กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

“ตับ” “Total protein” และ “Albumin”

เผยแพร่ครั้งแรก 17 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 30 มี.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
“ตับ” “Total protein” และ “Albumin”

การตรวจสมรรถภาพของตับ Liver Function Test

กล่าวโดยทั่วไป

ตับเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในช่องท้อง โดยในร่างกายมนุษย์ขนาดปกติตับจะมีน้ำหนักประมาณ 1.5 กิโลกรัม เนื้อตับจะออกสีแดงปนน้ำตาลเข้ม ทั้งนี้ ตับจะตั้งอยู่ชิดติดกับกะบังลม และค่อนไปทางขวา
ตับมี หลอดเลือดสำคัญ ที่ใช้ทำหน้าที่ในการผ่านเข้า-ออก 3 ช่องทาง คือ

  1. หลอดเลือดดำจากลำไส้ (เล็ก,ใหญ่) นำกลูโคสและสารอาหารอื่นที่ผ่านาการย่อยและดูดซึมมาส่งให้ตับ เพื่อคัดแยกประเภทดำเนินกรรมวิธีตามหน้าที่ของตับ (ที่จะกล่าวภายหลัง)
    หลอดเลือดดำนี้ เรียกว่า “hepatic portal vein”
  2. หลอดเลือดแดงจากหัวใจ นำเลือดแดงที่อุดมด้วยออกซิเจนมาส่งเลี้ยงเซลล์ตับ ขณะเดียวกันก็รับเอาคาร์บอนไดออกไซด์ อันเป็นของเสีย จากตับส่งออกทางหลอดเลือดดำ (ในข้อ 3.) กลับไปหาหัวใจและปอด
  3. หลอดเลือดดำจากตับ เข้าสู่หลอดเลือดดำหัวใจ ทั้งนี้ตับได้ฝากส่งคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำตาลกลูโคส และสารอาหาร รวมทั้งตับอ่อนก็ได้ช่วยส่งอินซูลิน (เป็นผู้นำพากลูโคส) ให้หัวใจส่งไปรับออกซิเจนก่อนแล้วจึงจะแจกจ่ายไปทั่วทุกเซลล์ในร่างกาย
  4. หลอดเลือดดำของตับเส้นนี้ มีชื่อเรียกว่า “hepatic vein”

หน้าที่ของตับ

โดยพิจารณาเพียงการไหลเข้า-ออก ของหลอดเลือด 3 เส้น ดังกล่าวก็พอจะอนุมานได้ว่า ตับนั้นเสมือนเป็น “แม่บ้านใหญ่” หรือ “โรงงานศูนย์กลาง” ของร่างกายกล่าวคือ ทั้งรับวัตถุดิบ ทั้งผลิด ทั้งเก็บรักษา ทั้งตรวจสอบคุณภาพ ทั้งแจกจ่าย ทั้งเก็บขยะและทั้งทิ้งขยะของเสีย
    ในการนี้ ใคร่ขอสรุปให้พอเห็นภาพกว้างๆ ในการทำหน้าที่ของตับ อย่างง่ายๆ ดังนี้ 
    1. เป็นหน่วยรักษากฎเกณฑ์ เป็นหน่วยสังเคราะห์ และเป็นหน่วยส่งออก ผลิตภัณฑ์ที่ตับสร้างขึ้น และควบคุมการใช้ ได้แก่
    ผลผลิตที่ตับสร้างขึ้น และควบคุมการใช้ ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • น้ำตาลกลูโคส
  • โปรตีน เพื่อนำไปใช้สังเคราะห์ทดแทนอวัยวะที่สึกหรอทั่วร่างกาย รวมทั้งโปรตีนที่จำเป็นต่อการใช้งานอื่นๆ อีกมากมาย เช่น สารทำให้เลือดแข็งตัว (coagulation) อัลบูมิน โกลบูลิน ฯลฯ
  • น้ำดี เพื่อใช้ย่อยอาหารไขมัน ขณะเดียวกันก็ใช้ ท่อน้ำดีเป็นช่องทางทิ้งของเสีย หรือของมีพิษที่ตับกรองเก็บไว้ ให้พ้นออกไปกับกากอาหารทางลำไส้
  • สารอาหารประเภทไขมัน (lipids) เช่น คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ไลโบโปรตีน ฯลฯ

