Top 9 อาหาร Fast Food ที่ทำลายสุขภาพ ...แต่เราก็ยังกิน

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
Top 9 อาหาร Fast Food ที่ทำลายสุขภาพ ...แต่เราก็ยังกิน

อาหารถือเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อสุขภาพของเรา การเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีคุณภาพจึงสำคัญไม่แพ้การออกกำลังกาย อาหาร Fast Food ที่เราชอบรับประทานกันเป็นประจำ เป็นเมนูโปรดของใครๆหลายคน ล้วนแล้วแต่เป็นอาหารที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งนั้น อาหารเหล่านี้บางชนิดแม้ว่าภายนอกจะดูดี แต่จริงๆแล้วกลับประกอบขึ้นด้วยวัตถุดิบที่คุณภาพค่อยข้างมาตรฐานต่ำ และถูกคัดทิ้งเสียด้วยซ้ำ

คุกกี้สอดไส้ครีม

เป็นขนมที่ในปัจจุบันมีมากมายหลายยี่ห้อให้เราเลือก แต่ขนมชนิดนี้ประกอบด้วยแป้งและน้ำตาลเท่านั้น นอกจากนั้นยังมีปริมาณน้ำตาลที่สูงมากอีกด้วย การรับประทานเพียง 1-2 ชิ้น ให้พลังงานพอๆกับขนมปังหนึ่งแผ่นเลยที่เดียว จึงเป็นขนมติดปากที่ถือว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างยิ่ง โดยเฉพาะคนที่กำลังคุมน้ำหนัก ใครเผลอรับประทานเข้าไปสักห่อ ต้องออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญกันพอสมควรเลยที่เดียว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

นักเก็ตไก่

ด้วยความนุ่มและรสชาติที่ถูกปากใครหลายๆคน จึงทำให้เรามองข้ามไปเลยว่าเนื้อไก่ที่นำมาทำนักเก็ต คือเนื้อไก่ที่ตกเกรด ไม่สามารถขายเป็นชิ้นส่วนต่างๆได้ จึงนามาบดรวมกันขาย และมักจะนำมาทำเป็นนักเก็ตเสียส่วนใหญ่

แฮมเบอร์เกอร์

เป็นอีกหนึ่งเมนูที่ต้องเสี่ยงกับเนื้อสัตว์บดที่อาจมาจากเนื้อสัตว์ตกเกรด เป็นอาหารอีกประเภทหนึ่งที่ขึ้นชื่อเรื่องการทำให้ให้อ้วน ทั้งนี้อาจรวมไปถึงเนื้อบด หรือหมูบดที่ขายเป็นชิ้นๆอีกด้วย มีการศึกษาพบว่าผู้หญิงที่ทานแฮมเบอร์เกอร์ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ มีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานมากกว่าผู้ที่ไม่รับประทาน

เฟรนซ์ฟรายด์

แม้ว่ามันฝรั่งจะเป็นพืชที่อุดมไปด้วยคุณประโยชน์ แต่เมนูแปรรูปชนิดนี้ กลับส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่าผลดี เฟรนซ์ฟรายด์ถือเป็นอาหารทานเล่นที่มีแคลอรีสูงมาก อาจจะด้วยน้ำมันที่สะสมอยู่ภายในตัวมันฝรั่ง และยังมีเกลือที่โรยช่วยทำลายสุขภาพของเราไปด้วยในตัว จึงถือเป็นเมนูโปรดที่แสนอันตรายอีกอย่างหนึ่งเลยที่เดียว

ซีเรียลผสมน้ำตาล

ซีเรียลเป็นอาหารเช้าที่รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะสำหรับครอบครัวที่ไม่มีเวลาในการเตรียมอาหารเช้า แต่ซีเรียลบางยี่ห้อให้ใยอาหารที่ต่ำ มีน้ำตาลสูง เพื่อให้รสชาติถูกปากเด็ก หากจำเป็นต้องทานจริงควรเลือกชนิดที่ใยอาหารสูง และมีปริมาณน้ำตาลที่ต่ำ

โดนัท

แม้จะไม่สารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพโดยตรง แต่ก็เป็นอาหารที่ให้พลังงานสูงมาก และพลังงานส่วนใหญ่มาจากคาร์โบไฮเดรต (ชิ้นละเกือบ 300 แคลอรี) โดนัทจึงเป็นอาหารอีกชนิดหนึ่งที่กระตุ้นความอ้วนได้เป็นอย่างดี

มาการีน

มาการีนจะอุดมไปด้วยไขมันทรานซ์ ซึ่งเป็นไขมันชนิดที่แย่ที่สุดในบรรดาไขมัน และมีส่วนประกอบของสารเคมีอื่นที่ใช้ในการผลิตอีกมาก ทั้งนี้รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ที่อาจมีส่วนประกอบของมาการินอื่นๆ เช่นข้าวโพดคั่วไมโครเวฟที่กำลังนิยมทานกันในปัจจุบัน

เครป

เครปเป็นอีกเมนูที่ขึ้นชื่อเรื่องความอร่อย มีความหลากหลาย แต่ร้านเครปโดยเฉพาะที่ขายกันในราคาถูกๆ มักจะใช้วัตถุดิบที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่นแยมที่ทำมากจากน้ำตาลและสารแต่งรส เป็นต้น รวมถึงวัตถุดิบเหล่านั้นไม่รู้เลยว่าเก็บมานานแค่ไหนแล้ว จึงเป็นอีกหนึ่งเมนูอันตราย ที่หาทานได้ง่ายทั่วไป

หมูกรอบ

หมูกรอบเป็นอาหารอีกชนิดหนึ่งที่อร่อย แต่แฝงด้วยอันตรายมากมายจากไขมัน ในปัจจุบันถึงกับมีบทความออกมาเตือนเกี่ยวกับอาหารชนิดนี้เลยที่เดียว แต่ก็ไม่ได้ทำให้เมนูหมูกรอบขายได้น้อยลงแต่อย่างใด

อันตรายยังมีอาหารอีกหลายเมนูที่ไม่ได้กล่าวถึง เช่น ขนมขบเคี้ยว ฮอทดอก หรือเเม้แต่ไอสครีม ... อาหารที่กล่าวมาข้างต้นแม้ไม่ได้ส่งผลอันตรายมากนัก แต่การรับประทานเป็นประจำก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพของเรา แต่ก็ใช่ว่าจะไม่สามารถรับประทานได้เลย เราสามารถรับประทานได้ นานๆครั้งและในปริมาณที่ไม่มากจนเกินไป ไม่ใช่ทานเป็นประจำ เพียงแค่นี้สุขภาพของเราก็ดีขึ้นอย่างแน่นอน


35 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The Hidden Dangers of Fast and Processed Food. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6146358/)
Fast-Food Alternatives, Fast-Food Nutrition. WebMD. (https://www.webmd.com/parenting/features/fast-food-alternatives)
13 Effects of Fast Food on the Body. Healthline. (https://www.healthline.com/health/fast-food-effects-on-body)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป