เวลาที่คุณควรรับประทานยา

เผยแพร่ครั้งแรก 4 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เวลาที่คุณควรรับประทานยา

ร่างกายของเรานั้นมีนาฬิกาในตัวเอง ทำให้ร่างกายนั้นมีการตอบสนองต่อยาในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ยาบางชนิดอาจจะมีประสิทธิภาพลดลงหากรับประทานผิดเวลาได้

ต่อไปนี้เป็นบทสรุปเกี่ยวกับเวลาที่คุณควรรับประทานยาแต่ละชนิดให้เหมาะสมกับนาฬิกาในร่างกายของคุณ เพื่อให้ยามีประสิทธิภาพสูงที่สุด (ดังนั้นอย่าเปลี่ยนแปลงเวลารับประทานยาด้วยตัวเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ยาที่ควรรับประทานในตอนเช้า

  • ยาต้านเศร้ากลุ่ม SSRIs ซึ่งเป็นยาต้านเศร้าที่ใช้บ่อยนั้นมีผลข้างเคียงที่พบบ่อยคือมักจะส่งผลต่อการนอนหลับ ทำให้ควรรับประทานในตอนเช้า
  • ยารักษาโรคกระดูกพรุน ร่างกายมักจะดูดซึมยาในกลุ่ม bisphosphonate เช่น Boniva และ Fosamax ได้ไม่ดี ดังนั้นแพทย์จึงแนะนำให้รับประทานยาในขณะที่ท้องว่างเป็นอย่างแรกในตอนเช้าตามด้วยน้ำ 1 แก้ว แล้วรอประมาณ 1 ชั่วโมงก่อนรับประทานอาหาร ดื่มน้ำ หรือกินยาอื่นๆ

ยาที่ควรรับประทานในตอนเย็น

  • ยารักษาโรคกรดไหลย้อน กระเพาะอาหารนั้นจะมีการหลั่งกรดเพิ่มเป็น 2-3 เท่าจากปกติในช่วงเวลา 22.00น. – 02.00น. ดังนั้นหากคุณรับประทานยาลดกรดเช่น Pepcid หรือ Zantac ให้รับประทานก่อนทานอาหารเย็น 30 นาที จะช่วยควบคุมการหลั่งกรดในช่วงกลางคืนได้ดีที่สุด
  • ยารักษาโรคภูมิแพ้ เวลาเป็นภูมิแพ้นั้นมักจะมีอาการในช่วงกลางคืนและเมื่อตื่นมาตอนเช้า ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีสาร Histamine ซึ่งกระตุ้นให้เกิดอาการในระดับที่สูงที่สุด ยาแก้แพ้ที่รับประทานวันละครั้งนั้นมักจะออกฤทธิ์ได้ดีที่สุดหลังรับประทานไปแล้ว 8-12 ชั่วโมง ดังนั้นการรับประทานยาในตอนเย็นนั้นจึงทำให้สามารถควบคุมอาการในตอนเช้าได้ดียิ่งขึ้น (หากรับประทานยาชนิดที่รับประทานวันละ 2 ครั้งให้รับประทานในตอนเช้าและตอนเย็น)

ยาที่ควรรับประทานก่อนเข้านอน

  • ยาลดระดับ cholesterol ตับจะสร้าง cholesterol ในระดับสูงสุดในช่วงหลังเที่ยงคืน และต่ำสุดในช่วงตอนกลางวันและเที่ยง ดังนั้นยาลดระดับไขมันจึงมีประสิทธิภาพสูงที่สุดหากรับประทานก่อนนอน
  • ยาลดความดัน ความดันโลหิตของคุณนั้นมักจะสูงในช่วงกลางวันและต่ำในช่วงที่นอนหลับ แต่ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงนั้นมักจะไม่มีการลดระดับความดันโลหิตในช่วงเวลาดังกล่าวโดยเฉพาะเมื่อมีอายุมากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดสมองอุดตัน โรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน และโรคไต ดังนั้นผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำให้รับประทานยาความดันในช่วงก่อนนอนเพื่อให้ร่างกายมีการลดระดับความดันในช่วงกลางคืนให้เหมือนปกติ นอกจากนั้นยาในกลุ่ม ACE inhibitors และ ARBs ก็ยังมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อรับประทานในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย

ยารับประทานเมื่อมีอาการ

ยารักษาอาการปวดข้อ นักวิจัยฝรั่งเศสพบว่าการรับประทานยาแก้อักเสบในกลุ่ม NSAIDs เช่น naproxen และ ibuprofen ซึ่งมักใช้แก้อาการปวดข้อจากโรคข้อเสื่อมนั้นจะได้ประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อรับประทาน 6 ชั่วโมงก่อนที่จะมีอาการปวดสูงที่สุด เพื่อให้ออกฤทธิ์ได้ทันในช่วงเวลาดังกล่าว หากคุณมักจะมีอาการในช่วงบ่าย ให้รับประทานยาในช่วงตอนสายของวัน หากมักปวดในช่วงเย็น ให้รับประทานในช่วงบ่าย และหากมักปวดในช่วงกลางคืน ให้รับประทานพร้อมอาหารเย็น


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Medicines: Common Questions Answered. National Institute on Aging. (https://www.nia.nih.gov/health/medicines-common-questions-answered)
Why You Need to Take Your Medications as Prescribed or Instructed. U.S. Food and Drug Administration (FDA). (https://www.fda.gov/drugs/special-features/why-you-need-take-your-medications-prescribed-or-instructed)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป