อาการพูดเลียนแบบ (Echolalia)

อาการพูดเลียนแบบ เป็นอาการผิดปกติที่สามารถพบได้ในผู้ที่มีภาวะออทิสติก ผู้ที่สมองได้รับการกระทบกระเทือน รวมถึงผู้ที่ภาวะเครียด สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการบำบัด
เผยแพร่ครั้งแรก 23 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
อาการพูดเลียนแบบ (Echolalia)

อาการพูดเลียนแบบ เป็นอาการผิดปกติที่สามารถพบได้ในผู้ที่มีภาวะออทิสติก ผู้ที่สมองได้รับการกระทบกระเทือน รวมถึงผู้ที่ภาวะเครียด สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการบำบัด

ผู้ที่มีอาการพูดเลียนแบบ (Echolalia) มักจะออกเสียงหรือพูดข้อความเลียนแบบสิ่งที่ตัวเองได้ยิน ซึ่งอาจทำให้เกิดอุปสรรคในการสื่อสาร เนื่องจากผู้ป่วยจะไม่สามารถถ่ายทอดความคิดของตนออกมาได้ ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มอาการทูเร็ตต์ (Tourette syndrome) ที่ผู้ป่วยมักพูดหรือตะโกนอะไรบางอย่างขึ้นมาโดยไม่คาดคิด แต่ทั้งสองกรณี ผู้ป่วยจะไม่รู้ตัวว่าตนเองพูดอะไร และไม่สามารถควบคุมได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

บางครั้งการพูดเลียนเสียงอาจเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการด้านภาษาตามปกติ สามารถพบได้บ่อยในเด็กเล็กที่กำลังเรียนรู้การสื่อสาร แต่เมื่ออายุ 3 ปี อาการพูดเลียนแบบจะค่อยๆ ลดลงและหายไปในที่สุด แต่ถ้าหากว่าไม่หาย ก็อาจเป็นไปได้ว่าเด็กอาจมีภาวะออทิสติก (Autism) หรือมีพัฒนาการช้ากว่าปกติ

อาการพูดเลียนแบ่งได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ได้แก่

  1. อาการพูดเลียนแบบมีการโต้ตอบ (Functional หรือ Interactive Echolalia) : เป็นการพยายามสื่อสารโดยตั้งใจพูดโต้ตอบกับคู่สนทนา เช่น
  • การผลัดกันพูด : ผู้ป่วยจะโต้ตอบบทสนทนาด้วยวลีสั้นๆ โดยสลับกันพูดไปมากับคู่สนทนา
  • การปิดท้ายด้วยคำพูด : เมื่อผู้ป่วยกระทำหรือพูดประโยคใดๆ แล้ว มักลงท้ายด้วยคำพูดที่คุ้นเคยซึ่งเลียนแบบมาจากผู้อื่น เช่น คำว่าดีมาก ที่ผู้ป่วยจะพูดทุกครั้งหลังพูดจบ หรือกระทำสิ่งใดสำเร็จ
  • การให้ข้อมูล : ผู้ป่วยมักมีอุปสรรคในการเรียบเรียงคำพูดเพื่อเสนอข้อมูลใหม่ๆ เช่น เมื่อแม่ถามว่าอยากกินอะไรเป็นมื้อกลางวัน ลูกก็อาจร้องเพลงจากโฆษณาชุดอาหารกลางวัน แทนคำตอบว่าเขาอยากกินแซนด์วิช เป็นต้น
  • การร้องขอ: บ่อยครั้งผู้ป่วยที่มีอาการพูดเลียนแบบ มักกล่าวข้อความว่า คุณต้องการอาหารกลางวันไหม เพื่อขอรับประทานอาหารกลางวัน
  1. อาการพูดเลียนแบบไม่มีการโต้ตอบ (Non-Interactive Echolalia) : เป็นการออกเสียงหรือพูดโดยไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อสื่อสาร แต่อาจใช้เพื่อจุดประสงค์ส่วนตัวของผู้พูด เช่น เพื่อเรียกแทนตัวเอง หรือเพื่อกระตุ้นตัวเอง เช่น
  • การพูดที่ไม่เน้นใจความ : ผู้ป่วยอาจพูดอะไรบางอย่างที่ไม่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์หรือบริบทรอบตัวเลย เช่น ท่องบทพูดในรายการทีวีขณะเดินไปรอบๆ ห้องเรียน ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวอาจทำไปเพื่อกระตุ้นตนเอง
  • การพูดที่สัมพันธ์กับสถานการณ์ : บางครั้งคำพูดอาจถูกกระตุ้นจากสถานการณ์ สิ่งที่มองเห็น ผู้คน หรือกิจกรรมที่ทำ แต่ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อการสื่อสาร เช่น เมื่อเห็นสินค้ายี่ห้อหนึ่งในร้านค้า ผู้ป่วยก็อาจร้องเพลงโฆษณาออกมา เป็นต้น
  • การซักซ้อมก่อนพูด : ผู้ป่วยอาจกล่าวคำหรือวลีเดิมซ้ำๆ กับตัวเองด้วยเสียงแผ่วเบา ก่อนจะพูดคุยด้วยเสียงปกติ ซึ่งเป็นการซ้อมก่อนการสนทนาโต้ตอบกับผู้อื่น
  • การพูดเพื่อกำกับตนเอง : ผู้ป่วยอาจพูดข้อความใดข้อความหนึ่งเพื่อควบคุมตัวเองขณะทำสิ่งต่างๆ เช่น เมื่อกำลังทำอาหาร ผู้ป่วยอาจบอกตัวเองซ้ำๆ ว่า “เปิดน้ำ ใช้สบู่ ล้างมือ ปิดน้ำ เช็ดมื้อ หยิบขนมปัง วางบนจาน หยิบเนื้อ” ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะทำอาหารเสร็จ เป็นต้น

ลักษณะของอาการพูดเลียนแบบ

อาการที่เห็นเด่นชัดที่สุด คือการทำเสียงหรือพูดข้อความเลียนแบบสิ่งที่ได้ยินมา ซึ่งอาจเกิดขึ้นทันทีทันใดหลังได้ยินข้อความนั้น หรืออาจเกิดขึ้นหลังจากได้ยินข้อความดังกล่าวเป็นชั่วโมงหรือเป็นวันก็ได้ อีกหนึ่งสัญญาณที่อาจพบได้ คือผู้ป่วยมักมีอาการไม่พึงพอใจ ซึมเศร้า หรือพูดไม่ออก ขณะกำลังสนทนา บางครั้งอาจพบอาการหงุดหงิดฉุนเฉียวผิดปกติ โดยเฉพาะเมื่อถูกถามคำถาม

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของอาการพูดเลียนแบบ

เด็กแทบทุกคนล้วนเคยพูดเลียนแบบทั้งนั้น โดยอาการจะค่อยๆ หายไปเมื่อโตขึ้น แต่ก็มีเด็กบางคนที่ยังคงพูดเลียนแบบสิ่งที่ได้ยินอยู่ ส่วนมากมักจะเป็นเด็กที่มีความผิดปกติในการสื่อสาร และเด็กที่เป็นออทิสติก ซึ่งจะยังพูดเลียนแบบไปเรื่อย ๆ แม้จะมีอายุมากขึ้นก็ตาม

ผู้ใหญ่บางคนอาจเกิดอาการพูดเลียนแบบ เมื่อต้องเผชิญกับความวิตกกังวลหรือความกระวนกระวายใจ ในบางคนอาจเกิดอาการนี้ได้ตลอดเวลา จึงส่งผลทำให้กลายเป็นคนเงียบเฉย หรือไม่พูดเลย เนื่องจากไม่สามารถสื่อสารสิ่งที่ต้องการได้ นอกจากนี้ยังอาจพบอาการพูดเลียนแบบได้ในผู้ใหญ่ที่เกิดภาวะสูญเสียความทรงจำ หรือศีรษะได้รับการกระทบกระเทือน การวินิจฉัยอาการพูดเลียน

การรักษาอาการพูดเลียนแบบ

การรักษาอาการพูดเลียน อาจใช้วิธีการบำบัดหลายๆ วิธีร่วมกัน ได้แก่

  • การบำบัดการพูด : ผู้ป่วยที่มีอาการพูดเลียนแบบบางคน อาจรักษาได้ด้วยวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เรียกว่า Cues-Pause-Point โดยนักบำบัดการพูดจะถามคำถามทั่วไปและให้ผู้ป่วยตอบ เช่น คุณชื่ออะไร? หลังจากเว้นระยะครู่หนึ่ง ผู้ป่วยจะต้องตอบคำถามโดยถือบัตร Cue ที่มีคำตอบที่ถูกต้อง
  • การใช้ยา : แพทย์อาจสั่งยาต้านโรคซึมเศร้า หรือยาลดความวิตกกังวล เพื่อบรรเทาอาการข้างเคียงจากอาการพูดเลียนแบบ และช่วยให้อารมณ์ผู้ป่วยสงบลง เนื่องจากอาการพูดเลียนอาจทำให้เกิดความเครียดหรือกังวลได้
ที่มาของข้อมูล

Heaven Stubblefield and Ana Gotter, Echolalia (https://www.healthline.com/health/echolalia), October 2016


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Echolalia: Symptoms, Signs, Causes & Treatment. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/echolalia/symptoms.htm)
Examining the Echolalia Literature: Where Do Speech-Language Pathologists Stand?. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/26161804)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)