กภ. ธีรวิทย์ วิโรจน์วิริยะกุล นักกายภาพบำบัด
เขียนโดย
กภ. ธีรวิทย์ วิโรจน์วิริยะกุล นักกายภาพบำบัด

กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscle Weakness)

เผยแพร่ครั้งแรก 7 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 18 ธ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง คือ ภาวะที่กล้ามเนื้อในร่างกายอ่อนกำลังลง ทำให้ความสามารถในการขยับเคลื่อนไหวร่างกายไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรืออาจขยับตัวไม่ได้เลย
  • โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงสามารถพบได้ในกลุ่มผู้ที่มีร่างกายกำยำแข็งแรง แต่มาจากการออกกำลังกายอย่างไม่เหมาะสม จนกล้ามเนื้อในส่วนลึกเสียสมดุล
  • ผู้ที่ประสบอุบัติเหตุจนเนื้อสมองเสียหาย มีเลือดออกในสมอง หรือกระดูกสันหลังได้รับบาดเจ็บ มักมีความเสี่ยงเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง จนอาจส่งผลให้มีอาการอ่อนแรงที่ร่างกายซีกใดซีกหนึ่ง หรือไม่สามารถขยับร่างกายได้เลย
  • การทำกายภาพบำบัด และออกกำลังกายเพื่อการรักษา คือ วิธีรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงให้ดีขึ้น รวมถึงฝึกให้ผู้ป่วยหัดใช้กล้ามเนื้อส่วนอื่นในการเคลื่อนไหว และยังช่วยชะลออาการพิการให้เกิดขึ้นช้าลง
  • ผู้สูงอายุ คือ อีกกลุ่มเสี่ยงที่มักเกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งวิธีป้องกันได้ คือ ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อ และให้กล้ามเนื้อได้ทำงานอย่างสม่ำเสมอ แต่ต้องเป็นไปตามความเหมาะสมของอายุ และโรคประจำตัว
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจทำกายภาพบำบัดและนวดเพื่อรักษา

กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยเป็นอันดับต้นๆ ในคลินิกกายภาพบำบัดบัด โดยสาเหตุของการเกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงมีหลากหลายมาก เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรงจากการทำงานไม่สมดุลกันของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรงจากโรคหลอดเลือดสมอง 

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงสามารถพบได้ในกลุ่มคนทั่วไป ไปจนถึงกลุ่มนักกีฬาที่มีกล้ามเนื้อสมบูรณ์ โดยอาจมีอาการเริ่มต้นเป็นอาการปวด หรือชา ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ จนหลังจากนั้นจึงถูกวินิจฉัยว่า เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ความหมายของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscle weakness) คือ ภาวะที่กำลังของกล้ามเนื้อลดลง ทำให้ความสามารถในการทำงานของกล้ามเนื้อลดลง อาจเป็นเพียงอ่อนแรงลงเล็กน้อย หรือรุนแรงถึงขั้นไม่สามารถขยับได้เลย 

สาเหตุของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

กล้ามเนื้ออ่อนแรงสามารถแบ่งได้ด้วยหลายเกณฑ์ ในที่นี้จะขอแบ่งตามพยาธิสภาพแบบกว้างๆ ให้เข้าใจง่ายเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

1. กล้ามเนื้ออ่อนแรงที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากความผิดปกติของระบบประสาท (General weakness or disuse atrophy)

อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงในกลุ่มนี้พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เพราะเมื่อคุณอายุมากขึ้น การเคลื่อนไหวร่างกายในการทำกิจกรรมต่างๆ ก็น้อยลง ทำให้มวลของกล้ามเนื้อลดลง ส่งผลให้กำลังของกล้ามเนื้อลดลงด้วย (Disuse atrophy) 

นอกจากนี้ โรคกลุ่มนี้ยังเกิดได้จากการทำงานไม่สมดุลกันของกล้ามเนื้อ เช่น ในผู้ที่นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ อยู่ในท่าห่อไหล่ และยื่นคอตลอดเวลา กล้ามเนื้อบางส่วนจึงหดรั้ง (Shortening) หรือยืดยาวออก (Lenghtening) 

ซึ่งทั้งการหดรั้ง และยืดยาวออกอย่างไม่สมดุลนั้นสามารถนำมาซึ่งการอ่อนแรงได้ และการอ่อนแรงในลักษณะนี้ยังพบได้บ่อยในกลุ่มของผู้ที่ออกกำลังกายเพิ่มกล้ามเนื้ออย่างไม่สมดุลด้วย 

โดยถึงแม้จะมีรูปร่างกำยำ มีกล้ามเนื้อเห็นชัด แต่กล้ามเนื้อในส่วนลึกๆ หรือกล้ามเนื้อที่ไม่ได้รับการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมจะถูกกล้ามเนื้อที่ได้รับการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องดึงรั้งจนเสียสมดุล และกลายเป็นกล้ามเนื้อที่อ่อนแรงลงในที่สุด 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ซึ่งบ่อยครั้ง กล้ามเนื้อที่อ่อนแรงสามารถพัฒนาไปเป็นปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น มีอาการปวดเรื้อรังเป็นๆ หายๆ นอกจากนี้ ในผู้ป่วยที่นอนติดเตียง กล้ามเนื้อก็จะค่อยๆอ่อนแรง และฝ่อลีบลงจนข้อต่อติดแข็งผิดรูป จนไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อีกต่อไปเช่นกัน

