กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

5-HTP / 5-Hydroxytryptophan (5-เอชทีพี)

เผยแพร่ครั้งแรก 25 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 21 ก.พ. 2019 เวลาอ่านประมาณ 7 นาที

ข้อมูลภาพรวมของ 5-HTP

5-HTP (5-Hydroxytryptophan) คือสารเคมีที่เป็นผลพลอยได้จากโปรตีนหน่วยโครงสร้าง (building block) ของ L-tryptophan  สารเคมีชนิดนี้ยังผลิตขึ้นมาเชิงพาณิชย์จากเมล็ดพืชสายพันธ์แอฟริกาที่ชื่อว่า Griffonia simplicifolia 5-HTP ที่ถูกใช้ในการรักษาภาวะการนอนผิดปรกติต่าง ๆ เช่นภาวะนอนไม่หลับ (Insomnia), ภาวะซึมเศร้า (Depression), ภาวะวิตกกังวล (Anxiety), ปวดไมเกรน (Migraine), และภาวะปวดศีรษะจากความเครียด (Tension-type headache), ไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia), โรคอ้วน (Obesity), อาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual Syndrome (PMS), กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual dysphoric disorder (PMDD)), โรคสมาธิสั้น (Attention deficit-hyperactivity disorder หรือ ADHD), และโรคพากินสัน (Parkinson's disease)

5-HTP ออกฤทธิ์อย่างไร?

5-HTP ออกฤทธิ์ภายในสมองและระบบประสาทส่วนกลางโดยจะเพิ่มกระบวนการผลิตสารเคมีเซโรโทนิน (serotonin) ที่ส่งผลต่อการนอนหลับ, ความอยากอาหาร, อุณหภูมิ, พฤติกรรมทางเพศ, และความเจ็บปวด ด้วยประโยชน์นี้เองที่ 5-HTP ถูกใช้กับโรคหลายโรคที่เชื่อกันว่าเซโรโทนินเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนั้น ๆ ขึ้นเช่นภาวะซึมเศร้า, นอนไม่หลับ, โรคอ้วน,อาการปวดกล้ามเนื้อปวดกระดูก (Fibromyalgia) และภาวะอื่น ๆ มากมาย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การใช้และประสิทธิภาพของ 5-HTP

ภาวะที่อาจใช้ 5-HTP ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ภาวะซึมเศร้า (Depression) งานวิจัยทางคลินิกบางชิ้นได้แสดงให้เห็นว่าการใช้ 5-HTP ชนิดทานจะทำให้อาการของภาวะซึมเศร้าดีขึ้น โดยขนาดการใช้ยาต้องปรึกษาจิตแพทย์ก่อนทุกครั้ง
  • ดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) งานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าการใช้ 5-HTP กับทารกที่เป็นโรคดาวน์ซินโดรมนั้นอาจเพิ่มกิจกรรมและกล้ามเนื้อขึ้น งานวิจัยชิ้นอื่นระบุว่า 5-HTP ไม่ได้ช่วยในการพัฒนากล้ามเนื้อหรือพัฒนาการของทารกที่มีอายุก่อน 3-4 ปี งานวิจัยยังได้แสดงให้เห็นว่าการใช้ 5-HTP พร้อมกับยาสั่งจากแพทย์ตามแบบแผนนั้นสามารถช่วยในเรื่องพัฒนาการ, ทักษะทางสังคม, หรือทักษะทางภาษาได้
  • โรคพิษสุรา (Alcoholism) งานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าการใช้ 5-HTP ร่วมกับ D-phenylalanine และ L-glutamine เป็นเวลา 40 วันสามารถลดอาการที่เกิดจากการงดสุราได้ อย่างไรก็ตามการใช้ 5-HTP ร่วมกับ carbidopa ทุกวันเป็นเวลาหนึ่งปีนั้นอาจไม่ได้ช่วยในการเลิกดื่มได้แต่อย่างใด อีกทั้งผลกระทบจากการใช้ 5-HTP กับโรคพิษสุราเพียงตัวเดียวนั้นยังคงไม่แน่ชัด
  • โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease) งานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าการใช้ 5-HTP ชนิดทานทางปากไม่ได้ช่วยลดอาการจากโรคอัลไซเมอร์
  • ภาวะวิตกกังวล (Anxiety) หลักฐานเกี่ยวกับผลกระทบของ 5-HTP กับภาวะวิตกกังวลนั้นยังไม่ชัดเจน แต่ก็มีงานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าการใช้ 5-HTP ชนิดทานทางปาก 25-15- mg ต่อวันร่วมกับ carbidopa สามารถลดอาการวิตกกังวลของผู้ป่วยได้จริง อย่างไรก็ตามก็เป็นข้อมูลที่ขัดกับงานวิจัยชิ้นอื่น ๆ ที่กล่าวว่าการทาน 5-HTP ที่ขนาดสูงอย่าง 225 mg ขึ้นไปทุก ๆ วันนั้นจะทำให้อาการของภาวะวิตกกังวลแย่ลง อีกทั้งการฉีด 5-HTP  เข้าเส้นเลือดดำในขนาด 60 mg ทุกวันก็ไม่ได้ช่วยลดภาวะวิตกกังวลของผู้ป่วยโรคแพนิก (panic disorders) แต่อย่างใด
  • โรคระบบประสาท (Cerebellar ataxia) หลักฐานเกี่ยวกับการใช้ 5-HTP สำหรับรักษา cerebellar ataxia นั้นยังไม่ชัดเจน โดยมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าการทาน 5-HTP ขนาด 5 mg/kg ทุกวันต่อเนื่องนาน 4 เดือนสามารถลดความผิดปรกติของระบบประสาทได้ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยชิ้นอื่นกลับแสดงให้เห็นว่าการใช้ 5-HTP ทุกวันนานหนึ่งปีไม่ได้ช่วยให้อาการของ cerebellar ataxia ดีขึ้นแต่อย่างใด
  • ไฟโบรมัยอัลเจีย (fibromyalgia) งานวิจัยกล่าวว่าการทาน 5-HTP ขนาด 100 mg สามครั้งต่อวันเป็นเวลานาน 30-90 วันอาจช่วยลดความเจ็บปวด, กดเจ็บ, ช่วยการนอนหลับ, ภาวะวิตกกังวล, ความเหนื่อยล้า, และอาการข้อแข็งในตอนเช้าของผู้ป่วยไฟโบรมัยอัลเจียได้
  • วัยทอง (Menopausal symptoms) งานวิจัยกล่าวว่าการใช้ 5-HTP ในขนาด 150 mg ทุกวันเป็นเวลานาน 4 สัปดาห์ไม่ได้ช่วยลดอาการร้อนวูบวาบของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนแต่อย่างใด
  • ปวดศีรษะไมเกรน (Migraine headache) หลักฐานเกี่ยวกับผลกระทบจากการใช้ 5-HTP เพื่อป้องกันหรือรักษาอาการปวดไมเกรนของผู้ใหญ่ยังไม่ชัดเจน โดยมีการศึกษาบางชิ้นที่แสดงให้เห็นว่าการทาน 5-HTP ทุกวันไม่ได้ช่วยลดอาการไมเกรนแต่อย่างใด แต่งานวิจัยชิ้นอื่นกลับแสดงให้เห็นว่าการใช้อาหารเสริมชนิดนี้สามารถให้ผลดีคล้ายกับยาไมเกรนจริง กระนั้น 5-HTP ก็ไม่สามารถลดอาการปวดไมเกรนในเด็กได้
  • โรคอ้วน (Obesity) งานวิจัยได้กล่าวว่าการใช้ 5-HTP อาจช่วยลดความอยากอาหาร, ลดปริมาณแคลอรี, และน้ำหนักของคนอ้วนได้ โดยเริ่มใช้ 250–300 mg ก่อนมื้ออาหาร
  • โรคพากินสัน (Parkinson's disease) งานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าการทาน 5-HTP 100-150 mg ทุกวันร่วมกับยารักษาพากินสันตามปรกติสามารถลดอาการสั่นได้ แต่จะไม่ให้ผลเช่นนี้เกิน 5 เดือน แต่การทาน 5-HTP ในขนาดที่สูงขึ้นที่ 275-1500 mg ทุกวันร่วมกับยา carbidopa อาจทำให้อาการย่ำแย่ลง
  • โรคจิตเภท (Schizophrenia) งานวิจัยได้กล่าวว่าการใช้ 5-HTP ขนาด 800 mg ถึง 6 กรัมทุกวันร่วมกับ carbidopa เป็นเวลานาน 90 วันอาจช่วยลดอาการจิตเภทของผู้ป่วยอายุน้อยได้
  • อาการปวดศีรษะจากความเครียด (Tension headache) งานวิจัยได้กล่าวว่าการใช้ 5-HTP 100mg สามครั้งต่อวันเป็นเวลานาน 8 สัปดาห์ไม่ได้ช่วยลดอาการปวดหรือระยะเวลาของอาการปวดศีรษะจากความเครียดแต่อย่างใด
  • กลุ่มอาการถอนเฮโรอีน (Heroin withdrawal symptoms) งานวิจัยได้กล่าวว่าการใช้ 5-HTP 200 mg ทุกวันเป็นเวลา 6 วันร่วมกับ tyrosine, phosphatidylcholine, และ L-glutamine อาจช่วยลดภาวะนอนไม่หลับและกลุ่มอาการถอนยาระหว่างช่วงการฟื้นตัวจากการติดเฮโรอีนได้
  • ภาวะนอนไม่หลับ (Insomnia)
  • อาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual syndrome (PMS))
  • กลุ่มอาการรุนแรงก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual dysphoric disorder (PMDD))
  • โรคสมาธิสั้น (Attention deficit-hyperactivity disorder (ADHD))

ภาวะที่ 5-HTP อาจไม่สามารถรักษาได้

ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าใช้ 5-HTP รักษาได้หรือไม่

จำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานให้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านประสิทธิผลของ 5-HTP เพิ่มเติม

ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของ 5-HTP

5-HTP จัดว่าเป็นอาหารเสริมที่ค่อนข้างปลอดภัยที่จะใช้ด้วยวิธีการรับประทานอย่างเหมาะสม 5-HTP สามารถถูกใช้อย่างปลอดภัยในปริมาณที่ 400 mg ต่อวันเป็นเวลานานหนึ่งปี อย่างไรก็ตามผู้ใช้ 5-HTP บางรายอาจประสบกับภาวะที่เรียกว่า eosinophilia-myalgia syndrome (EMS) ซึ่งนับว่าเป็นภาวะร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง (myalgia) กับความผิดปรกติของเลือด (eosinophilia) บางคนเชื่อว่า EMS อาจะเกิดมาจากการปนเปื้อนหรือส่วนผสมที่ผิดพลาดของผลิตภัณฑ์ 5-HTP บางยี่ห้อ อย่างไรก็ตามสาเหตุการเกิดภาวะนี้ก็ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาอธิบายว่าเกิดจากการปนเปื้อนหรือปัจจัยอื่น ซึ่งจนกว่าจะมีข้อมูลในเรื่องนี้ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และใช้ 5-HTP อย่างระมัดระวัง

ผลข้างเคียงอื่น ๆ ของ 5-HTP มีทั้งอาการแสบร้อนกลางอก, ปวดท้อง, คลื่นไส้, อาเจียน, ท้องร่วง, วิงเวียน, ปัญหาทางเพศ, และปัญหากล้ามเนื้อ

5-HTP ถูกจัดว่าไม่ปลอดภัยหากจะใช้ด้วยวิธีทานด้วยปริมาณที่สูงเกินไป โดยการใช้ในขนาดตั้งแต่ 6-10 กรัมทุกวันจะเกี่ยวพันกับการเกิดปัญหากระเพาะอาหารรุนแรงและอาการกล้ามเนื้อหดเกร็ง

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ:

เด็ก: 5-HTP เป็นอาหารเสริมปลอดภัยที่เด็กสามารถทานได้ในปริมาณที่เหมาะสม โดยทารกและเด็กอายุไม่เกิน 12 ปีสามารถใช้ในปริมาณที่สูงถึง 5 mg/kg ทุกวันเป็นเวลานานถึง 3 ปีได้ สำหรับผู้ใหญ่จะมีประเด็นเรื่องของ eosinophilia-myalgia syndrome (EMS) แต่สำหรับเด็กจะเป็นภาวะร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดกล้ามเนื้อรุนแรง (myalgia) และความผิดปรกติของเลือด (eosinophilia)

สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร: ณ ขณะนี้ยังคงขาดแคลนข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้5-HTP ในกลุ่มผู้หญิงที่ต้องให้นมบุตรกับผู้มีครรภ์ ดังนั้นคนในกลุ่มดังกล่าวควรเลี่ยงใช้อาหารเสริมชนิดนี้เพื่อความปลอดภัย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การผ่าตัด: 5-HTP ส่งผลต่อสารเคมีในสมองที่เรียกว่าเซโรโทนิน โดยยาบางตัวที่ใช้ระหว่างการผ่าตัดก็ส่งผลต่อสารเซโรโทนินเช่นกัน ดังนั้นการใช้ 5-HTP ก่อนการผ่าตัดอาจทำให้สมองมีเซโรโทนินมากเกินไป ซึ่งจะส่งผลข้างเคียงอย่างปัญหาหัวใจ, หนาวสั่น, และภาวะวิตกกังวล ดังนั้นควรแจ้งคนไข้ให้หยุดการใช้ 5-HTP เป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด

การใช้ 5-HTP ร่วมกับยาชนิดอื่น

ห้ามใช้ 5-HTP ร่วมกับยาเหล่านี้

  • ยาสำหรับภาวะซึมเศร้า (Antidepressant) กับ 5-HTP
  • ยาสำหรับภาวะซึมเศร้า (MAOIs) กับ 5-HTP
  • Carbidopa (Lodosyn) กับ 5-HTP
  • Dextromethorphan (Robitussin DM, และอื่น ๆ ) กับ 5-HTP
  • Meperidine (Demerol) กับ 5-HTP
  • Pentazocine (Talwin) กับ 5-HTP
  • Tramadol (Ultram) กับ 5-HTP

สำหรับภาวะซึมเศร้า: การศึกษาหลายชิ้นได้ใช้ 5-HTP ที่ปริมาณ 150-3000 mg ทุกวันโดยแบ่งเป็นสามครั้งต่อวันและต่อเนื่อง 2-6 สัปดาห์ ขนาดยาที่ใช้ยังเพิ่มขึ้นทีละน้อยจาก 150 mg ทุกวันเป็นเวลา 2 สัปดาห์ เป็น 400 mg ทุกวันเป็นเวลา 4 สัปดาห์

5-HTP จะไปเพิ่มสารเคมีในสมองที่เรียกว่าเซโรโทนิน ยาบางตัวสำหรับรักษาภาวะซึมเศร้าก็ออกฤทธิ์ด้วยการเข้าไปเพิ่มเซโรโทนินเช่นกัน ดังนั้นการใช้ 5-HTP ร่วมกับยาเหล่านี้อาจทำให้มีเซโรโทนินมากเกินไปจนเกิดผลข้างเคียงร้ายแรงอย่างปัญหาหัวใจ, หนาวสั่น, และภาวะวิตกกังวล ดังนั้นหากคุณกำลังใช้ยาสำหรับภาวะซึมเศร้าไม่ควรใช้ 5-HTP เป็นอันขาด ยาสำหรับผู้ป่วยซึมเศร้าที่กล่าวถึงนั้นมีทั้ง fluoxetine (Prozac), paroxetine (Paxil), sertraline (Zoloft), amitriptyline (Elavil), clomipramine (Anafranil), imipramine (Tofranil), และอื่น ๆ

5-HTP จะไปเพิ่มสารเคมีในสมองที่เรียกว่าเซโรโทนิน ยาบางตัวสำหรับรักษาภาวะซึมเศร้าก็ออกฤทธิ์ด้วยการเข้าไปเพิ่มเซโรโทนินเช่นกัน ดังนั้นการใช้ 5-HTP ร่วมกับยาเหล่านี้อาจทำให้มีเซโรโทนินมากเกินไปจนเกิดผลข้างเคียงร้ายแรงอย่างปัญหาหัวใจ, หนาวสั่น, และภาวะวิตกกังวล ดังนั้นหากคุณกำลังใช้ยาสำหรับภาวะซึมเศร้าไม่ควรใช้ 5-HTP เป็นอันขาด ยาสำหรับผู้ป่วยซึมเศร้าที่กล่าวถึงนั้นมีทั้งphenelzine (Nardil), tranylcypromine (Parnate), และอื่น ๆ

ใช้ 5-HTP ร่วมกับยาเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง

5-HTP จะส่งผลต่อสมอง และ Carbidopa (Lodosyn)  เองก็ส่งผลต่อสมองเช่นกัน ดังนั้นการใช้ 5-HTP ร่วมกับ Carbidopa จะเพิ่มความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงร้ายแรงอย่างพูดเร็วขึ้น, ภาวะวิตกกังวล, ก้าวร้าว, และอื่น ๆ

5-HTP จะส่งผลต่อสารเคมีสมองที่ชื่อเซโรโทนิน Dextromethorphan (Robitussin DM, และอื่น ๆ ) เองก็ส่งผลต่อเซโรโทนิน การใช้ 5-HTP ร่วมกับ Dextromethorphan (Robitussin DM, และอื่น ๆ ) อาจทำให้มีเซโรโทนินในสมองมากเกิน และทำให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรงอย่างปัญหาหัวใจ, หนาวสั่น, และภาวะวิตกกังวล ดังนั้นจึงห้ามใช้ 5-HTP หากคุณกำลังใช้ยา Dextromethorphan (Robitussin DM, และอื่น ๆ ) อยู่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

5-HTP จะส่งผลต่อสารเคมีสมองที่ชื่อเซโรโทนิน Meperidine (Demerol) เองก็ส่งผลต่อเซโรโทนินในสมอง ดังนั้นการใช้ 5-HTP ร่วมกับ Meperidine (Demerol) จึงอาจทำให้มีเซโรโทนินในสมองมากเกินไปจนทำให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรงอย่างปัญหาหัวใจ, หนาวสั่น, และภาวะวิตกกังวล

5-HTP จะส่งผลต่อสารเคมีสมองที่ชื่อเซโรโทนิน  Pentazocine (Talwin) เองก็ส่งผลต่อเซโรโทนินในสมอง การใช้ 5-HTP ร่วมกับ Pentazocine (Talwin) จึงอาจทำให้มีเซโรโทนินในสมองมากเกินไปจนทำให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรงอย่างปัญหาหัวใจ, หนาวสั่น, และภาวะวิตกกังวล ดังนั้นจึงห้ามใช้ 5-HTP หากคุณกำลังใช้ยา Pentazocine (Talwin) อยู่

5-HTP จะส่งผลต่อสารเคมีสมองที่ชื่อเซโรโทนิน  Tramadol (Ultram) เองก็ส่งผลต่อเซโรโทนินในสมอง การใช้ 5-HTP ร่วมกับ Pentazocine (Talwin) จึงอาจทำให้มีเซโรโทนินในสมองมากเกินไปจนทำให้เกิดผลข้างเคียงอย่างสับสน, หนาวสั่น, กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง, และอื่น ๆ

ปริมาณยาที่ใช้

ปริมาณหรือขนาดยาที่ใช้ดังต่อไปนี้ได้ถูกศึกษาจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์

ผู้ใหญ่

รับประทาน:

  • สำหรับภาวะซึมเศร้า: การศึกษาหลายชิ้นได้ใช้ 5-HTP ที่ปริมาณ 150-3000 mg ทุกวันโดยแบ่งเป็นสามครั้งต่อวันและต่อเนื่อง 2-6 สัปดาห์ ขนาดยาที่ใช้ยังเพิ่มขึ้นทีละน้อยจาก 150 mg ทุกวันเป็นเวลา 2 สัปดาห์ เป็น 400 mg ทุกวันเป็นเวลา 4 สัปดาห์

2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Turner EH1, Loftis JM, Blackwell AD.,Serotonin a la carte: supplementation with the serotonin precursor 5-hydroxytryptophan.,2006
Marty Hinz, 5-HTP efficacy and contraindications.,2012

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)