กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ปวดข้อ อาการกวนใจที่ปล่อยไว้ไม่ดีแน่!

พาไปทำความรู้จักกับอาการปวดข้อ สาเหตุเกิดจากอะไร เมื่อเกิดขึ้นแล้วควรทำอย่างไรดี
เผยแพร่ครั้งแรก 18 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 22 ธ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ปวดข้อ อาการกวนใจที่ปล่อยไว้ไม่ดีแน่!

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการปวดข้อ สามารถเกิดขึ้นได้กับข้อต่อทั่วร่างกาย ตั้งแต่ข้อต่อเล็กๆ อย่างนิ้วมือ นิ้วเท้า ข้อมือ ไปจนถึงข้อต่อขนาดใหญ่อย่างข้อไหล่ ข้อเข่า ข้อสะโพก
  • อาการปวดข้อ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น อุบัติเหตุ ความเสื่อมตามอายุ การทำงาน การเล่นกีฬา การยกของหนัก การติดเชื้อ หรือโรคบางชนิด
  • เมื่อมีอาการปวดข้อ ควรพักใช้ข้อต่อที่มีอาการปวด ซึ่งปกติแล้ว อาการจะค่อยๆ ดีขึ้นเอง แต่หากมีอาการปวดข้อเรื้อรัง ข้ออักเสบ หรือบวมแดง ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม
  • การรักษาอาการปวดข้อ แบ่งเป็น 2 ส่วนหลักๆ การประคับประคองตามอาการ และการรักษาที่ต้นเหตุของอาการ
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจรักษา หรือผ่าตัดกระดูกและข้อ

อาการปวดข้อ (Joint pain) เป็นอาการที่พบได้ในทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ และอาการปวดอาจเกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรังก็ได้

ความรุนแรงของอาการปวดข้อนั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ทำให้หลายครั้ง อาการปวดข้ออาจรบกวนการทำงาน การใช้ชีวิตประจำวัน หรืออาจถึงขั้นทำให้เคลื่อนไหวลำบาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ดังนั้นเมื่อเกิดอาการปวดข้อแล้ว ควรรีบรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะนอกจากจะสร้างความทรมานแล้ว ยังส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวอีกด้วย

ลักษณะของอาการปวดข้อ

อาการปวดข้อนั้นเกิดขึ้นได้กับข้อต่อทั่วร่างกาย ตั้งแต่ข้อต่อเล็กๆ อย่างนิ้วมือ นิ้วเท้า ข้อมือ ไปจนถึงข้อต่อขนาดใหญ่อย่างข้อไหล่ ข้อเข่า ข้อสะโพก

ความรุนแรงของอาการปวดข้อนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล บางคนอาจปวดเฉพาะเวลาขยับข้อต่อดังกล่าว และปวดแบบเป็นๆ หายๆ ในขณะที่บางคนอาจรู้สึกปวดตลอดเวลา 

นอกจากนี้อาการปวดข้อยังอาจมาพร้อมกับอาการอื่นๆ ที่สัมพันธ์กับสาเหตุของโรคได้ เช่น มีไข้จากการติดเชื้อ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามร่างกาย ข้อต่อบวม แดง หรือร้อน เป็นต้น

สาเหตุของอาการปวดข้อ

อาการปวดข้อเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่

  • เกิดอุบัติเหตุ เช่น ลื่นล้ม โดยอาการปวดจะเกิดกับข้อต่อที่กระทบกระเทือนเท่านั้น
  • เป็นความเสื่อมตามอายุ ซึ่งอาการปวดพบได้กับข้อต่อทั่วร่างกาย โดยเฉพาะข้อเข่า และข้อกระดูกสันหลัง จะพบอาการปวดบ่อยในผู้สูงอายุ
  • การทำงาน หรือออกแรงที่ข้อต่อซ้ำๆ เป็นเวลานาน เช่น ผู้ที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์ จะพบอาการปวดข้อมือ ข้อนิ้ว และข้อหัวไหล่ได้บ่อย
  • การเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายอย่างหนัก ทำให้ข้อต่อเฉพาะส่วนถูกใช้งานมาก เช่น คนเล่นเทนนิสอาจพบอาการปวดข้อไหล่กับข้อศอกได้
  • ข้อต่อรับน้ำหนักมากเกินไป พบในคนที่ยกของหนักบ่อยๆ หรือคนที่มีน้ำหนักตัวมาก
  • มีการติดเชื้อที่ข้อต่อ ทำให้ข้ออักเสบ ซึ่งเชื้อโรคมักลุกลามมาจากแผลที่ผิวหนัง
  • อาการจากการติดเชื้อบางชนิด เช่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ หรือแบคทีเรียโรคหนองใน
  • โรคออโตอิมมูน หรือโรคภูมิต้านทานตัวเอง เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis)
  • โรคเกาต์ (Gout) หรือเกาต์เทียม
  • มีความผิดปกติของกระดูก เช่น โรคกระดูกพรุน หรือมะเร็งกระดูก
  • เป็นผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะไอโซไนอาซิด (Isoniazid) 

การรักษาอาการปวดข้อ

การรักษาอาการปวดข้อจะแบ่งเป็น 2 ส่วนหลักๆ ได้แก่ การประคับประคองตามอาการ และการรักษาที่ต้นเหตุของอาการ ซึ่งสามารถใช้การรักษาแบบผสมผสานทั้ง 2 ส่วนได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

1. การประคับประคองตามอาการ

การประคับประคองตามอาการ คือการดูแลรักษาโดยมีเป้าหมายในการลดความทุกข์ทรมานจากอาการที่เกิดขึ้น มีหลายวิธี เช่น 

  • ใช้ยาบรรเทาอาการปวด มีทั้งรูปแบบยากิน ยาทา ยาพ่น และแผ่นแปะแก้ปวด สามารถลดอาการได้ในระยะหนึ่ง
  • รับประทานยาคลายกล้ามเนื้อ ใช้เมื่อเกิดกล้ามเนื้อหดเกร็ง ทำให้ข้อต่อถูกกดทับ และมีอาการปวด
  • ทำกายภาพบำบัด เพื่อบริหารกล้ามเนื้อและข้อต่อ รวมถึงช่วยให้การเคลื่อนไหวข้อต่อดีขึ้น

2. การรักษาที่ต้นเหตุของอาการ 

วิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น 

  • หากอาการปวดเกิดจากโรคไข้หวัดใหญ่ รักษาด้วยยาต้านไวรัส และยาแก้ปวดลดไข้ 
  • หากเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย รักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
  • หากเกิดจากข้อต่อเสื่อม รักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดเพื่อบริหารข้อต่อ และอาจจำเป็นต้องทำการผ่าตัดด้วย

การดูแลตัวเองเมื่อมีอาการปวดข้อ

  • พักใช้ข้อต่อที่มีอาการปวด โดยเฉพาะหากข้อบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ หรือจากการทำงาน
  • หากมีอาการข้ออักเสบ บวมแดง แบบเฉียบพลัน ให้ประคบเย็นที่ข้อต่อเพื่อลดอาการบวม และบรรเทาอาการปวด
  • หากมีอาการข้ออักเสบเรื้อรัง ให้ใช้การประคบร้อนวันละ 2-3 ครั้ง เพื่อให้เลือดไหลเวียนบริเวณข้อต่อได้ดี และช่วยให้การเคลื่อนไหวดีขึ้น
  • หากมีอาการปวดข้อรุนแรง สามารถรับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล ได้
  • ออกกำลังกายเบาๆ เพื่อบริหารข้อต่อ ตามคำแนะนำของแพทย์ หรือนักกายภาพบำบัด ไม่ควรไม่ออกกำลังกายเลย เพราะจะทำให้อาการปวดข้อรุนแรงขึ้นได้ โดยจะทำให้สูญเสียความยืดหยุ่น และทำให้กล้ามเนื้อที่รองรับและป้องกันข้อต่ออ่อนแรงลง
  • รักษา หรือควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุของอาการปวดอย่างเหมาะสม

การป้องกันอาการปวดข้อ

  • ระมัดระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนข้อต่อ หากต้องเล่นกีฬาหรือทำงานที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ควรใช้อุปกรณ์ป้องกัน เช่น สนับ หรือตัวพยุงข้อ
  • หลีกเลี่ยงการออกแรงที่ข้อ หรือการทำงานที่ต้องใช้ข้ออย่างต่อเนื่องโดยไม่หยุดพัก
  • หลีกเลี่ยงการยกของหนักเป็นประจำ
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ออกกำลังกายอย่างถูกวิธี เพื่อบริหารข้อต่อให้แข็งแรงและยืดหยุ่น โดยผู้ที่มีอาการปวดข้อ ควรเลือกออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกต่ำ เช่น ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เดินบนพื้นราบ
  • ในช่วงที่มีอาการปวดข้อ ควรหลีกเลี่ยงท่าออกกำลังกายที่ส่งผลกระทบต่อข้อเข่ามาก เช่น สควอท (Squats) หรือเดดลิฟต์ (Deadlift)
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่ช่วยบำรุงกระดูกและข้อ เช่น นมที่มีแคลเซียมสูง 

จะเห็นได้ว่า สาเหตุของอาการปวดข้อส่วนใหญ่มักเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม การหลีกเลี่ยงการทำพฤติกรรมดังกล่าวจึงช่วยป้องกันการเกิดอาการปวดข้อได้มาก

นอกจากการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมแล้ว ทุกคนควรที่จะดูแลตนเองควบคู่ไปด้วย โดยการออกกำลังกายอยู่เสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจรักษา หรือผ่าตัดกระดูกและข้อ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Harvard Health Publishing, Protecting your joints (https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/protecting-your-joints), 22 December 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)