กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

DIC: Disseminated Intravascular Coagulation (การเกิดลิ่มเลือดในกระแสเลือด)

เผยแพร่ครั้งแรก 3 ต.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 27 ต.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

การเกิดลิ่มเลือดในกระแสเลือด (Disseminated intravascular Coagulation: DIC) หมายถึง ความผิดปกติที่มีลิ่มเลือดและเลือดออกในระบบการไหลเวียนเลือดทั่วร่างกาย

สาเหตุของ DIC

DIC มักเกิดจากภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการดำเนินโรคต่างๆ ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • โรคติดเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ
  • โรคติดเชื้อเชื้อไวรัส
  • โรคมาลาเรียจากการติดเชื้อพลาสโมเดียมฟัลซิพารัม (Plasmodium Falciparum)
  • โรคมะเร็ง
  • ภาวะทางสูติกรรม (การเกิดลิ่มเลือดในกระแสเลือดแบบเฉียบพลัน) ได้แก่ ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด (Placenta abruption) และภาวะน้ำคร่ำอุดตันในหลอดเลือด (Amniotic fluid embolism)
  • การเกิดลิ่มเลือดในกระแสเลือดแบบเรื้อรัง เช่น ครรภ์เป็นพิษ (Eclampsia) การยุติการตั้งครรภ์ (Saline induce abortion) ที่เกิดจากการบาดเจ็บของเนื้อเยื่ออย่างรุนแรง (Severe tissue injury) เช่น ศัลยกรรม (Surgery) การบาดเจ็บ (Trauma) การกระแทก (Crush injuries) มีเนื้อร้ายขนาดใหญ่ (Massive tissue necrosis) หรือเป็นโรคลมแดด (Heatstroke) เป็นต้น
  • โรคตับ เช่น ตับอักเสบชนิดร้ายแรง ภาวะตับวายเฉียบพลัน
  • สาเหตุอื่นๆ เช่น ผู้ป่วยใส่ลิ้นหัวใจเทียม (Prosthetic valve) โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) ภาวะแทรกซ้อนในเนื้อเยื่อ (Greft Versus Host Disease: GVHD) ภาวะเกล็ดเลือดต่ำจากยาเฮปพาริน (Heparin-Induced Thrombocytopenia: HIT)

กระบวนการเกิด DIC

ระบบการไหลเวียนเลือดมีความผิดปกติ เนื่องจากร่างกายมีการกระตุ้นกระบวนการแข็งตัวของเลือดซึ่งนำไปสู่การสร้างก้อนลิ่มเล็กๆ ในหลอดเลือดเล็กๆ ทั่วร่างกาย ซึ่งการแข็งตัวของเลือดอย่างผิดปกตินี้จะทำให้มีการใช้เกล็ดเลือด ไฟบริน และแฟกเตอร์ในการแข็งตัวของเลือดเพิ่มขึ้น รวมทั้งกระตุ้นกลไกการสลายไฟบรินด้วย ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะเลือดออกอย่างผิดปกติ

กลไกสำคัญที่กระตุ้นให้เกิด DIC

กลไกสำคัญที่กระตุ้นให้เกิด DIC คือ การหลั่งสารทรอมโบพลาสติน (Thromboplastin substances) ออกสู่กระแสเลือด และมีการบาดเจ็บของผนังเยื่อบุชั้นในของหลอดเลือด

พยาธิสรีรวิทยา

การเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆ ภายในร่างกายเมื่อเกิดภาวะ DIC ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่าผู้ป่วยจำนวนมากมีกระบวนการเกิดโรคเริ่มต้นจากการถูกกระตุ้นโดยโปรทรอมบิน (Prothrombin) โปรตีนชนิดหนึ่งที่พบในกระแสเลือด ซึ่งถือเป็นสิ่งแปลกปลอมที่เข้าไปในกระแสเลือด และผนังหลอดเลือดในขณะที่ได้รับบาดเจ็บ

โดยโปรทรอมบินจะกระตุ้นให้เกิดการเร่งกระบวนการแข็งตัวของหลอดเลือดเพื่อไปประสานแผลที่บาดเจ็บ เริ่มจากทำให้ทรอมบิน (Thrombin) เปลี่ยนเป็นไฟบริโนเจน (Fibrinogen) และกลายเป็นไฟบริน (Fibrin) เส้นใยเหนียวที่ทำหน้าประสานกันเป็นร่างแหอุดรอยฉีกขาดของเส้นเลือดตรงบริเวณปากแผล

หากเกิดกระบวนการดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ก็จะทำให้เลือดไหลเวียนได้น้อยลงในที่สุดนั่นเอง

ลักษณะอาการ DIC

  • มีผิวหนังคล้ำ และเย็นกว่าปกติ
  • มีรอยจ้ำๆ ตามผิวหนัง เมื่อกดแล้วจะจางลง เนื่องจากเลือดไปเลี้ยงไม่พอ และมีเลือดคั่ง
  • มีเลือดออกจากรอยเจาะเลือด ผิวหนังทั่วร่างกาย และเยื่อบุอวัยวะภายใน เช่น จากทางเดินอาหาร ไต ปอด และ สมอง
  • มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute respiratory distress syndrome: ARDS)
  • มีภาวะเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจน (Hypoxemia)
  • ภาวะช็อก (Shock)
  • ภาวะไตวายเฉียบพลัน ระยะต่างๆ เช่น เอทีเอ็น (Acute Tubular Necrosis: ATN) อาร์ซีเอ็น (Renal cortical necrosis: RCN)
  • ภาวะความตื่นตัวผิดปกติ (Stupor)
  • อาการบวมน้ำ (Edema)
  • อาการชัก (Convulsions)
  • ความผิดปกติของสมองเฉพาะแห่ง (Focal lesions)
  • เลือดออกในสมอง (Intracranial bleeding)
  • ภาวะเลือดเป็นกรด (Acidosis)
  • ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย (Myocardial infarction)
  • มีการอุดตันในหลอดเลือดใหญ่ กลาง และเล็ก

อาการข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของอาการที่พบได้ในภาวะ DIC เท่านั้น หากมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย หรือมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งที่กล่าวไป ควรไปพบแพทย์ทันที

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การวินิจฉัย DIC

การวินิจฉัยยโรค DIC ในเบื้องต้น มักเริ่มจากสังเกตอาการแสดงทางคลินิกว่า มีการตายของส่วนปลายของอวัยวะต่างๆ หรือไม่ โดยบริเวณที่พบบ่อยคือ ผิวหนัง สมอง ไต และปอด นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการช็อกร่วมด้วย

หลังจากนั้นแพทย์จะส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การเจาะเลือดเพื่อตรวจค่าดีไดเมอร์ (FDP/D-dimer) การนับเกล็ดเลือด (Platelet count) การให้ยาโปรตาไมด์เพื่อต้านฤทธิ์ยายาเฮปพาริน (Protamine test) ตรวจทรอมบินในเลือด (Thrombin test) ตรวจการแข็งตัวของลิ่มเลือด ได้แก่ ทีที (Thrombin time: TT) ไฟบริโนเจน และพีที (Prothrombin time: PT) การตรวจระยะเวลาการแข็งตัวของสารเคมีเมื่อหยดลงไปในเลือดแบบวินาที (Activated partial thromboplastin time: aPTT)

การรักษา DIC

วิธีการรักษาที่ดีที่สุดคือ การกำจัดสาเหตุให้เร็วที่สุด เช่น หากเกิดในภาวะทางสูติกรรม จะต้องรีบเอาเด็กและรกออกให้เร็วที่สุด หรือเมื่อเกิดการติดเชื้อก็ต้องรีบรักษาภาวะติดเชื้อ และกำจัดเชื้อให้เร็วที่สุด เป็นต้น

นอกจากนี้จะต้องควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุของ DIC เช่น โรคมะเร็ง มะเร็งควรรีบรักษาภาวะติดเชื้อ และกำจัดต้นเหตุโดยเร็วที่สุด มะเร็งควรรีบรักษาเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของมะเร็ง โรคแพ้ภูมิตนเอง และโรคที่เกิดจากการอักเสบ (Inflammatory disease)

หากมีอาการข้างเคียงจะต้องรักษาตามอาการด้วย เช่น เมื่อเกิดภาวะช็อก แพทย์จะให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำเพื่อให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น หรือรักษาภาวะสมดุลกรดด่างในเลือดโดยการเปลี่ยนถ่ายเลือด เป็นต้น

การพยาบาล DIC

  • ดูแลผู้ป่วยให้ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ
  • ประเมินและระมัดระวังการเกิดเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ
  • ดูแลให้ได้รับอาหารอ่อน ย่อยง่าย รสไม่จัดไม่ระคายเคืองต่อปาก และทางเดินอาหาร ควรมีธาตุเหล็ก โปรตีน และวิตามินซีสูง
  • สังเกตและติดตามผลการตรวจเลือดจากการตรวจค่าซีบีซี (Complete blood count: CBC) การแข็งตัวของโปรทรอมบิน เป็นต้น
  • ดูแลให้ได้รับเลือดตามแผนการรักษา และปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน
  • อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงอาการ และอาการแสดงของภาวะเลือดออกผิดปกติ
  • ดูแลด้านจิตใจและความสุขสบายของผู้ป่วย ช่วยเหลือผู้ป่วยและญาติในการเผชิญภาวะเลือดออก และให้การช่วยเหลือเพื่อคลายความวิตกกังวลให้ผู้ป่วยและครอบครัว

3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Vanessa Ngan, Disseminated intravascular coagulation (https://dermnetnz.org/topics/disseminated-intravascular-coagulation/)
medlineplus, Disseminated intravascular coagulation (DIC) (https://medlineplus.gov/ency/article/000573.htm)
nhlbi.nih.gov, Disseminated Intravascular Coagulation (https://www.nhlbi.nih.gov/health-topics/disseminated-intravascular-coagulation)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เบาหวานขึ้นตามีวิธีรักษาอย่างไรบ้างค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ทำไมหนูปวดเมื่อยตรงสะบักมักจะปวดหัวทุกที
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ความดันสูงมีสิทธิ์หายขาดมั้ยคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปวดหัวไมเกรนปวดมากๆเส้นเลือดในสมองจะแตกมั๊ยคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อาการเวลาอากาศเย็นแล้วปวดขา ปวดนิ้วมือ เมื่อย เป็นเพราะอะไรครับ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)