วิตามินบี 3

ประโยชน์ของวิตามินบี 3 นอกจากจะช่วยเรื่องบำรุงผิวพรรณแล้ว ยังช่วยเผาผลาญไขมัน และป้องกันการปวดศีรษะจากไมเกรนได้อีกด้วย!
เผยแพร่ครั้งแรก 6 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 10 ต.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
วิตามินบี 3

วิตามินบี 3 เป็นหนึ่งในส่วนประกอบที่มักพบในผลิตภัณฑ์บำรุงผิวทั่วไป แต่รู้หรือไม่ว่า นอกจากสรรพคุณในด้านความสวยความงามแล้ว วิตามินบี 3 ยังมีประโยชน์ต่อร่างกายอีกหลากหลายด้าน

วิตามินบี 3 คืออะไร?

วิตามินบี 3 หรือที่เรารู้จักกันในชื่อไนอะซิน (Niacin) เป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ มีหน่วยวัดเป็นมิลลิกรัม (มก.) ไนอะซินสามารถถูกสร้างขึ้นได้โดยวิตามินบี 2 และวิตามินบี 6 เปลี่ยนกรดอะมิโนทริปโตเฟน (Tryptophan) เป็นไนอะซิน ดังนั้น ผู้ที่ขาดวิตามินบี 2 และวิตามินบี 6 จึงได้รับวิตามินบี 3 หรือไนอะซิน น้อยลงหรือไม่ได้ไปด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

วิตามินบี 3 เป็นหนึ่งในวิตามินไม่กี่ตัวที่ค่อนข้างเสถียรในอาหาร ทนต่อกระบวนการปรุงอาหาร และการเก็บรักษา

ประโยชน์ของวิตามินบี 3  

  • วิตามินบี 3 เป็นส่วนประกอบของ โคเอนไซม์ (coenzyme) 2 ชนิด คือ NAD+ และ NADP+  ซึ่งเป็นสารสำคัญในการสร้างและย่อยสลายของเซลล์ (cellular metabolism) ในร่างกาย 
  • มีส่วนช่วยในการใช้พลังงานจากโปรตีนและไขมัน 
  • ช่วยให้ระบบประสาทและสมองทำงานเป็นปกติ 
  • ช่วยบำรุงผิว และเส้นผม
  • ช่วยเรื่องผิวหนังแห้งเมื่อเจอแสงแดด 
  • ช่วยให้การทำงานของเอนไซม์เป็นปกติ
  • ช่วยลดคอเลสเตอรอล (Cholesterol) และไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) และช่วยเพิ่ม HDL (คอเลสเตอรอลดี) ให้มากขึ้น
  • ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น

โรคจากการขาดวิตามินบี 3

โรคเพลลากร้า (Pellagra) หรือ classic triad (3D)  มีอาการดังต่อไปนี้

1. Diarrhea:  เยื่อบุทางเดินอาหารอักเสบ ปากลิ้นอักเสบ 

2. Dermatitis: ผิวหนังที่ถูกแดดจะผิดปกติ

3. Dementia: รู้สึกสัมผัสผิดปกติ นอนไม่หลับ ซึมเศร้า ความจำเสื่อมและสับสน

ปริมาณของวิตามินบี 3 ที่ควรได้รับในแต่ละวัน

  • เด็กทารก: 5-6 มิลลิกรัม
  • เด็ก: 9-13 มิลลิกรัม
  • ผู้ใหญ่: 13-20 มิลลิกรัม
  • สตรีมีครรภ์: 17 มิลลิกรัม
  • สตรีให้นมบุตร : 20 มิลลิกรัม

แหล่งวิตามินบี 3 จากธรรมชาติ

ปลา เนื้อไม่ติดมัน ผลิตภัณฑ์โฮลวีท บริวเวอร์ยีสต์ ตับ จมูกข้าวสาลี ปลา ไข่ พืชตระกูลถั่ว เนื้อขาวจากพวกสัตว์ปีก อะโวคาโด อินทผลัม มะเดื่อฝรั่ง ลูกพรุน

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารวิตามินบี 3

รูปแบบของวิตามินบี 3 ได้แก่ รูปแบบเม็ด แคปซูล และผง ขนาด 50-1,000 มิลลิกรัม

ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมวิตามินบีรวม มักมีวิตามินบี 3 หรือไนอะซินผสมอยู่ด้วย 50-500 มิลลิกรัม (สามารถดูรายละเอียดได้ที่ฉลาก)

ข้อควรระวัง

  • ควรระวังในผู้แพ้วิตามินบี 3
  • อาการข้างเคียงของการรับประทานวิตามินบี 3 ที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ อาการตัวร้อนแดง (flushing) ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณหน้าหรือส่วนบนของร่างกาย และในบางรายที่เกิดอาการรุนแรงอาจทำให้เกิดอาการใจสั่น หายใจเร็ว บวม รู้สึกแสบร้อนบริเวณผิว และเป็นลมได้
  • ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาขณะท้องว่าง เพื่อลดอาการข้างเคียง
  • ไม่ควรรับประทานพร้อมกับยาแอสไพริน (aspirin) ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างสารพรอสตาแกลนดิน (prostaglandins)
  • ไม่ควรได้รับพร้อมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากอาจเพิ่มความรุนแรงของอาการข้างเคียง
  • ห้ามใช้ร่วมกับยากลุ่มซัลฟา (Sulfonamides) ยานอนหลับ และฮอร์โมนเอสโตรเจน

9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
โรงพยาบลากรุงเทพ, วิตามิน สารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญต่อร่างกาย (https://www.bangkokhospital.com/th/health-tips/vitamin-deficiency)
หน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ตอบปัญหาเรื่องยาโดยเภสัชกรหน่วยคลังข้อมูลยา (https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/dic/qa_full.php?id=4562)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาการร้อนวูบวาบ เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง
อาการร้อนวูบวาบ เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง

หากเคยรู้สึกเดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว บางครั้งก็เหงื่อออกเยอะ หรือรู้สึกกระวนกระวาย นั่นคืออาการร้อนวูบวาบที่ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้

อ่านเพิ่ม