    2. เป็นหน่วยคลังเก็บรักษา

  • เก็บของมีพิษ เช่น ยาเคมีรักษาโรค โลหะหนัก ทองแดง รวบรวม พักรอไว้ก่อนที่จะทิ้งออกไปนอกร่างกาย

    3. เป็นหน่วยรักษาความสะอาด ในการกำจัดขยะ และของมีพิษ หรือทำของมีพิษให้หมดพิษ ได้แก่

  • แอมโมเนีย ซึ่งนับเป็นขยะที่เกิดจากการย่อยสลายอาหารโปรตีน ทั้งนี้ ตับจะเปลี่ยนแปลงแอมโมเนีย (ammonia) ให้เป็นยูเรีย (urea) ส่งผ่านไตให้เป็นน้ำปัสสาวะ (urine) ออกทิ้งไป
  • สารบิลิรูบิน เป็นขยะที่เกิดจากการสิ้นอายุขัยของเม็ดเลือดแดง (ซึ่งแต่ละเม็ดเลือดแดงจะมีอายุเพียงประมาณ 120 วัน) โดยม้ามจะเป็นผู้ดำเนินการกวาดต้อนและทำลายเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุแล้วเปลี่ยนให้เป็นสารสีเหลืองไปเกาะกลับอัลบูมิน (albumin) ลอยไปตามกระแสเลือดเพื่อให้ตับจัดการเก็บเอามาย่อยสลายเป็นสารบิลิรูบิน (bilirubin) แล้วฝากส่งไปกับน้ำดี (bile) ออกทิ้งผ่านลำไส้ออกไปนอกร่างกายพร้อมกากอาหาร
  • ฮอร์โมน ที่อวัยวะต่างๆ ผลิตขึ้นมาใช้ในหน้าที่ต่างๆกันเมื่อข้อมูลเหล่านั้นหมดอายุ หรือมากเกินความจำเป็น ตับก็จะจัดการเก็บมาทำลาย
  • ยาที่เป็นสิ่งแปลกปลอมที่ตับไม่เคยรู้จักเพราะเป็นสารเคมีที่หลุดเข้าสู่กระแสเลือดในการนี้ตับจะพยายามเก็บไว้ในฐานะของสารพิษเช่นเดียวกับสารพิษอื่นหาถ้าปล่อยทิ้งต่อไปด้วยเช่นกัน            |
  • แอลกอฮอล์จากเครื่องดื่มต่างๆ ก็มีฐานะเป็นสารพิษ เหมือนยา เช่นเดียวกันแต่ก็มีขอบเขตของพิษมากกว่ายา ตรงที่มีปริมาณมาสู่ตัดมักจะมากล้นเกิน (เพราะเจ้าของร่างกายดื่มโดยไม่เคยควบคุมปริมาณ) เซลล์ตับรับมือสารพิษไม่ไหวจึงอาจบาดเจ็บ (ในรูปของตับอักเสบ) หรือเซลล์ตับตาย (ในรูปของตับแข็ง) แต่ถึงอย่างไรแต่ก็พยายามทำหน้าที่ขับทิ้งออกไปทางไปปนกับน้ำปัสสาวะ 
    สรุปแล้วทั้งยาและแอลกอฮอล์อาจทำลายตับได้หากใช้อย่างไม่รู้เท่าทันและไม่ระมัดระวัง      
  • สารพิษ (toxin) หมายถึง สารเคมีโดยตรง เช่น ยาฆ่าแมลง เห็ดมีพิษ ปลาปักเป้า หรืออาหารบูดเสีย เหล่านี้ ตับก็เป็นอวัยวะที่ต้องรับผิดชอบจัดการในโอกาสแรก

        โดยเหตุนี้หากเซลล์ตับต้องถูกทำลายเพราะสารพิษซึ่งมักเป็นผลร้ายแรงตามมาที่อาจทำให้เกิดการเสียชีวิต 

Total protein 

วัตถุประสงค์

เพื่อจะทราบค่าปริมาณของโปรตีนทั้งสิ้นในกระแสเลือดว่าอยู่ในระดับปกติหรือไม่ เนื่องจากปริมาณทั้งสิ้นของโปรตีนในกระแสเลือดผลิตขึ้นมาโดยตับจึงอาจใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงสภาวะการทำงานของตับหรือโรคเกี่ยวกับตับและโรคอื่นๆได้ด้วย เช่น โรคเกี่ยวกับไต โรคมะเร็งเม็ดเลือด หรือโรคขาดสารอาหาร ฯลฯ
คำอธิบายอย่างสรุป

  1. Total protein หรือปริมาณโปรตีนทั้งสิ้นในกระแสเลือดตามปกติจะเป็นค่าผลรวมของ 1) prealbumin 2) albumin และ 3) globulin
    การพิจารณาค่า albumin และ globulin ซึ่งเป็นค่าแสดงผลเลือดในลำดับถัดไปจะได้กล่าวถึงในภายหลัง
  2. หลอดเลือด โดยกระแสเลือด (น้ำเลือด) นับเป็นเส้นทางลำเลียงโปรตีนให้ร่างกายได้นำไปใช้ในกิจกรรมเพื่อผลิตหรือทดแทนต่ออวัยวะองค์ประกอบสำคัญของร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อ เอนไซม์ ฮอร์โมนโปรตีนขนส่ง (lipoprotein) เม็ดโลหิตแดง (hemoglobin) รวมทั้งมีบทบาทช่วย “ฉาบ” ผนังในด้านในของหลอดเลือด มีให้สูญเสียความดันภายใน (osmotic pressure) อันอาจเกิดจากการรั่วของเหลวจากหลอดเลือด(extravasation of fluid)

ดังนั้น ปริมาณโปรตีนทั้งสิ้นในกระแสเลือด จึงควรมีจำนวนให้เพียงพอต่อการใช้พอดีพอดีในกรณีน้อยเกินไปหรือมากเกินไปย่อมแสดงถึงสิ่งที่บอกเหตุในความผิดปกติที่เกิดขึ้นในร่างกาย

ค่าปกติของ Total Protein

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

    1. ให้ยึดถือตามข้าที่ระบุไว้ในใบรายงานแสดงผลเลือด (ถ้ามี) 
    2. ค่าปกติทั่วไป
ผู้ใหญ่    Total protein    :    6.4 - 8.3 gm/dL
เด็ก        Total protein    :    6.2 - 8  gm/dL

ค่าผิดปกติ

1. ในทางน้อย อาจแสดงผลว่า

  • อาจขาดสารอาหาร
  • อาจเกิดโรคในช่องทางเดินอาหาร
  • อาจเกิดโรคเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของเลือด (blood dyscrasias) เช่น แสดงผลโดยอาจมีเลือดกำเดาไหลโดยไม่มี สาเหตุ
  • อาจจะโรคเบาหวานที่ไม่รู้ตัวหรือควบคุมไม่ดี
  • อาจเกิดความผิดปกติในระบบดูดซึมสารอาหาร
  • อาจแสดงว่า ตับทำงานผิดปกติหรือมีโรคตับ
  • อาจเกิดพิษจากการตั้งครรภ์
  • อาจเกิดโรคไตเสื่อม (nephrosis) ทำให้กรวยไตไม่กรองโปรตีนกลับคืนตามที่ควรกระทำแต่กลับปล่อยทิ้งไปกับน้ำปัสสาวะ
  • อาจเกิดการเสียเลือด (hemorrhage) เช่น ริดสีดวงทวาร 

2. ในทางมาก อาจแสดงผลว่า

  • อาจเกิดสภาวะขาดน้ำ (dehydration)
  • อาจเกิดการเสียน้ำจากการอาเจียน อาการท้องเดิน ฯลฯ
  • อาจเกิดสภาวะความเป็นกรดจากอาการโรคเบาหวาน (diabetic acidosis)
  • อาจจะโรคมะเร็งไขกระดูก (multiple myeloma)

Albumin

คำแนะนำ ต้องงดอาหารก่อนเจาะเลือดอย่างน้อย 8 ชั่วโมง

วัตถุประสงค์

เพื่อจะทราบค่าโปรตีนในกระแสเลือดชนิด “อัลบูมิน” ซึ่งชาวบ้านมักเรียกว่าไข่ขาว (ในกรณีปนออกมากับน้ำปัสสาวะ) ว่าอยู่ในระดับปกติหรือไม่ ซึ่งจะมีผลชี้ไปถึงสภาวะการทำงานของตับและไตคำอธิบายอย่างสรุป

  1. albumin มาจากคำว่า albus ในภาษาละติน ซึ่งแปลว่าสีขาวซึ่งเป็นโปรตีนสีขาวหากที่ลอยอยู่ในพลาสมา
    อัลบูมิน คือโปรตีนส่วนใหญ่ในกระแสเลือด ซึ่งอาจนะว่าเป็นสัดส่วนประมาณ 60 เปอร์เซนต์ ของ Total protein ที่ผลิตจากตับ
  2. อัลบูมิน ผลิตขึ้นมาโดยตับ เพื่อสร้างความเข้มข้นขึ้นในหลอดเลือดจะได้เกิดความดันออสโมติค(osmotic pressure) ป้องกันสารอาหารมีให้รั่วซึมออกมาภายนอกหลอดเลือด นอกจากนี้อัลบูมินยังมีบทบาทที่สำคัญ ได้แก่ ทำหน้าที่เป็นพาหนะส่งให้ฮอร์โมน เอนไซม์ หรือแม้แต่ยารักษาโรค ได้อาศัย “บรรทุก”เดินทางไปสู่จุดหมายปลายทาง
  3. โปรตีนที่สำคัญของ Total protein อีกตัวหนึ่งคือ globulin นั้นก็ผลิตขึ้นมาโดยตับ นับเป็นโปรตีนส่วนน้อยจำนวนหนึ่งนั้นล่องลอยอยู่ในพลาสมาหรือในกระแสเลือดเช่นเดียวกับอัลบูมิน
    globulin มีบทบาทหลายหน้าที่ จึงต้องแยกประเภทด้วยการใส่น้ำอักษรกรีกนำหน้า คือ 1) alpha globulin 2) beta globulin 3) gamma globulin 

เฉพาะ gamma globulin นั้นมีบทบาททางด้านภูมิคุ้มกันโรค (immune) ทำให้โปรตีนตัวนี้ได้ถูกตั้งชื่อให้ใหม่เป็น “immunoglobin”
    4. โดยธรรมดา ร่างกายมักจะพยายามรักษาระดับค่า Total protein ไว้มีให้ตกต่ำลงแม้ในบางกรณีที่albumin ในเลือดจะมีค่าลดต่ำลง (เช่นอาจเกิดโรคตับโดยไม่รู้ตัว) แต่ globulin ส่วนใหญ่ที่ผลิตโดยระบบผนังเซลล์ของเนื้อเยื่อ (reticuloendothelial system) ก็พอจะพยายามเพิ่มระดับขึ้นมาชดเชยเพื่อรักษาค่าผลรวมโปรตีนในเลือด (Total protein)ให้ คงอยู่ในเกณฑ์ปกติ
    โดยเหตุนี้ในทางการแพทย์ท่านจึงจะต้องตรวจสอบด้วยอัตราส่วน “albumin : globulin” หรือ “A/G” โดยถือว่า
    ค่าปกติของ   

