กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การติดสารเสพติด (Drug Abuse)

การติดสารเสพติด ทำให้เกิดผลเสียมากมายต่อสุขภาพ ซึ่งบางรายอาจถึงขั้นเสียชีวิตจากการใช้ยาเกินขนาดได้
เผยแพร่ครั้งแรก 23 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
การติดสารเสพติด (Drug Abuse)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การติดสารเสพติด เกิดจากการใช้ยาบางชนิดจนถึงระดับที่ไม่สามารถควบคุมการใช้ได้ หรือการใช้สารบางชนิดทั้งถูกกฎหมาย และผิดกฎหมาย เพื่อจุดประสงค์บางอย่าง จนฤทธิ์ของสารนั้นส่งผลต่อการทำงานของร่างกาย
  • การติดสารเสพติดอาจนำไปสู่ปัญหาด้านสุขภาพและปัญหาสังคมได้มากมาย เช่น การเมาแล้วขับ การใช้ความรุนแรงในครอบครัว หรือการทารุณเด็ก
  • ตัวอย่างการติดสารเสพติดที่พบได้บ่อย เช่น แอลกอฮอล์ โคเคน เฮโรอีน ยาบ้า กัญชา ยาอี ยาเสียสาว สารระเหยต่างๆ
  • การรักษาภาวะติดสารเสพติดมักเริ่มต้นด้วยการล้างสารพิษ หลังจากนั้นจะให้เข้ารับการบำบัดเพื่อไม่ให้กลับมาใช้ซ้ำอีก ซึ่งส่วนมากจะเป็นการให้คำปรึกษาทั้งแบบส่วนตัวและแบบรวมกลุ่ม
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสารเสพติด

การติดสารเสพติด (Drug Abuse) เกิดจากการใช้ยาบางชนิดจนถึงระดับที่ไม่สามารถควบคุมการใช้ได้ หรือการใช้สารบางชนิดทั้งถูกกฎหมาย และผิดกฎหมาย เพื่อจุดประสงค์บางอย่าง จนฤทธิ์ของสารนั้นส่งผลต่อการทำงานของร่างกาย

การติดสารเสพติดอาจนำไปสู่ปัญหาด้านสุขภาพและปัญหาสังคมได้มากมาย เช่น การเมาแล้วขับ การใช้ความรุนแรงในครอบครัว หรือการทารุณเด็ก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

นอกจากนี้ผู้ที่ติดสารเสพติดชนิดฉีด ยังอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และการแพร่กระจายโรคติดเชื้อต่างๆ เช่น HIV และไวรัสตับอักเสบอีกด้วย

การติดสารเสพติดที่พบได้บ่อย

สารเสพติดที่คนมักใช้บ่อย มีดังต่อไปนี้

1. แอลกอฮอล์ (Alcohol)

เป็นสารที่พบในเหล้า เบียร์ และไวน์ เมื่อดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปร่างกายจะดูดซึมแอลกอฮอล์ในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก เข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็ว ทำให้การทำงานของสมองและทักษะการเคลื่อนไหวถดถอยลง 

นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับ (Liver Disease) โรคมะเร็ง (Cancer) และภาวะเส้นเลือดในสมองแตก (Stroke)

2. โคเคน (Cocaine)

บางครั้งอาจเรียกกันว่า C หรือ โค้ก เป็นยาเสพติดที่มีฤทธิ์รุนแรง และทำให้เกิดอาการเสพติดอย่างหนักได้ มักจำหน่ายในรูปผงสีขาว และเสพโดยการฉีดเข้าสู่หลอดเลือดดำ สูดดม หรือสูบ 

ผู้เสพโคเคนจะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (ACS) ระบบหายใจล้มเหลว (Respiratory Failure) เส้นเลือดในสมองแตก (Stroke) ชัก (Seizures) และเสียชีวิต

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

3. เฮโรอีน (Heroine)

ยาเสพติดชนิดร้ายแรงที่ผิดกฎหมาย ผลิตจากเมล็ดฝิ่นเช่นเดียวกับมอร์ฟีน เฮโรอีนจะอยู่ในรูปผงสีขาวหรือสีน้ำตาล และจะเสพโดยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ สูบ หรือสูดดม 

ผู้เสพเฮโรอีนจะมีอาการเคลิบเคลิ้ม ประสาทหลอน มีความคิดฟุ้งซ่าน และตามด้วยอาการง่วงซึม

4. ยาบ้า (Methamphetamines)

มักอยู่ในรูปผงสีขาว เหลือง ส้ม แดง หรืออัดเม็ด เสพโดยการกิน ฉีด สูดดม หรือสูบ ผู้เสพยาบ้าจะถูกกระตุ้นประสาทให้ตื่นตัวในระยะยาว และยังทำให้มีกำลังและเรี่ยวแรงเพิ่มขึ้นด้วย 

หากเสพยาบ้าต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจพบปัญหาด้านอารมณ์และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ใช้ความรุนแรง ก้าวร้าว มึนงง วิตกกังวล เป็นต้น

5. กัญชา (Cannabis)

เป็นส่วนผสมของดอก ลำต้น เมล็ด และใบแห้งจากต้นกัญชา คนมักเสพด้วยวิธีการสูบ แต่บางครั้งอาจนำมาใส่ในอาหารสำหรับรับประทานก็ได้ 

การเสพกัญชาจะทำให้เกิดการรับรู้ผิดเพี้ยนจากความเป็นจริงจนเป็นอุปสรรคต่อการคิดและใช้ชีวิตประจำวัน กัญชาจึงเป็นสารเสพติดที่ผิดกฎหมายในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยหลายชิ้นที่รับรองว่า กัญชามีฤทธิ์ช่วยบำบัดอาการทางการแพทย์หลายอย่าง เช่น โรคต้อหิน ปัจจุบันจึงมีบางประเทศที่ประกาศให้การใช้กัญชาในทางการแพทย์นั้นถูกต้องตามกฎหมาย

6. สารระเหย (Inhalants) 

เป็นไอสารเคมีที่เมื่อสูดดมเข้าไปแล้วทำให้ความรู้สึกนึกคิด หรือสภาพจิตใจเปลี่ยนแปลงไป 

สารเสพติดในกลุ่มนี้จะพบได้ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น กาว สีทาอาคาร ของเหลวไวไฟ 

ผลกระทบระยะสั้นของสารเสพติดกลุ่มนี้จะให้ความรู้สึกคล้ายการเสพแอลกอฮอล์ แต่การเสพเป็นเวลานานก็อาจทำให้เกิดอาการเกร็งกระตุก สูญเสียการได้ยิน สมองถูกทำลาย สูญเสียความรู้สึกและการรับรู้ หมดสติ และภาวะหัวใจล้มเหลว

7. อนาบอลิกสเตียรอยด์ (Anabolic Steroids) 

สารที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นเพื่อเลียนแบบฮอร์โมนเทสโทสเทอโรค (Testosterone) หรือฮอร์โมนเพศชาย มักนำเข้าสู่ร่างกายด้วยการกิน หรือการฉีด

สารประเภทนี้ผิดกฎหมายในหลายประเทศ แต่นักกีฬามักแอบใช้เพื่อกระตุ้นร่างกายและเสริมสร้างกล้ามเนื้อ อย่างไรก็ตาม การใช้สเตียรอยด์อาจส่งผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพได้ เช่น ทำลายตับ ทำให้ความดันโลหิต และคอเรสเตอรอลสูง

8. ยากลุ่มคลับดรักส์ (Club Drugs)

ยาในกลุ่มนี้ คือสารเสพติดผิดกฎหมายหลายชนิดที่วัยรุ่นมักเสพกันในคลับ บาร์ หรืองานปาร์ตี้ หากนำมาผสมกับแอลกอฮอล์จะเป็นอันตรายมากขึ้น ได้แก่

  • Gamma-hydroxybutyrate (GHB) หรือที่เรียกกันว่า ยาเสียสาว หรือ G จะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้รู้สึกตื่นเต้นสนุกสนาน
  • Ketamine หรือเรียกกันว่า ยาเค เป็นยาระงับประสาทชนิดหนึ่ง ทำให้ลืมความเจ็บปวด
  • Methylenedioxymethamphetamine (MDMA) หรือ Ecstasy หรือที่เรียกอีกอย่างว่า ยาอี  ออกฤทธิ์หลอนประสาทอ่อนๆ ทำให้มีอาการเคลิบเคลิ้ม
  • Lysergic acid diethylamide (LSD) รู้จักกันในชื่อ แอซิด มีฤทธิ์หลอนประสาทอย่างแรง และเป็นยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง
  • Flunitrazepam (Rohypnol) เป็นยากลุ่มคลายกล้ามเนื้อ เสพแล้วมีอาการง่วงนอน และสูญเสียความจำ จึงมักถูกนำมาใช้เพื่อการล่วงละเมิดทางเพศ

9. ยาที่สั่งจ่ายโดยแพทย์ 

ผู้ป่วยจำนวนมากมักได้รับยาที่สั่งจ่ายโดยแพทย์เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดหรือความผิดปกติต่างๆ การเสพติดยาเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้เมื่อผู้ป่วยใช้ยาเป็นเวลานานนอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง หรือใช้ยาเพื่อจุดประสงค์อื่น 

ยาที่มักทำให้เกิดอาการเสพติด เช่น

  • ยาบรรเทาอาการเจ็บปวดกลุ่มโอปิออยด์ (Opioids) เช่น Fentanyl, Oxycodone หรือ Hydrocodone (Vicodin)
  • ยานอนหลับหรือยาระงับความวิตกกังวล เช่น Alprazolam (Xanax) หรือ Diazepam (Valium)
  • กลุ่มยากระตุ้น เช่น Methylphenidate (Ritalin) Amphetamine หรือ Dextroamphetamine (Adderall)

อาการติดสารเสพติดระยะต่างๆ

อาการติดสารเสพติด สามารถแบ่งออกเป็นระยะต่างๆ ได้ ดังนี้

  • ระยะทดลองใช้สารเสพติด ผู้เสพอาจใช้ยาเสพติดร่วมกับกลุ่มเพื่อน โดยมีเป้าหมายเพื่อความบันเทิงใจขณะเสพเท่านั้น
  • ระยะใช้สารเสพติดเป็นประจำ ผู้เสพมักมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป และต้องการเสพสารเสพติดเพื่อบรรเทาความรู้สึกด้านลบ
  • ระยะติดสารเสพติดอย่างหนัก ผู้เสพจำเป็นต้องใช้สารเสพติดทุกวัน รู้สึกหลงใหลเคลิบเคลิ้มไปกับฤทธิ์ยา โดยไม่สนใจชีวิตจริงหรือโลกภายนอก
  • ระยะที่ต้องพึงพาสารเสพติด ผู้เสพจะไม่สามารถเผชิญโลกแห่งความจริงได้โดยปราศจากการใช้ยาเสพติด

การรักษาภาวะติดสารเสพติด

การล้างพิษสารเสพติดมักเป็นขั้นตอนแรกของการรักษาทางการแพทย์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อหาวิธีกำจัดสารเสพติดออกจากกระแสเลือด ซึ่งวิธีการนั้นขึ้นอยู่กับชนิดสารเสพติดที่ใช้ 

หลังจากการล้างพิษสารเสพติดจะตามด้วยขั้นตอนการบำบัดเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยกลับไปเสพยาอีก ซึ่งส่วนมากจะเป็นการให้คำปรึกษาทั้งแบบส่วนตัวและแบบรวมกลุ่ม

การใช้ยาบางชนิดอาจมีส่วนช่วยบรรเทาอาการถอนยาเสพติด และช่วยให้สภาพร่างกายและจิตใจผู้ป่วยดีขึ้น เช่น ในผู้ที่เสพติดเฮโรอีน แพทย์อาจให้ยา Methadone เพื่อช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกาย และช่วยให้ผู้ป่วยสามารถรับมือกับอาการในช่วงถอนยาเสพติดได้

ในขั้นตอนการรักษาจะมีการตรวจติดตามการติดเชื้อ รวมถึงการให้ความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงดังกล่าว เพื่อให้ผู้เสพตระหนักถึงผลที่เกิดขึ้นและระมัดระวังไม่ให้เกิดการติด หรือการแพร่กระจายเชื้อก่อโรค

สถานบำบัดผู้ติดยาเสพติด

ในประเทศไทยมีสถานบำบัดผู้ติดยาเสพติดอยู่หลายแห่งที่ให้บริการด้านการรักษาและบำบัดอาการติดสารเสพติด เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถกลับสู่สังคมได้อย่างมีคุณภาพ ได้แก่

  • สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี จ.ปทุมธานี โทร. 02-5310080
  • สถานบำบัดยาเสพติดพัทยา จ.ชลบุรี โทร. 065-5781566
  • ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดขอนแก่น จ.ขอนแก่น
  • โรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่น จ.ขอนแก่น โทร. 043-345391
  • ศูนย์พัฒนาชีวิตใหม่ จ.นนทบุรี โทร. 088-809 6564
  • คลินิกบำบัดยาเสพติด 2 ลาดพร้าว กรุงเทพฯ โทร. 063-0764585
  • The Cabin Bangkok กรุงเทพฯ โทร. 02-1056135
  • ศูนย์บำบัดยาเสพติดอำเภอลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา

ยาเสพติด เป็นสารอันตรายที่ให้โทษต่อร่างกายร้ายแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ นอกจากนี้ยังผิดกฎหมายอีกด้วย การเสพยาเสพติดจึงเป็นการทำลายทั้งสุขภาพและอนาคตของตัวเอง ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการเสพยาเสพติด รวมไปถึงการเข้าไปข้องเกี่ยวกับยาเสพติดด้วย

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสารเสพติด จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Cindie Slightham, What Causes Drug Abuse? (https://www.healthline.com/symptom/drug-abuse), February 2016
Substance abuse. World Health Organization. (https://www.who.int/topics/substance_abuse/en/)
Drug Use and Addiction. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/druguseandaddiction.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)