ทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis) เจ็บคออย่างแรง ทำอย่างไรถึงจะหาย?

เผยแพร่ครั้งแรก 22 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis) เจ็บคออย่างแรง ทำอย่างไรถึงจะหาย?

ต่อมทอนซิล (Tonsil) เป็นต่อมเล็กๆ 2 ต่อม ที่อยู่ตำแหน่งตรงด้านหลังของลำคอ มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน โดยจะคอยป้องกันเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่ร่างกายผ่านทางปากและจมูก แต่ก็มีบ่อยๆ ที่ต่อมทอนซิลเกิดการอักเสบ (Tonsillitis) จนสร้างความเจ็บปวดทรมานให้เรา อาการของทอนซิลอักเสบที่เด่นชัด ได้แก่

  • เจ็บคออย่างรุนแรงและยาวนานอย่างน้อย 1-2 วัน
  • กลืนลำบาก เจ็บคอมากเวลากลืน ทำให้เบื่ออาหารด้วยในบางครั้ง
  • เมื่ออ้าปากดูจะเห็นต่อมทอนซิลบวมแดง และมีจุดสีขาวหรือเหลืองปกคลุมอยู่
  • เสียงแหบ และมีกลิ่นปาก
  • ปวดศีรษะ และมีไข้
  • อาการปวดอาจลามมาถึงหูและคอ
  • อาจมีต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณคอได้

สาเหตุของทอนซิลอักเสบ

สาเหตุส่วนใหญ่นั้นเกิดจากการติดเชื้อที่ต่อมทอนซิล เนื่องจากต่อมทอนซิลนั้นเป็นปราการด่านแรกที่ป้องกันเชื้อโรคต่างๆ เข้าสู่ร่างกาย ทำให้ต่อมทอนซิลมีโอกาสจะติดเชื้อได้เองเช่นกัน โดยเชื้อโรคที่มักเป็นสาเหตุ ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

1. เชื้อไวรัส ซึ่งพบได้ค่อนข้างบ่อย ประมาณ 70-80% ของอาการทอนซิลอักเสบทั้งหมด และเกิดได้จากไวรัสหลายสายพันธุ์ เช่น

  • Influenza virus ซึ่งเป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคไข้หวัดใหญ่
  • Rhinovirus ซึ่งก่อให้เกิดโรคหวัดทั่วๆ ไป
  • Rubeola virus ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัด
  • Enterovirus ซึ่งเป็นไวรัสต้นเหตุของโรคมือเท้าปาก

2. เชื้อแบคทีเรีย พบได้น้อยกว่าเชื้อไวรัส โดยเชื้อที่มักเป็นสาเหตุ ได้แก่

  • Streptococcus Gr.A ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคคออักเสบ

การรักษาทอนซิลอักเสบ

โดยทั่วไปอาการของทอนซิลอักเสบจะหายได้เองภายในประมาณ 1 สัปดาห์ โดยผู้ป่วยต้องมีการดูแลตนเองที่เหมาะสม ซึ่งได้แก่

  • ดื่มน้ำสะอาด หรือน้ำอุ่นมากๆ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 8 ชั่วโมงต่อวัน
  • ทานอาหารอ่อนที่กลืนง่าย เช่น โจ๊ก ซุป และหลีกเลี่ยงอาหารรสจัดที่ทำให้ระคายคอ
  • กลั้วคอด้วยน้ำเกลือเพื่อช่วยกำจัดเชื้อโรค
  • หากมีไข้สูง ให้หลีกเลี่ยงการอาบน้ำ แต่ให้ใช้วิธีเช็ดตัวแทน
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และการสัมผัสฝุ่นควัน ซึ่งจะทำให้ระคายคอได้

นอกจากนี้ อาจต้องใช้ยารักษาร่วมด้วย เช่น

  • หากปวดศีรษะและมีไข้ อาจทานยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้
  • หากเป็นทอนซิลอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย และมีอาการต่อมน้ำเหลืองโต อาจต้องทานยาปฏิชีวนะ เช่น Penicillin เพื่อฆ่าเชื้อด้วย โดยต้องทานให้ครบตามจำนวนที่แพทย์แนะนำ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อดื้อยาและเกิดการติดเชื้อซ้ำที่รุนแรงขึ้น

ในกรณีที่เกิดต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง และรักษาด้วยยาไม่หาย เช่น มีอาการทอนซิลอักเสบนานหลายเดือน และเกิดหลายครั้งใน 1 ปี อาจต้องทำการผ่าตัดต่อมทอนซิลเพื่อรักษา รวมถึงในกรณีที่มีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ที่รุนแรง เช่น หายใจลำบาก หยุดหายใจขณะหลับ หรือกลืนอาหารไม่ได้ การผ่าตัดก็อาจเป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน

การป้องกันไม่ให้ทอนซิลอักเสบ

ทอนซิลอักเสบสามารถป้องกันได้ โดยการหลีกเลี่ยงการนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายทางปากและจมูก เช่น การล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนทานอาหาร ไม่ใช้ช้อนส้อม และแก้วน้ำร่วมกับผู้ที่ป่วยเป็นไข้หวัดหรือเจ็บคอ รวมถึงรักษาสุขอนามัยของร่างกาย ที่อยู่อาศัย และอาหารการกิน ให้สะอาดและปลอดภัยอยู่เสมอ


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Tonsillitis Symptoms & When You Should See a Doctor. WebMD. (https://www.webmd.com/oral-health/understanding-tonsillitis-symptoms)
Tonsillitis - Swollen Tonsils - Symptoms. American Academy of Family Physicians. (https://familydoctor.org/condition/tonsillitis/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)