การเลือกวิธีคุมกำเนิดสำหรับผู้ที่พบก้อนในเต้านม

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การเลือกวิธีคุมกำเนิดสำหรับผู้ที่พบก้อนในเต้านม

หลักเกณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับการเลือกวิธีคุมกำเนิด (Medical Eligibility Criteria for Contraceptive Use) ฉบับปรับปรุงปี ค.ศ.2017 ที่เผยแพร่โดยกองควบคุมโรคของสหรัฐอเมริกา (U.S. CDC) แนะนำเกี่ยวกับการเลือกวิธีคุมกำเนิดสำหรับผู้ที่พบก้อนในเต้านม ดังนี้

 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท


ประเภท

ห่วงอนามัย

ชนิดหุ้ม

ทองแดง

(Cu-IUD)

ห่วงอนามัย

ชนิดเคลือบ

ฮอร์โมน

(LNG-IUD)

ยาฝัง

คุมกำเนิด

(Implant)

ยาฉีด

คุมกำเนิด

ชนิด 3 เดือน

(DMPA)

ยาเม็ด

สูตรฮอร์โมน

โปรเจสติน

(POP)

ยาคุมฮอร์โมน

รวมทุกชนิด

(CHC)

ยังไม่สามารถวินิจฉัยได้

(Undiagnosed mass)

1

2

2*

2*

2*

2*

ก้อนที่เต้านมชนิดไม่ร้ายแรง (Benign breast disease)

1

1

1

1

1

1

คนในครอบครัวเคยเป็นมะเร็ง

(Family history of cancer)

1

1

1

1

1

1

ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

 

กำลังเป็นอยู่

(Current)

1

4

4

4

4

4

รักษาหายแล้ว และไม่พบการกลับเป็นซ้ำอีกใน 5 ปี

(Past and no evidence of current disease for 5 years)

1

3

3

3

3

3

หมายเหตุ : ความหมายของการแบ่งประเภทการใช้

ประเภท

นิยาม

ข้อสรุป

U.S. MEC 1

ไม่มีข้อจำกัด (สามารถใช้วิธีนี้ได้)

ใช้ได้ ไม่มีข้อจำกัด

U.S. MEC 2

มีความเสี่ยงในทางทฤษฎี หรือผ่านการพิสูจน์แล้วว่ามีความเสี่ยง แต่โดยทั่วไป ถือว่าประโยชน์ที่จะได้รับมีเหนือกว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

ใช้ได้ แต่ควรมีการ

ตรวจติดตามผล

U.S. MEC 3

มีความเสี่ยงในทางทฤษฎี หรือผ่านการพิสูจน์แล้วว่ามีความเสี่ยง และไม่คุ้มค่ากับประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้

ควรหลีกเลี่ยงการใช้

เว้นแต่ไม่มีทางเลือกอื่น

U.S. MEC 4

มีความเสี่ยงต่อสุขภาพซึ่งยอมรับไม่ได้ (ใช้วิธีนี้ไม่ได้)

ห้ามใช้โดยเด็ดขาด

จะเห็นได้ว่า ผู้ที่พบก้อนในเต้านม หากตรวจแล้วไม่ใช่มะเร็ง ก็สามารถใช้วิธีคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมนวิธีต่าง ๆ ได้นะคะ และแม้จะมีบุคคลในครอบครัวป่วยด้วยโรคมะเร็ง ก็ไม่ได้มีข้อจำกัดใด ๆ ในการใช้ค่ะ นั่นคือ มี U.S.MEC = 1

หรือมี U.S.MEC = 2 คือ ใช้ได้ ในกรณีที่ยังไม่สามารถระบุชนิดของก้อนในเต้านมได้แน่ชัด แต่ควรตรวจติดตามผลการใช้อย่างต่อเนื่อง หรือรับการตรวจวินิจฉัยก้อนในเต้านมโดยเร็วที่สุดที่เป็นไปได้

แต่สำหรับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยแล้วว่าเป็นมะเร็งเต้านม จะห้ามใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิดทุก ๆ วิธีค่ะ (U.S.MEC = 4) ไม่ว่าจะเป็นชนิดฮอร์โมนรวมที่มีทั้งเอสโตรเจนและโปรเจสติน หรือจะเป็นชนิดที่มีเฉพาะโปรเจสตินอย่างเดียวก็ตาม เนื่องจากอาจส่งผลให้การพยากรณ์โรคเลวร้ายไปยิ่งกว่าเดิม

แม้กระทั่งจะมีการรักษามะเร็งเต้านมจนหายดีแล้ว และไม่พบการกลับเป็นซ้ำเมื่อติดตามผลต่อมาอีก 5 ปี ก็ยังแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิดทุก ๆ วิธีเหมือนเดิมนะคะ (U.S.MEC = 3)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สำหรับผู้ป่วย หรือเคยป่วย ด้วยโรคมะเร็งเต้านม ทางเลือกในการคุมกำเนิดชั่วคราว จึงควรใช้วิธีที่ไม่ใช้ฮอร์โมนใด ๆ นั่นเองค่ะ เช่น การใช้ถุงยางอนามัย หรือถ้าต้องการวิธีคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า และมีผลป้องกันในระยะยาว การไปพบสูตินรีแพทย์เพื่อพิจารณาการใส่ห่วงอนามัยชนิดหุ้มทองแดง ก็เป็นทางเลือกที่ดีกว่านะคะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Do Hormonal Contraceptives Increase Breast Cancer Risk?. Breastcancer.org. (https://www.breastcancer.org/research-news/do-hormonal-contraceptives-increase-risk)
Combined Hormonal Contraceptives. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/reproductivehealth/contraception/mmwr/mec/appendixd.html)
Risks and Benefits of Oral Contraceptives: Will Breast Cancer Tip the Balance?. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK234345/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)