2. กล้ามเนื้ออ่อนแรงที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของระบบประสาท (Neurological conditions related weakness)

กล้ามเนื้ออ่อนแรงในกลุ่มนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การกดทับของเส้นประสาท (Nerve root compression) การกดทับไขสันหลัง (Myelopathy) การกดทับเส้นประสาทส่วนปลาย (Pheripheral nerve compression) 

นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง หรือผู้ประสบอุบัติเหตุที่เนื้อสมองเสียหายจากการขาดเลือด หรือมีเลือดออก และกดทับเนื้อสมอง ก็อาจจะพบอาการอ่อนแรงของร่างกายซีกใดซีกหนึ่งหรือทั้ง 2 ซีก หรืออ่อนแรงจนไม่สามารถขยับได้เลย (Hemiplegia) 

และผู้ป่วยที่ประสบอุบัติที่กระดูกสันหลัง ก็อาจจะพบว่า กล้ามเนื้อของร่างกายท่อนร่างหลังจากส่วนที่ได้รับอุบัติเหตุลงไปนั้นอ่อนแรงลง หรือไม่สามารถขยับได้อีกเลยเช่นกัน 

อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มนี้ผู้ป่วยมักมีอาการผิดปกติของระบบประสาทร่วมด้วย เช่น อาการชา การรับความรู้สึกที่ผิวหนังผิดปกติ รู้สึกเหมือนโดนเข็มแทงตลอดเวลา เป็นต้น

3. กล้ามเนื้ออ่อนแรงที่เกิดจากโรคอื่นๆ (Specific disease related weakness)

มีโรคหลายชนิดที่ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอแอลเอส (Amyotrophic Lateral Sclerosis) โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี (Myasthenia Gravis

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

โรคในกลุ่มนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งระบบภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง การติดเชื้อ หรือบางชนิดยังไม่ทราบสาเหตุ 

อย่างไรก็ตาม โรคเหล่านี้มักจะมีอาการเฉพาะที่เห็นได้ชัด ร่วมกับมีรูปแบบการอ่อนแรงแบบพิเศษ เช่น มีหนังตาตกร่วมด้วย มีอาการกระตุก เริ่มจากแขนขาข้างใดข้างหนึ่ง ก่อนจะเป็นทั้งสองข้าง หรือเริ่มจากส่วนต้นของแขนหรือขาก่อนจะค่อยๆ ลุกลามไปยังส่วนปลายรยางค์ 

ระดับความรุนแรงของกล้ามเนื้ออ่อนแรง

การวัดความรุนแรงของภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่เป็นที่นิยม คือ การทดสอบกำลังกล้ามเนื้อด้วยมือ (Manual muscle testing) 

โดยการตรวจกล้ามเนื้อแต่ละมัดจะมีท่าทางเฉพาะที่ใช้ในการตรวจ ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ เช่น กล้ามเนื้อต้นแขน ต้นขา หรือกล้ามเนื้อที่เล็กมากๆ อย่างกล้ามเนื้อใบหน้า เกือบทั้งหมดแทบจะไม่ต้องใช้อุปกรณ์ อาศัยเพียงแรงของผู้ตรวจเท่านั้น

การอ่อนแรงสามารถแบ่งได้หลายระดับ แล้วแต่แหล่งอ้างอิงที่ใช้ ในที่นี้จะของแบ่งออกเป็น 6 ระดับ ด้วยคะแนนตั้งแต่ 0-5 ดังนี้

5 คะแนน

สามารถเคลื่อนไหวได้เต็มช่วงการเคลื่อนไหว ในท่าที่ต้านแรงโน้มถ่วงของโลกและแรงต้านจากผู้ทดสอบอย่างเต็มที่

4 คะแนน

สามารถเคลื่อนไหวได้เต็มช่วงการเคลื่อนไหว ในท่าที่ต้านแรงโน้มถ่วงของโลกและแรงต้านจากผู้ทดสอบบางส่วน

3 คะแนน

สามารถเคลื่อนไหวได้เต็มช่วงการเคลื่อนไหว ในท่าที่ต้านแรงโน้มถ่วงของโลก

2 คะแนน

สามารถเคลื่อนไหวได้เต็มช่วงการเคลื่อนไหว ในท่าที่ไม่ต้านแรงโน้มถ่วงของโลก

1 คะแนน

สังเกตเห็นการหดตัวของกล้ามเนื้อ (Muscle contraction) แต่ไม่มีการเคลื่อนไหวของข้อต่อ

0 คะแนน

ไม่สามารถหัดเกตเห็นการหดตัวของกล้ามเนื้อได้เลย

ในบางตำราอาจจะแบ่งระดับการอ่อนแรงหยาบกว่านี้ หรือบางตำราอาจจะแบ่งละเอียดขึ้นด้วยการให้เครื่องหมาย +/- ในแต่ละระดับคะแนนด้วย

