น้ำหนักเพิ่มโดยไม่ทราบสาเหตุ

เผยแพร่ครั้งแรก 20 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
น้ำหนักเพิ่มโดยไม่ทราบสาเหตุ

น้ำหนักเพิ่มโดยไม่ทราบสาเหตุนั้นเป็นภาวะที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มโดยที่ไม่ได้มีการรับประทานอาหาร หรือน้ำเพิ่มขึ้น และไม่ได้ลดกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน ส่วนมากมักเกิดจากการที่มีสารน้ำสะสมในร่างกาย, การเจริญเติบโตที่ผิดปกติ ท้องผูกหรือตั้งครรภ์ ภาวะอาจจะเกิดขึ้นเป็นช่วงๆ เกิดขึ้นแบบต่อเนื่องหรือเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วก็ได้

ภาวะน้ำหนักตัวเพิ่มโดยไม่ทราบสาเหตุแบบช่วงๆ นั้นมีการที่น้ำหนักตัวแกว่งเป็นประจำ ตัวอย่างเช่นในเวลาที่มีประจำเดือน การตั้งครรภ์นั้นก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้เช่นกันแต่ช่วงของรอบนั้นจะนานขึ้นเป็น 9 เดือน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนั้นอาจจะเกิดจากผลข้างเคียงของยา มีหลายกรณ๊ที่ไม่เป็นอันตราย แต่อาการบางอย่างที่พบร่วมกับการมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นนั้นอาจจะบ่งบอกว่าต้องรีบรักษา

สาเหตุที่ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น

การตั้งครรภ์

เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด แต่ผู้หญิงส่วนใหญ่นั้นก็มักจะตั้งใจรับประทานมากขึ้นสำหรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ในระหว่างที่ตั้งครรภ์ ผู้หญิงส่วนใหญ่นั้นจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเมื่อทารกโตขึ้นเรื่อยๆ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นน้ำหนักของทารก รก น้ำคร่ำ เลือดที่เพิ่มขึ้น และมดลูกที่ใหญ่ขึ้น

การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน

ในช่วงระหว่าง 45-55 ปี ผู้หญิงจะเริ่มเข้าสู่ช่วงวัยทอง ในระหว่างที่มีประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการมีประจำเดือนและการตกไข่นั้นจะค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ และเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยทอง ระดับเอสโตรเจนนั้นก็จะต่ำเกินกว่าที่จะกระตุ้นให้เกิดประจำเดือน

การที่มีเอสโตรเจนต่ำลงนั้นทำให้ผู้หญิงที่เข้าสู่วัยทองนั้นมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้โดยเฉพาะในช่วงรอบเอวและสะโพก นอกเหนือจากเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนในผู้หญิงวัยทองแล้ว ผู้หญิงที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคถุงน้ำในรังไข่ก็อาจจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน

  • การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในช่วงวัยกลางคนนั้นยังอาจทำให้กระบวนการเผาผลาญในร่างกายนั้นช้าลง และทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
  • ภาวะอื่นๆ ที่ส่งผลต่อระดับฮอร์โมนสามารถทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นในทั้ง 2 เพศได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น
  • ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ
  • กลุ่มอาการ Cushing
  • การสร้างฮอร์โมน cortisol เพิ่มขึ้น

การมีประจำเดือน

การที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเป็นช่วงๆ นั้นมักจะเกิดจากการมีรอบเดือน ผู้หญิงจะมีสารน้ำคั่งอยู่ในตัวเพิ่มขึ้นในช่วงที่มีประจำเดือน การเปลี่ยนแปลงระดับของเอสโตรเจนและ progesterone นั้นก็อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่โดยปกติแล้วมักจะเพิ่มขึ้นในปริมาณเล็กน้อย

น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นนี้จะลดลงเมื่อรอบเดือนรอบนั้นหมด และมักจะเกิดขึ้นอีกครั้งในเดือนถัดไปเวลาที่มีประจำเดือน และบางครั้งอาจจะเกิดในระหว่างที่มีการตกไข่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สารน้ำคั่งในร่างกาย

น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นนั้นอาจจะเกิดจากการที่มีสารน้ำคั่งในร่างกาย ซึ่งจะทำให้ขา มือ เท้า ใบหน้า และท้องนั้นดูบวมได้ ผู้ที่มีภาวะหัวใจวาย โรคไต หรือรับประทานยาบางชนิดอาจจะเกิดภาวะนี้ได้

คุณควรแจ้งแพทย์หากมีอาการบวมและน้ำหนักเพิ่มขึ้นแม้ว่าจะไม่มีอาการอื่นๆ ก็ตาม

ยา

น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นนั้นอาจจะเกิดจากการใช้ยาบางชนิดเช่น

  • Corticosteroid
  • ยาต้านเศร้า
  • ยารักษาโรคจิตเวช
  • ยาคุมกำเนิด
  • อาการของน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • อาการนั้นจะขึ้นกับสาเหตุและขึ้นกับแต่ละบุคคล อาการที่มักเกิดร่วมกับภาวะนี้มักจะเป็นอาการแน่นท้องหรือปวดท้องและท้องอืด
  • คุณอาจจะเห็นว่าท้องและส่วนอื่นๆ ของร่างกายนั้นบวมขึ้นได้
  • ควรไปพบแพทย์ทันทีหากมีอาการเหล่านี้
  • มีไข้
  • ผิวหนังไวต่อสิ่งต่างๆ
  • หายใจลำบาก
  • หายใจตื้น
  • เท้าบวม
  • ใจสั่น
  • เหงื่อออกมาก
  • มองเห็นผิดปกติ
  • น้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว

เพราะหากมีอาการเหล่านี้ร่วมกับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุอาจจะบ่งบอกถึงโรคที่เป็นอันตรายได้

จะวินิจฉัยโรคนี้ได้อย่างไร

แพทย์จะทำการซักประวัติเกี่ยวกับอาการ วิธีการใช้ชีวิต และประวัติการรักษาในอดีต และอาจจะมีการเจาะเลือดไปตรวจดูระดับฮอร์โมน การทำงานของไต และอื่นๆ เพื่อดูว่ามีความผิดปกติหรือไม่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ในบางครั้งการตรวจทางรังสีวินิจฉัยเช่นการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง เอกซเรย์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอาจจำเป็น

วิธีการรักษา

มีหลายวิธีที่สามารถใช้รักษาภาวะนี้ได้ วิธีที่ดีที่สุดนั้นจะขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น

หากเกิดจากระดับฮอร์โมนที่ไม่สมดุล แพทย์อาจจะสั่งจ่ายยาเพื่อช่วยปรับฮอร์โมน ยานี้จะขึ้นกับว่าอาการนั้นเกิดจากฮอร์โมนใดและบางครั้งอาจจะต้องใช้ในระยะยาว

หากเกิดจากยา แพทย์อาจจะแนะนำให้เปลี่ยนยา


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ศ.นพ.ประเสริฐ อัสสันตชัย, น้ำหนักลดในผู้สูงอายุ (https://www.si.mahidol.ac.th/project/geriatrics/knowledge_article/knowledge_healthy_6_002.html)
Mayo Clinic Staff. (2016). Menopause weight gain: Stop the middle age spread. (https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/womens-health/in-depth/menopause-weight-gain/art-20046058)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาการก่อนเป็นประจําเดือน
อาการก่อนเป็นประจําเดือน

อย่าด่วนตัดสินว่า ขี้เหวี่ยง ขี้วีน ขี้กังวล ร้องไห้ง่าย คือนิสัยของผู้หญิง แท้ที่จริงอาจมาจากพีเอ็มเอสก็ได้

อ่านเพิ่ม
PMS พีเอมเอส อาการหงุดหงิดขั้นรุนแรง ก่อนที่จะมีประจำเดือน
PMS พีเอมเอส อาการหงุดหงิดขั้นรุนแรง ก่อนที่จะมีประจำเดือน

รู้จัก เข้าใจ และพร้อมรับมือกับทุกอาการพีเอ็มเอส...หนักแค่ไหนก็เอาอยู่

อ่านเพิ่ม