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตับวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 65%

ตรวจตับ วันนี้ เปรียบเทียบราคา / ประหยัดกว่า / ผ่อน 0% ได้ / แอดมินพร้อมให้บริการ กดที่นี่

  นั้นต้อง > 1
    หากน้อยกว่า 1 เมื่อใดแสดงว่ามีโรคสำคัญเกิดขึ้น

ค่าปกติของ albumin และ globulin

 

  1. ให้ยึดถือตามข้าที่ระบุไว้ในใบรายงานแสดงผลเลือด (ถ้ามี) 
  2. ค่าปกติทั่วไป

            Albumin    :    3.5 – 5 gm/dL
            Globulin    :    2.3 – 3.4 gm/dL

 ค่า Albumin ผิดปกติในทางน้อย อาจแสดงผลว่า

    1. อาจเกิดโรคเกี่ยวกับตับ (hepatic disease) ทำให้ผลิต Albumin ได้น้อยโรคสำคัญที่ควรทราบ เช่น        - โรคตับอักเสบ (hepatic) เช่น อาจถูกโจมตีจากเชื้อไวรัส หรือกินยารักษาโรคใดโรคหนึ่งต่อเนื่องมาช้านาน

  • โรคตับแข็ง (cirrhosis) เช่น อ่านดื่มสุราจัดมายาวนาน
  • โรคเซลล์ตับตายเฉพาะส่วน (hepatocellular necrosis) เช่น อาจกินสารเคมีที่เป็นพิษ
  • โรคมะเร็งตับระยะแพร่กระจาย (extensive metastatic tumor)

    2. อาจขาดสารอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดโปรตีน ทำให้ผลิต albumin ไม่ได้
    3. อาจเกิดโรคไต ทำให้ปล่อยทิ้งโปรตีนไปกับปัสสาวะ ไม่สามารถกรองโปรตีนกลับคืนมาสู่ระบบของร่างกาย ชาวบ้านที่สังเกตเห็นจะเรียกว่า ปัสสาวะมีไข่ขาว
    4. อาจเกิดการรั่วซึมที่ผนังเส้นเลือดแดงฝอย (increase capillary permeability) 
    5. Overhydration คือ การดื่มน้ำมาเกินไป อาจทำให้ albumin ในเลือดเจือจางลง

ค่า albumin ผิดปกติในทางมาก อาจแสดงผลว่า

  1. อาจเกิดโรคมะเร็งไขกระดูก (multiple myeloma)
  2. อาจเกิดสภาวะการขาดน้ำ (dehydration)

ค่า globulin ที่ผิดปกติ น้อย หรือมาก ไม่ได้กล่าวถึงไว้ในที่นี้ เนื่องจาก

  1. หัวข้อนี้เป็นเรื่องของ albumin เท่านั้น
  2. globulin ค่ารมเพียงตัวเลขโดดๆ ที่สูง/ต่ำ อาจแสดงความหมายไม่ชัดเจนอะไรมากรัก ในการพิจารณาจำเป็นต้องทราบลึกลงไปถึงค่า alpha, beta และ gamma ของ globulin ทุกตัว

หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุนผู้แต่ง (พลเอกประสาร เปรมะสกุล) ได้โดยการซื้อหนังสือ (คู่มือแปลผลการตรวจเลือด)


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ตรวจไวรัสตับอักเสบบี ตรวจยังไง เตรียมตัวอย่างไร? อ่านที่นี่, (https://hdmall.co.th/c/hepatitis-b-test).
ตรวจค่าตับ alt และ ast คืออะไร? ตรวจยังไง?, (https://hdmall.co.th/c/liver-function-program).
Total protein test. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/total-protein-test/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป