัง ซึ่งปกติแล้วลำไส้จะดูดซึมของเหลวเหล่านี้นำไปใช้ในการรักษาสมดุลร่างกายและขับส่วนเกินออกมาทางปัสสาวะ แต่เมื่อเกิดความผิดปกติทำให้น้ำปริมาณมากไม่ถูกดูดซึมและถูกขับออกมาทางอุจจาระ อันตรายที่สุดของอาการท้องเสียคือ ร่างกายสูญเสียน้ำ (dehydration) ในปริมาณมากจนทำให้การทำงานของอวัยวะอื่นในร่างกายผิดปกติไป สังเกตได้จากปากคอแห้ง กระหายน้ำ ผิวหนังแห้ง ซึ่งภาวะร่างกายขาดน้ำนี้อาจก่ออันตรายถึงชีวิตได้

ประเภทของอาการท้องเสีย

ท้องเสียสามารถแบ่งประเภทเบื้องต้นได้ 3 ประเภท ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ท้องเสียแบบเฉียบพลัน เป็นอาการท้องเสียที่เกิดขึ้นน้อยกว่าสองสัปดาห์ อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย ได้แก่ ปวดท้อง ปวดเมื่อกล้ามเนื้อ รู้สึกแน่นท้อง อาการท้องเสียแบบเฉียบพลันมักทุเลาลงใน 1 ถึง 3 วัน
  • ท้องเสียแบบเรื้อรัง เป็นอาการท้องเสียที่เกิดขึ้นนานกว่าสี่สัปดาห์
  • ท้องเสียจากการท่องเที่ยว เป็นอาการท้องเสียที่มักเกิดขึ้นกับผู้ที่เดินทางไปท่องเที่ยวในสถานที่ที่มีสุขอนามัย สภาพสังคม หรือสภาพอากาศที่ต่างจากประเทศที่อาศัยอยู่ มีอาการคลื่นไส้ ปวดเกร็งท้อง และอาจพบอาการอาเจียน เป็นไข้ ร่วมด้วย

สาเหตุของการเกิดท้องเสียเกิดได้จากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรียในระบบทางลำไส้ การใช้ยาโดยเฉพาะอย่างิ่งการใช้ยาปฏิชีวนะซึ่งส่งผลแบคทีเรียประจำถิ่น (normal flora) การรับประทานอาหารหรือน้ำที่มีการปนเปื้อนปรสิต หรือพิษของแบคทีเรีย ความเครียด หรือการรับประทานอาหาร

การรักษาอาการท้องเสียโดยการใช้ยา

อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า อาการที่อันตรายที่สุดของอาการท้องเสียคือภาวะขาดน้ำ ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับน้ำและแร่ธาตุชดเชย ยากลุ่มที่จำเป็นที่สุด คือ Oral Rehydration Salts หรือที่รู้จักในชื่อย่อ ORS ตัวยาประกอบด้วยโซเดียม (sodium) คลอไรด์ (chloride) โพแทสเซียม (potassium) และไบคาร์บอเนต (bicarbonate) ใช้สำหรับชดเชยน้ำและแร่ธาตุที่ร่างกายสูญเสียไปกับอุจจาระ หากมีอาการท้องเสียรุนแรงจนไม่สามารถรับประทานได้อาจต้องให้เกลือแร่โซเดียมคอลไรด์ชดเชยผ่านทางเส้นเลือดดำแทนการรับประทาน วิธีการใช้คือให้ผสมผงยากับน้ำต้มสุกที่เย็นแล้วหรือน้ำเย็นที่สะอาด ตามปริมาณที่กำหนดบนซอง ละลายผงยาและน้ำให้เข้ากัน ใช้ค่อยจิบแทนการดื่มน้ำ ไม่รับประทานหมดในครั้งเดียว หลังผสมแล้วสามารถเก็บไว้ได้ 24 ชั่วโมง เพราะอาจมีจุลินทรีย์เจริญได้

ยาที่ทำหน้าที่เป็นสารดูดซับ เช่น Kaolin-pectin มีคุณสมบัติในการดูดซับน้ำสามารถช่วยให้อุจจาระที่เหลวกลับมาข้นขึ้นได้ activated charcoal หรือผงถ่าน สามารถช่วยดูดซับสารพิษได้ แต่ไม่นำแนะให้ใช้ผงถ่านในท้องเสียที่เกิดจากการติดเชื้อ และไม่ใช้ผงถ่านในผู้ป่วยที่ลำไส้อุดตัน นอกจากนี้การรับประทานผงถ่านอาจดูดซับตัวยาที่รับประทานร่วมกันทำให้ยาออกฤทธิ์ได้ลดลงจนถึงไม่ออกฤทธิ์ได้ dioctahedral smectite มีฤทธิ์ในการดูดซับเช่นเดียวกัน ซึ่งตายาทั้งหมดควรให้ร่วมกันกับ ORS จึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด

ยากลุ่มหยุดถ่าย ได้แก่ loperamide มีกลไกทำให้การเคลื่อนไหวของลำไส้ช้าลง ซึ่งจะส่งผลให้ลดจำนวนการขับอุจจาระลง เพิ่มมวลของอุจจาระ และลดการสุญเสียน้ำและเกลือแร่ มักใช้กับอาการท้องเสียชนิดที่เกิดจากการท่องเที่ยว และท้องเสียแบบถ่ายเหลวมากเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ มีข้อแนะนำยังไม่ให้ใช้ loperamide ในผู้ป่วยท้องเสียธรรมดาเนื่องจากการขับอุจจาระถือเป็นกระบวนการขับสารพิษออกจากร่างกาย การห้ามไม่ให้ถ่ายอาจทำให้สารพิษยังตกค้างอยู่ในร่างกาย

ยากลุ่มต้านการหลั่ง ได้แก่ bismuth subsalicylate โดย salicylate มีกลไกต้านการหลั่ง และ bismuth มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย ผลข้างเคียงของการรับประทานยาต่อเนื่องคือ ลิ้นและอุจจาระอาจเปลี่ยนเป็นสีดำ อาจเกิดภาวะ salicylism คือได้ยินเสียงในหู คลื่นไส้ มึนศีรษะ มักมีข้อบ่งใช้ร่วมกับ loperamide ในการรักษาอาการท้องเสียชนิดที่เกิดจากการท่องเที่ยว

สำหรับยาปฏิชีวนะนั้นอาจไม่จำเป็นต้องได้รับเสมอไป ท้องเสียที่มีอาการอาเจียนเป็นอาการเด่น (ส่วนมากเป็นท้องเสียจากอาหารเป็นพิษ) ไม่จำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะ แต่ท้องเสียที่มีอาการท้องเสียเป็นอาการเด่นอาจต้องมีการพิจารณาใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อการรักษา ผู้ป่วยไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะมาใช้รักษาอาการท้องเสียด้วยตนเอง ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อรับคำแนะนำในการใช้ยาปฏิชีวนะสำหรับรักษาอาการท้องเสีย เนื่องจากการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสมสามารถนำไปสู่การดื้อยาได้

การบำบัดนอกเหนือจากการใช้ยา

ผลไม้และสมุนไพรที่มีฤทธิ์ช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย เช่น การรับประทานกล้วยน้ำว้าผลดิบสด ข้อควรระวังคืออาจเกิดอาการท้องอืดหลังรับประทาน หรือใช้ใบฝรั่งแก่ต้มดื่มแทนน้ำก็สามารถช่วยได้เช่นเดียวกัน

ปกติแล้วอาการท้องเสียสามารถหายได้เอง ซึ่งนอกจากการรักษาด้วยยาแล้ว ผู้ป่วยควรดูแลตนเองด้วยการรับประทานน้ำและเกลือแร่ให้เพียงพอเพื่อทดแทนส่วนที่ร่างกายสูญเสียไปจากการอุจจาระใน 1 วัน ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และรับประทานอาหารเหลว รสอ่อน อย่างเช่น โจ๊ก หรือข้าวต้ม เพื่อให้กระเพาะอาหารและลำไส้ย่อยและดูดซึมได้ง่ายยิ่งขึ้น ผู้ป่วยสามารถกลับมารับประทานอาหารตามปกติได้ภายใน 2 ถึง 3 วัน แนะนำให้พบแพทย์หากอาการท้องเสียไม่ทุเลาลงใน 2 วันหรือมีไข้สูงร่วมด้วย


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Diarrhea: Causes, treatment, and symptoms. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/158634)
Diarrhea - MedlinePlus (https://medlineplus.gov/diarrhea.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รู้จักกับ “มะตูม” สมุนไพรเพื่อสุขภาพ ดับกระหายคลายร้อน
รู้จักกับ “มะตูม” สมุนไพรเพื่อสุขภาพ ดับกระหายคลายร้อน

รู้หรือไม่ว่า มะตูมนอกจากจะเอามาทำเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพได้แล้ว ส่วนอื่นๆ ของมะตูมก็สามารถนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรบำรุงร่างกายได้อีกด้วย!

อ่านเพิ่ม