ทั้งนี้ในระดับคะแนนที่เท่ากัน กำลังของกล้ามเนื้ออาจจะแตกต่างกัน ขึ้นกับดุลพินิจของผู้ตรวจ 

เพราะการตรวจด้วยวิธีนี้ใช้ประเมินกำลังของกล้ามเนื้อ เทียบกับอายุ และสภาพร่างกายของผู้ถูกประเมินด้วย เช่น ผู้ป่วยอายุ 80 ปีที่ได้ 5 คะแนน กำลังของกล้ามเนื้ออาจจะน้อยกว่าผู้ป่วยอายุ 30 ปีที่ได้ 5 คะแนนเท่ากัน 

วิธีการรักษาภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงทางกายภาพบำบัด

ดังที่ได้อธิบายไว้ข้างต้นแล้วว่า กล้ามเนื้ออ่อนแรงเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ จึงมีการรักษาหลากหลายให้เหมาะกับสาเหตุ และความรุนแรงโดยเฉพาะ 

อย่างไรก็ตาม การรักษาภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงมักเรียกกันโดยรวมว่า การออกกำลังการเพื่อการรักษา (Therapeutic exercise) ซึ่งมีหลายวิธี เช่น

  • สำหรับอาการอ่อนแรงที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุ และผู้มีการทำงานของกล้ามเนื้อไม่สมดุล สามารถรักษาได้ด้วยการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อที่อ่อนแรงลง
  • สำหรับกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง หรือผู้ป่วยที่สมองได้รับบาดเจ็บ จะใช้การออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูการทำงานของสมอง (Motor relearning program) ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เป็นอัมพาต และไม่สามารถขยับร่างกายได้บางราย สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ

สำหรับผู้ป่วยในกลุ่มโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงแบบต่างๆ รวมถึงผู้ป่วยที่ไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ และการพยากรณ์โรคเป็นไปในทิศทางแย่ลงเรื่อยๆ พึงทราบว่า 

การกายภาพบำบัดยังมีส่วนสำคัญอย่างมากในการชะลอความพิการที่จะเกิดขึ้น และการฝึกฝนกล้ามเนื้ออื่นๆ เพื่อทำหน้าที่แทนกล้ามเนื้อที่อ่อนแรงลงก็สามารถทำให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้อย่างเต็มความสามารถที่สุดเท่าที่จะเป็นได้

การป้องกันภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง

การป้องกันภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง สามารถทำได้ตามสาเหตุของกล้ามเนื้ออ่อนแรงแบบต่างๆ ดังนี้

  • การป้องกันภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่มีสาเหตุมาจากระบบประสาท และโรคต่างๆ สามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงให้มากที่สุด
  • การป้องกันกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่เกิดจากการไม่ได้ใช้งานในผู้สูงอายุ สามารถป้องกันได้ด้วยการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรง และความทนทานแก่กล้ามเนื้อ แต่ต้องทำอย่างเหมาะกับอายุ และโรคประจำตัว
  • การป้องกันกล้ามเนื้ออ่อนแรงจากการมีท่าทางไม่เหมาะสมจนทำให้กล้ามเนื้อทำงานไม่สมดุลนั้น สามารถป้องกันได้ด้วยการออกกำลังเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ร่วมกับการปรับเปลี่ยนท่าทางและสิ่งแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม

กล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้ในทุกคน ทุกช่วงอายุ ในบางกรณีอาจจะเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพที่รุนแรง 

เมื่อสังเกตพบว่า กล้ามเนื้อมีการอ่อนแรงลง เช่น หยิบจับของแล้วหล่น ลุกขึ้นยืนลำบาก ควรรีบเข้ารับการตรวจประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก่อนที่อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงจะยิ่งรุนแรงขึ้น จนอาจถึงขั้นพิการได้

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจทำกายภาบำบัดและนวดเพื่อรักษา จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Riggs JE. Adult-onset muscle weakness. How to identify the underlying cause. Postgraduate medicine 1985;78(3):217-26. National Center for Biotechnology Information. (Available via: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/4034446)
Muscle Weakness in Adults: Evaluation and Differential Diagnosis. American Academy of Family Physicians (AAFP). (Available via: https://www.aafp.org/afp/2020/0115/p95.html)
Evaluation of the Patient with Muscle Weakness. American Academy of Family Physicians (AAFP). (Available via: https://www.aafp.org/afp/2005/0401/p1327.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ทำไม่ ต้องอ้วนลงพุ่งค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปวดกลังปวดเอว.เอ็นข้อศอกอักเสบเรื้อรังไม่หายสักที
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การปวดหลังเป็นประจำทุกวันเกิดจากอะไร
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
มีลูกเป็นเด็ก CP ค่ะ ตอนนี้ทานอาหารทางสายยาง...ไม่ทราบว่าน้องมีโอกาสต้องเจาะใส่สายทางหน้าท้องหรือป่าวค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อาการปวดเมื้อยบริเวณเหนือสะโพก เกิดจากอะไร มีวิธีรักษายังไงคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)