นิวโรบลาสโตมา (Neuroblastoma)

เผยแพร่ครั้งแรก 21 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
นิวโรบลาสโตมา (Neuroblastoma)

นิวโรบลาสโตมา คือ มะเร็งชนิดที่พบได้ส่วนใหญ่ในเด็ก โดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี ซึ่งเกิดขึ้นกับเซลล์ประสาทที่ชื่อว่า นิวโรบลาส ผู้ป่วยหลายรายจะพบมะเร็งชนิดนี้เป็นครั้งแรกที่ต่อมหมวกไต สาเหตุของมะเร็งชนิดนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด และโดยทั่วไปไม่ถ่ายทอดกันในครอบครัวเดียวกัน การรักษาจะมีการให้ยาเคมีบำบัดเพื่อลดขนาดของก้อนเนื้องอกก่อนการผ่าตัดและอาจต้องทำการฉายรังสีเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งที่ยังหลงเหลืออยู่

บทนำ

นิวโรบลาสโตมา เป็นมะเร็งชนิดที่พบได้น้อย และพบได้มากที่สุดในเด็ก โดยเป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นกับเซลล์ประสาทที่ชื่อว่า นิวโรบลาส (neuroblasts) เซลล์นิวโรบลาสเป็นเซลล์ที่พบได้ตลอดความยาวด้านหลังของหน้าอกและกระเพาะอาหาร
ผู้ป่วยหลายๆ รายจะพบนิวโรบลาสโตมาได้ครั้งแรกที่ต่อมหมวกไต (ต่อมขนาดเล็ก 2 ต่อมที่อยู่เหนือไตทั้งสองข้าง) และสามารถแพร่กระจายไปที่บริเวณอื่นๆ เช่น กระดูก ตับ และผิวหนัง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

นิวโรบลาสโตมาเป็นมะเร็งที่พบส่วนใหญ่ในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี และสามารถเกิดขึ้นได้แม้ว่าเด็กจะยังไม่คลอดจากท้องแม่ สาเหตุของนิวโรบลาสโตมายังไม่ทราบแน่ชัด โรคนี้พบในเด็กที่มาจากครอบครัวเดียวกันได้น้อยมาก และโดยทั่วไปโรคนี้ไม่ถ่ายทอดในครอบครัวเดียวกัน

อาการและอาการแสดงของนิวโรบลาสโตมา

อาการของมะเร็งจะขึ้นกับว่ามะเร็งเกิดขึ้นที่ตำแหน่งใด และมะเร็งมีการแพร่กระจายหรือไม่

โดยทั่วไปโรคนิวโรบลาสโตมายากต่อการวินิจฉัยหากเป็นในระยะแรกของโรค และอาการในระยะแรกเป็นอาการที่พบได้ทั่วไป  ตัวอย่างเช่น อาการปวด อาการเหนื่อย หมดแรง และเบื่ออาหาร

สำหรับอาการที่สัมพันธ์กับระยะท้ายของโรคคือ มีก้อน หรือมีอาการบวมที่ท้อง ซึ่งมักเป็นบริเวณจุดเริ่มต้นของการเกิดมะเร็งชนิดนี้ ซึ่งอาการนี้ง่ายต่อการไม่ถูกตรวจพบในเด็ก ก้อนที่เกิดขึ้นอาจทำให้มีอาการท้องผูก และปัสสาวะลำบาก และยังมีอาการปวด และรู้สึกไม่สบายตัวอีกด้วย

อาการแสดงอื่น ได้แก่:

  • มีก้อนที่คอ
  • ปวดกระดูก และเดินลำบาก หากมะเร็งส่งผลกระทบต่อกระดูก
  • ชา อ่อนแรง สูญเสียการเคลื่อนไหวที่ส่วนล่างของร่างกายเด็ก หากมะเร็งส่งผลกระทบต่อไขสันหลัง
  • ผิวหนังซีด รอยช้ำ เลือดออก และติดเชื้อบ่อย หากมะเร็งส่งผลกระทบต่อไขกระดูก

การวินิจฉัยนิวโรบลาสโตมา

อาจมีการทดสอบหลายอย่างที่ต้องทำ หากแพทย์คิดว่าลูกหลานของคุณอาจเป็นนิวโรบลาสโตมา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การทดสอบต่างๆ อาจได้แก่:

  • การตรวจปัสสาวะเพื่อดูสารเคมีชนิดหนึ่งที่พบได้ในปัสสาวะ ซึ่งสร้างจากเซลล์นิวโรบลาสโตมา (neuroblastoma cells)
  • การสแกนส่วนต่างๆ ของร่างกายเพื่อดูบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากมะเร็ง เช่น การสแกนอัลตราซาวด์ (ultrasound scans), การทำซีทีสแกน/การสแกนด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (computerized tomography (CT)), การสแกนภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือเอ็มอาร์ไอ (MRI scans)
  • การสแกนชนิดพิเศษที่มีการฉีดสารชนิดซึ่งเข้าไป ซึ่งเซลล์นิวโรบลาสโตมานำสารนี้เข้าสู่เซลล์ของตนเอง เราเรียกการสแกนนี้ว่า mIBG scan
  • การตรวจชิ้นเนื้อ (biopsy) คือการนำเนื้อเยื่อตัวอย่างออกมาตรวจภายใต้กล้องจุลทรรศน์ โดยจะทำภายใต้การให้ยาสลบและใช้เข็มชนิดพิเศษดูดเอาชิ้นเนื้อออกมา  การทำเช่นนี้เพื่อช่วยในการตรวจวิเคราะห์หาเซลล์มะเร็ง

ถ้าก้อนเนื้องอกที่เกิดขึ้นอยู่ที่ตำแหน่งเดียว และมีความปลอดภัยที่จะผ่าตัดออก การตรวจชิ้นเนื้อเบื้องต้น (preliminary biopsy) อาจไม่มีความจำเป็น

เมื่อทำการทดสอบด้วยการทดสอบหลายวิธีเสร็จสิ้นแล้ว แพทย์จะสามารถบอกได้ว่าคุณเป็นโรคมะเร็งนิวโรบลาสโตมาหรือไม่ และสามารถบอกระยะของโรคให้กับคุณได้

ระยะของโรคมะเร็งนิวโรบลาสโตมา

เช่นเดียวกับมะเร็งโดยส่วนใหญ่ การบอกระยะของโรคมะเร็งนิวโรบลาสโตมาจะสะท้อนให้เห็นถึงการแพร่กระจายของโรค ซึ่งมีระบบการแบ่งระยะของโรคหลายระบบ แต่ที่ใช้กันมากที่สุดจนถึงเมื่อเร็วๆ นี้ จะเขียนไว้ด้านหน้า ส่วนระบบที่ยอมรับกันมากกว่าในเร็วๆ นี้ จะเขียนไว้ในวงเล็บ:

  • ระยะ 1 และ 2 (L1)-มะเร็งอยู่ที่ตำแหน่งเดียว และไม่แพร่กระจาย
  • ระยะ 3 (L2)-มะเร็งแพร่กระจายไปที่โครงสร้างข้างเคียง แต่ไม่แพร่กระจายไปตำแหน่งอื่นที่ไกลออกไป
  • ระยะ 4 (M)-มะเร็งแพร่กระจายไปที่ตำแหน่งอื่นของร่างกายที่ไกลออกไป
  • ระยะ 4s (Ms)-เป็นระยะพิเศษ หากเนื้องอกได้รับการวินิจฉัยในเด็กทารกอายุน้อยกว่า 12 เดือน แม้ว่าอาจมีการแพร่กระจายของมะเร็งไปที่บริเวณอื่นๆ ของร่างกาย แต่แนวโน้มของโรคของข้างดี เพราะสามารถดีขึ้นได้ด้วยตัวมันเอง

การรักษาและการพยากรณ์โรคนิวโรบลาสโตมา

การพยากรณ์โรคนิวโรบลาสโตมา โดยทั่วไปจะมีการพยากรณ์โรคที่ดีในเด็กอายุน้อย และมะเร็งอยู่เพียงตำแหน่งเดียว

เด็กทารกที่เป็นนิวโรบลาสโตมาระยะ 4s และไม่มีอาการใดๆ อาจไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา เพราะมะเร็งอาจหายได้ด้วยตัวเอง

การรักษาจะขึ้นกับระยะของโรค โดยทั่วไปจะให้ยาเคมีบำบัด (chemotherapy) เพื่อลดขนาดของเนื้องอกก่อนทำการผ่าตัดออก และในผู้ป่วยบางรายจะต้องให้รังสีรักษา (radiotherapy) เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งที่ยังหลงเหลืออยู่

เกือบครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยนิวโรบลาสโตมาเป็นมะเร็งชนิดที่มีความรุนแรง แม้ว่าได้รับการรักษาอย่างเข้มข้นแล้ว มะเร็งอาจกลับมาเป็นอีกได้ ถ้าพบมะเร็งกลับมาเป็นอีก ก็จำเป็นต้องทำการรักษาอีกครั้ง

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/cancer/cancer-types-in-adults/neuroblastoma


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Neuroblastoma. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/neuroblastoma.html)
Neuroblastoma. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/neuroblastoma/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)