ลักษณะของอาหารลดพลังงานสำหรับผู้ป่วยโรคอ้วน

เผยแพร่ครั้งแรก 27 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ลักษณะของอาหารลดพลังงานสำหรับผู้ป่วยโรคอ้วน

ส่งที่ควรพิจารณาสำหรับผู้ป่วยโรคอ้วน

อาหารลดพลังงานอาจมีลักษณะเป็นอาหารธรรมดาหรืออาหารอ่อนก็ได้ ขึ้นอยู่กับการยอมรับของผู้ป่วย การดัดแปลงอาหารพิจารณา ดังนี้

  • ปริมาณพลังงานที่ควรได้รับ
  • ปริมาณโปรตีนที่ควรได้รับ
  • ปริมาณไขมันที่ควรได้รับ
  • ปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ควรได้รับ
  • ปริมาณใยอาหารที่ควรได้รับ

ควรรับพลังงานเท่าไรในหนึ่งวัน?

ปริมาณพลังงานที่กำหนดให้ไม่ควรต่ำกว่า 1,000 กิโลแคลอรีต่อวัน กรณีกินอาหารที่มีพลังงานต่ำกว่า 1,000 กิโลแคลอรีต่อวัน จะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย และต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดโดยอาจต้องมีการเสริมวิตามินและเกลือแร่ 

การปรับลดอาหารที่ให้พลังงานต่ำกว่าปกติจากที่เคยบริโภคลง 500 กิโลแคลอรีต่อวัน จะทำให้น้ำหนักลดลงประมาณ 0.5 กิโลแคลอรีต่อสัปดาห์  โดยทั่วไปแพทย์มักจะสั่งอาหารให้มี พลังงานต่ำกว่าที่เคยได้รับปกติ ซึ่งอาจจะสั่ง 1,000 - 1,200 กิโลแคลอรีต่อวันหรืออาจต่ำกว่านี้

สารอาหารประเภทใดที่จำเป็นต่อร่างกาย

โปรตีนในอาหารควรเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพราะการลดลงปริมาณโปรตีนลงจะทำให้มีการสลายกล้ามเนื้อมาใช้เป็นพลังงานทดแทน ดังนั้นปริมาณโปรตีนที่ควรได้รับไม่ควรน้อยกว่า 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน หรือปริมาณ 20- 25 เปอร์เซ็นต์ของพลังงานที่ได้รับ และควรเป็นโปรตีนที่มีไขมันต่ำ เช่น อกไก่ ปลา ถั่วเมล็ดแห้ง เป็นต้น

ปริมาณไขมันต้องจำกัดให้ลดลงกว่าปกติ คือ ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของพลังงานที่ได้รับในแต่ละวัน หรือปริมาณ 25-60 กรัมต่อวัน หลีกเลี่ยงการจัดอาหารที่มีไขมันสูง อาหารที่ต้องใช้กะทิ เช่น แกงเผ็ด พะแนงขนมที่ใส่กะทิ เป็นต้น

ร่างกายควรได้รับคาร์โบไฮเดรตไม่น้อยกว่า 100 กรัมต่อวัน เพื่อป้องกันภาวะเป็นกรดในร่างกาย เนื่องจากมีสารคีโตนที่เกิดจากร่างกายขาดคาร์โบไฮเดรต ทำให้การเผาผลาญของไขมันที่ไม่สมบูรณ์ขึ้น คาร์โบไฮเดรตที่ได้รับประทานควรเป็นประเภท Complex carbohydrate  เช่น ผัก ผลไม้และอาหารที่มีใยอาหารสูง ๆ เพื่อช่วยให้อิ่มได้นาน นอกจากนี้ต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่ใส่น้ำตาล หรืออาหารที่หวานจัด เช่น ผลไม้เชื่อม ผลไมแช่อิ่ม ทองหยอด ฝอยทอง เป็นต้น

อาหารที่ควรจัดให้มีใยอาหารเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยลดพลังงานและทำให้อิ่มอยู่ได้นาน ขณะเดียวกันลดการดูดซึมพลังงานของอาหาร อาหารจึงควรจัดให้มีผักมากขึ้น

อาหารลดพลังงาน เป็นอาหารที่มีการกำจัดไม่แตกต่างไปจากอาหารธรรมดาเพื่อให้ได้ผลในการลดน้ำหนัก รายการอาหารจึงสามารถนำมาใช้ร่วมกัน ดังตัวอย่างรายการอาหารลดพลังงานในตารางที่ 6.10

ตารางที่ 6.10 ตัวอย่างรายการอาหารธรรมดาเปรียบเทียบกับอาหารลดพลังงาน

มื้ออาหาร

อาหารธรรมดา

อาหารธรรมดาลดพลังงาน

เช้า

ข้าวต้ม

ผัดผักบุ้ง

ยำปลากรอบ

นมสด

ข้าวต้ม

ต้มจับฉ่าย

ยำกุ้งแห้ง

นมสดพร่องมันเนย

กลางวัน

เส้นใหญ่ผัดซีอิ๊วหมู

กล้วยบวชชี

น้ำส้มคั้น

เส้นใหญ่ราดหน้ากุ้ง

มะม่วงดิบ

น้ำส้มคั้น

เย็น

ข้าวสวย

แกงส้มผักรวมปลาช่อนทอด

ผัดคะน้าหมูกรอบ

แกงบวดฟักทอง

ข้าวสวย

แกงส้มผักรวมกุ้ง

ผัดคะน้าปลาเค็ม

ไอศกรีมเชอร์เบตมะนาว


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
DIETARY MANAGEMENT OF OBESITY: CORNERSTONES OF HEALTHY EATING PATTERNS. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5726407/)
Food and Diet. Harvard T.H. Chan School of Public Health. (https://www.hsph.harvard.edu/obesity-prevention-source/obesity-causes/diet-and-weight/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป