ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเชื้อไวรัส

รู้จักไวรัส จุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของอาการเจ็บไข้ไม่สบายหลายอย่าง และวิธีทำให้ไวรัสเสื่อมสภาพ
เผยแพร่ครั้งแรก 27 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 ตรวจสอบความถูกต้อง 27 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเชื้อไวรัส

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ไวรัสเป็นอนุภาคขนาดเล็กมากและเป็นปรสิตภายในของสิ่งมีชีวิต จำเป็นต้องอาศัยเซลล์ของสิ่งมีชีวิตอื่นในการดำรงชีวิตและเพิ่มจำนวน การติดเชื้อไวรัสทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในเซลล์สิ่งมีชีวิตได้หลายอย่าง เช่น ทำให้เซลล์ตาย มีการรวมตัวของเซลล์ 
  • โครงสร้างของไวรัสประกอบด้วยกรดนิวคลีอิก (ควบคุมการสร้างส่วนประกอบของไวรัสและถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม) แคปสิด (โปรตีนที่หุ้มรอบกรดนิวคลีอิก) เปลือกหุ้ม (ไขมันที่หุ้มรอบแคพสิดอีกชั้น พบได้ในไวรัสบางชนิด)
  • ไวรัสสามารถเพิ่มจำนวนได้จากการเกาะติด การเข้าสู่เซลล์ การถอดเปลือกโปรตีน สังคราะห์ส่วนประกอบและเพิ่มจำนวนของไวรัส การประกอบส่วนประกอบของไวัรส การเจริญเติบโตเต็มที่ของไวรัสนั้นๆ 
  • ไวรัสาสามารถเสื่อมสภาพได้ด้วยความร้อน (ประสิทธิภาพแตกต่างไปตามระดับอุณหภูมิ) ความเป็นกรดด่าง การฉายรังสี สารลดแรงตึงผิว สารกลุ่มฟอร์มัลดีไฮด์
  • เราสามารถป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสได้ด้วยการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง รักษาสุขอนามัยให้ดี ติดตามข่าวสารการระบาดของโรคบ่อยๆ หมั่นตรวจสุขภาพ และควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคสำคัญๆ (ดูแพ็กเกจฉีดวัคซีนป้องกันโรคได้ที่นี่

ไวรัสเป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่สามารถก่อการติดเชื้อ (infectious agents) ในสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ หรือพืช ทำให้เกิดความเจ็บป่วยตั้งแต่ไม่สบายเล็กน้อยไปจนถึงเกิดโรคที่มีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ 

บทความนี้จะบอกถึงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเชื้อไวรัส เช่น ส่วนประกอบของไวรัส การจัดหมวดหมู่ของไวรัส วิธีการเพิ่มจำนวนของไวรัส การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเมื่อได้รับเชื้อไวรัส รวมถึงวิธีการที่ไวรัสใช้หลบหลีกระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 386 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจและนำไปสู่การป้องกันไม่ให้ติดเชื้อจากไวรัสนั่นเอง

ไวรัสคืออะไร?

ไวรัสเป็นอนุภาคขนาดเล็กมาก (20-300 นาโนเมตร) และเป็นปรสิตภายในของสิ่งมีชีวิต (Obligatory intracellular parasite) จำเป็นต้องอาศัยเซลล์ของสิ่งมีชีวิตอื่น (Host) ในการดำรงชีวิตและเพิ่มจำนวน 

การติดเชื้อไวรัสสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในเซลล์สิ่งมีชีวิตอื่น เช่น ทำให้เซลล์ตาย มีการรวมตัวของเซลล์ หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติจนกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ 

โครงสร้างและส่วนประกอบของไวรัส

  1. กรดนิวคลีอิก (Nucleic acid) ทำหน้าที่ควบคุมการสร้างส่วนประกอบของไวรัสและถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม โดยเป็น DNA หรือ RNA อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
  2. แคปสิด (Capsid) เป็นโปรตีนที่หุ้มรอบกรดนิวคลีอิก ทำหน้าที่ป้องกันกรดนิวคลีอิกและใช้ในการเกาะติดเซลล์โฮสต์
  3. เปลือกหุ้ม (Envelope) เป็นไขมันที่หุ้มรอบแคพสิดอีกชั้น พบได้ในไวรัสบางชนิดเท่านั้น

รูปที่ 1 โครงสร้างของไวรัสที่ไม่มีเปลือกหุ้ม (รูปซ้าย) และไวรัสที่มีเปลือกหุ้ม (รูปขวา)

การจัดหมวดหมู่ของไวรัส

หน่วยงาน International Committee on Taxonomy of Viruses (ICTV) ได้จัดกลุ่มและเรียกชื่อของไวรัสให้เป็นสากล โดยใช้หลักเกณฑ์หลายประการในการจัดหมวดหมู่ เช่น รูปร่างของไวรัส คุณสมบัติของสารพันธุกรรม ขั้นตอนการเพิ่มจำนวน โครงสร้างของโปรตีน รวมถึงรูปแบบการก่อโรค 

การจัดหมวดหมู่จะดูลักษณะที่เหมือน หรือคล้ายกันให้อยู่กลุ่มเดียวกัน ในแต่ละกลุ่มยังสามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้อีก ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • อันดับ(Order) ใช้ชื่อลงท้าย - virales
  • วงศ์(Family) ใช้ชื่อลงท้าย - viridae
  • วงศ์ย่อย(Subfamily) ใช้ชื่อลงท้าย - virina
  • สกุล(Genus) ใช้ชื่อลงท้าย - virus

ยกตัวอย่างการจัดหมวดหมู่ของไวรัสแบบง่ายๆ

  1. DNA virus
    • Family Poxviridae  เช่น Variola virus ก่อโรคฝีดาษ
    • Family Herpesviridae  เช่น Herpes simplex virus ก่อโรคเริม
    • Family Hepadnaviridae  เช่น Hepatitis B virus ก่อโรคไวรัสตับอักเสบ บี
    • Family Papillomaviridae เช่น Human papillomavirus ก่อโรคมะเร็งปากมดลูก
  2. RNA virus
    • Family Rhabdoviridae  เช่น Rabies virus ก่อโรคพิษสุนัขบ้า
    • Family Orthomyxoviridae  เช่น Influenza virus ก่อโรคไข้หวัดใหญ่
    • Family Retroviridae  เช่น Human immunodeficiency virus ก่อโรคเอดส์
    • Family Picornaviridae เช่น Poliovirus ก่อโรคโปลิโอ

การเพิ่มจำนวนของไวรัส

  1. การเกาะติด (Attachment) ไวรัสจะใช้โปรตีนที่จำเพาะจับกับตัวรับของเซลล์โฮสต์
  2. การเข้าสู่เซลล์ (Penetration) หลังจากที่ไวรัสจับกับตัวรับที่เยื่อหุ้มเซลล์ของโฮสต์แล้ว ไวรัสจะเข้าสู่ด้านในเซลล์โดยมีกลไกการเข้าเซลล์ 3 แบบ ดังนี้
    1. Direct pentration: กลไกนี้เกิดขึ้นกับไวรัสที่ไม่มีเปลือกหุ้ม (Naked virus) และมีขนาดเล็ก จะมีการเปลี่ยนแปลงที่แคพสิดก่อนจะปล่อยสารพันธุกรรมเข้าไปในเซลล์
    2. Endocytosis: เป็นกลไกที่พบบ่อย เมื่อโปรตีนของไวรัสกับตัวรับจะเกิดการกระตุ้นให้เยื่อหุ้มเซลล์โค้งงอมาโอบล้อมอนุภาคไวรัสเข้าสู่เซลล์
    3. Fusion: พบได้ในไวรัสที่มีเปลือกหุ้ม (Enveloped virus) เปลือกหุ้มของไวรัสจะหลอมรวกับเยื่อหุ้มเซลล์ของโฮสต์จนพาไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้
  3. การถอดเปลือกโปรตีน (Uncoating) การถอดแคปสิดสามารถเกิดขึ้นพร้อมกับการเข้าสู่เซลล์ของไวรัส หรือเกิดหลังจากที่ไวรัสเข้าสู่เซลล์แล้ว ขั้นตอนนี้สารพันธุกรรมของไวรัสจะถูกปล่อยออกจากแคปสิดเพื่อเข้าสู่กระบวนการต่อไป
  4. สังเคราะห์ส่วนประกอบและเพิ่มจำนวนของไวรัส
  5. การประกอบส่วนประกอบของไวรัส (Assembly) เมื่อมีปริมาณโปรตีนและปริมาณจีโนมที่เหมาะสม จะมีการรวมกันที่บริเวรณนิวเคลียส หรือไซโตพลาสซึมของเซลล์
  6. การเจริญเติบโตเต็มที่ (Maturation) ระยะนี้จะได้ไวรัสที่สมบุูรณ์มีความสามารถให้การติดเชื้อ
  7. การออกจากเซลล์ (Release) ไวรัสที่มีเปลือกหุ้ม (Enveloped virus) ต้องการเปลือกเพื่อหุ้มแคปสิดอีกชั้น ทำให้ต้องแทรกตัวตามเยื่อบุเซลล์แล้วออกจากเซลล์โดยการแตกหน่อ (Budding) ส่วนไวรัสที่ไม่มีเปลือกหุ้ม (Naked virus) จะออกนอกเซลล์ เลยทำให้เซลล์แตกและปลดปล่อยไวรัสออกมา

การตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส

  1. ระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ (Non-specific immunity)
    • อินเตอร์ฟีรอน (Interferon) เป็นสารที่ร่างกายจะหลั่งออกมาเมื่อมีการติดเชื้อโรคต่างๆ เพื่อยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสและกระตุ้นให้เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน
    • เซลล์เพชฌฆาต (Natural Kill cell (NK cell)) เป็นเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันที่ทำลายเชื้อโรคแบบไม่จำเพาะ ในเซลล์ปกติจะมีการแสดงออกของโมเลกุล MHC class I ทำให้เซลล์เพชฌฆาตไม่ทำลายเซลล์ที่ปกติ แต่ในเซลล์ที่มีการติดเชื้อไวรัส เซลล์นั้นการแสดงออกของโมเลกุล MHC class I จะลดลงส่งผลให้เซลล์เพชฌฆาตเข้ามาทำลายได้
  2. ระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ (Specific immunity)
    • แอนติบอดี (Antibody) ระบบภูมิคุ้มกันนี้จะสร้างแอนติบอดีที่จำเพาะกับอนุภาคและเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสมาจับไว้ เพื่อชักนำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวที่เกี่ยวข้องมาทำลายต่อไป นอกจากนี้แอนติบอดีเมื่อจับกับอนุภาคของไวรัสยังช่วยลบล้างฤทธิ์ของไวรัสได้ด้วย เช่น ป้องกันไม่ให้ไวรัสจับกับตัวรับบนผิวเซลล์โฮสต์ ยับยั้งการเข้าสู่เซลล์ของไวรัส ส่งผลให้ไวรัสไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้
    • ไซโตทอกซิกทีเซลล์ (Cytotoxic T cell) เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีหน้าที่ในการกำจัดเซลล์ที่มีการติดเชื้อ เซลล์ที่ติดเชื้อจะนำหน่วยย่อยของโปรตีน (Peptide) ของไวรัสที่สร้างขึ้นภายในเซลล์ออกมาจำเสนอที่โมเลกุล MHC class I บนผิวเซลล์ที่ติดเชื้อ ทำให้ Cytotoxic T cell หลั่งโปรตีนกระตุ้นให้เซลล์ที่ติดเชื้อให้ตาย

การหลบหลีกของเชื้อไวรัส

  1. หลบหลีกเซลล์เพชฌฆาต (Natural Kill cell (NK cell)) เช่น Cytomegalovirus ไวรัสนี้กระตุ้นเซลล์ที่ติดเชื้อให้สร้างโมเลกุล MHC class I เพื่อหลีกหนีการทำลายของเซลล์เพชฌฆาต
  2. หลบหลีกแอนติบอดี (Antibody) เช่น Influenza virus ไวรัสจะเปลี่ยนแปลงแอนติเจนบนผิว ทำให้แอนติบอดีไม่สามารถจับอนุภาคไวรัสได้
  3. หลบหลีกไซโตทอกซิกทีเซลล์ (Cytotoxic T cell) เช่น Cytomegalovirus ยับยั้งการสร้างโมเลกุล MHC class I ทำให้ไม่สามารถนำเสนอหน่วยย่อยของโปรตีนของไวรัสได้

อ่านเพิ่มเติม: ทำไมไวรัสถึงมีความแข็งแรงมากขึ้นเรื่อยๆ 

โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส

ดังที่ได้กล่าวมาว่า เชื้อไวรัสมีมากมายหลายชนิดจึงสามารถก่อเกิดโรคได้มากมาย ที่เป็นอันตราย ได้แก่ 

อ่านเพิ่มเติม: ความแตกต่างระหว่างไข้หวัดใหญ่ที่เกิดจากไวรัสและแบคทีเรีย

การทำให้เชื้อไวรัสเสื่อมสภาพ

เมื่อไวรัสอาศัยอยู่ตามสิ่งแวดล้อม หรือนอกเซลล์จะถูกทำลายได้อย่างรวดเร็ว ปัจจัยที่ทำให้ไวรัสเสื่อมสภาพได้มีดังนี้

ความร้อน โดยมีรายละเอียดดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ที่ 50-60 องศาเซลเซียส สามารถอยู่ได้นาน 30 นาที ยกเว้น Hepatitis virus, Adenostellite virus
  • ที่ 37 องศาเซลเซียส สามารถ อยู่ได้นานนาน 2-3 ชั่วโมงสำหรับไวรัสที่ไม่เปลือกหุ้ม แต่ไวรัสที่มีเปลือกหุ้มจะถูกทำลายได้อย่างรวดเร็ว
  • ที่ 4 องศาเซลเซียส สามารถอยู่ได้นานเป็นวัน
  • ที่ -70 องศาเซลเซียส สามารถอยู่ได้นานเป็นปี

ความเป็นกรด-ด่าง ไวรัสจะเจริญเติบโตได้ดีที่ค่า pH (ค่าความเป็นกรด-ด่าง) ที่ 5.0-9.0 ดังนั้นสารละลายที่เป็นด่างสามารถทำลายเชื้อไวรัสได้

การฉายรังสี ได้แก่ รังสีแกมมา รังสีอุลตราไวโอเลต (Ultra violet (UV)) และรังสีเอกซเรย์ (X-ray)

สารลดแรงตึงผิว สามารถยับยั้งไวรัสที่มีเปลือกหุ้ม เช่น อีเทอร์ (Ether) แอลกอฮอล์ (Alcohol)

สารเคมีกลุ่มฟอร์มัลดีไฮด์ สารเคมีจะทำลายกรดนิวคลีอิกของไวรัส

วิธีป้องกันการติดเชื้อไวรัส

  • รับวัคซีนป้องกันในโรคสำคัญ เช่น ไวรัสตับอักเสบบี โปลิโอ หัด คางทูม ไข้สมองอักเสบ โรคไช้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่
  • รับวัคซีนเพิ่มเติม เมื่อมีการระบาดของโรค หรือในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
  • สำหรับโรคที่มีพาหะนำโรค เช่น ไข้เลือดออก สามารถป้องกันได้โดยกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายซึ่งเป็นพาหะ
  • ปฏิบัติตนให้แข็งแรงอยู่เสมอ เช่น ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ 
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักสดและผลไม้สด
  • ปฏิบัติตนให้ถูกสุขลักษณะ เช่น การรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ล้างมือให้ถูกวิธีให้บ่อยครั้ง รักษาความสะอาดในการขับถ่าย ไม่ใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
  • พักผ่อนให้เพียงพอ 
  • หลีกเลี่ยงการไปอยู่ในสถานที่แออัดด้วยผู้คน
  • ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการระบาดของโรคอยู่เสมอเพื่อรับทราบข้อปฏิบัติตนที่ถูกต้อง

อ่านเพิ่มเติม: วิธีการดูแลตัวเองในฤดูฝน ให้ห่างไกลจากโรคไข้หวัด

ไวรัสแม้จะเป็นจุลินทรีย์ที่สามารถก่อโรคได้มากมาย แต่หากเรารู้จักดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรง รุ้จักป้องกันตนเองจากปัจจัยเสี่ยงในการก่อโรคต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมแล้ว ไวรัสก็ไม่อาจทำร้ายร่างกายเราได้ 

หรือหากโชคร้ายติดเชื้อขึ้นมาจริงๆ ความรุนแรงของอาการเจ็บป่วย หรือโรค ย่อมลดน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้ป้องกันตนเองด้วยวิธีใดๆ เลย 

ดูแพ็กเกจฉีดวัคซีนป้องกันโรค เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android

รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ดลฤดี สงวนเสริมศรี. ไวรัสวิทยาทางการแพทย์พื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558.
Verhoef J., Snippe H. Immune response in human pathology: infections caused by bacteria, viruses, fungi, and parasites. 2nd ed. Switzerland: Birkhäuser Basel, 2005.
Fauque CM, Mayo MA, Maniloff J, Desselberger U, Ball LA. Virus taxonomy. VII the report of the International Committee on Taxonomy of Virus. Academic Press: Elsevier, 2005.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป