กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

เส้นเลือดฝอยในตาแตก เกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่?

สาเหตุ วิธีป้องกัน และการรักษาภาวะเส้นเลือดฝอยในตาแตก
เผยแพร่ครั้งแรก 18 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เส้นเลือดฝอยในตาแตก เกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เส้นเลือดฝอยในตาแตก เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ และไม่เป็นอันตราย โดยมักมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมเคยชินหลายๆ อย่าง เช่น การขยี้ตา การยกของหนัก การดำน้ำ
  • เส้นเลือดฝอยในตาแตกสามารถทำให้เกิดอาการแสบเคืองตา ปวดศีรษะ การมองเห็นแย่ลง ซึ่งในระยะนี้จะต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจสอบสุขภาพตาได้แล้ว
  •  เส้นเลือดฝอยในตาแตกมักเกิดที่ตาขาว แต่หากเกิดที่ตาดำ ก็อาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ มีแผลที่นัยน์ตา
  • การป้องกันเส้นเลือดฝอยในตาแตกทำได้ไม่ยาก นั่นคือ ไม่ขยี้ตา ไม่ออกกำลังกายหักโหมเกินไป ไม่ใช้สายตาเยอะเกิน และควรพักสายตาบ้างเป็นครั้งคราว
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจตา

ความหมายของของเส้นเลือดฝอยในตาแตก

เส้นเลือดฝอยในตาแตก (Subconjunctival Hemorrhage) หรือเรียกได้อีกอย่างว่า "ภาวะเลือดออกใต้เยื่อบุตา" คือ อาการตาแดงก่ำที่เป็นกันได้ทั่วไป โดยเฉพาะเวลาหลังตื่นนอนในตอนเช้า ซึ่งบางครั้งก็อาจสร้างความตกใจให้เราได้ 

แต่ความจริงแล้ว ภาวะเส้นเลือดฝอยในตาแตกมักไม่มีอันตรายร้ายแรง และเมื่อผ่านไประยะหนึ่ง อาการตาแดงก็จะหายไปเอง ซึ่งโดยส่วนมาก สาเหตุของภาวะเส้นเลือดฝอยในตาแตกมักจะเกิดจากความดันในตาสูงขึ้นอย่างกะทันหัน หรือดวงตาถูกกระทบกระเทือน หรือเกิดความระคายเคืองขึ้นในดวงตา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เส้นเลือดฝอยในตาแตกเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง

  • การขยี้ตา: ในขณะขยี้ตา หากนิ้วหรือเล็บมือของคุณไปสะกิดโดนดวงตา ก็อาจทำให้เส้นเลือดฝอยในตาแตกได้ ซึ่งสาเหตุนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากพฤติกรรมความเคยชินของหลายคนที่เมื่อตื่นนอนมาแล้ว ก็จะต้องขยี้ตาจนทำให้เกิดอาการตาแดงขึ้น 
  • ความดันโลหิตสูง: ผู้ที่เป็นโรคความดันสูงอยู่แล้ว แรงดันในหลอดเลือดอาจทำให้เส้นเลือดฝอยในตาแตกได้ จึงมีโอกาสเกิดอาการตาแดงได้บ่อย
  • การเกิดอุบัติเหตุ: การกระทบกระเทือนที่ศีรษะหรือใบหน้าอย่างรุนแรง จะทำให้หลอดเลือดแดงใหญ่ที่ฐานกะโหลกศีรษะฉีกขาด และเกิดแรงดันสูงจนทำให้หลอดเลือดฝอยในตาแตก ซึ่งถือเป็นภาวะอันตราย หากไม่รีบรักษา ดวงตาอาจเกิดแรงดันสูงมากจนกลายเป็นต้อหินและตาบอดได้
  • การไอ หรือจาม: รวมถึงการอาเจียนอย่างรุนแรงด้วย เพราะจะทำให้เกิดแรงดันในร่างกายสูงอย่างกะทันหัน จนเส้นเลือดฝอยในตาแตก
  • การยกของหนัก: การออกแรงยกของหนักจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น รวมถึงแรงดันในลูกตาด้วย และทำให้เส้นเลือดฝอยแตกได้
  • การดำน้ำ: เพราะแรงดันน้ำจากภายนอกในที่ระดับน้ำลึกนั้นมีปริมาณมหาศาล ซึ่งทำให้แรงดันในตาสูงขึ้นจนเส้นเลือดฝอยในตาแตกได้ ผู้ที่เพิ่งดำน้ำมาใหม่ๆ หรือเพิ่งฝึกการดำน้ำจึงมักมีอาการตาแดงได้บ่อย
  • การติดเชื้อ: การติดเชื้อที่เยื่อบุตานั้นมีสาเหตุได้จากทั้งเชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งทำให้เกิดอาการตาแดงได้บ่อยๆ และส่วนมากอาการตาแดงจากสาเหตุนี้ก็มักจะมาพร้อมกับอาการแสบเคืองตา ปวดตา และตาอักเสบด้วย
  • ความผิดปกติที่หลอดเลือดสมอง: เช่น เมื่อหลอดเลือดดำ และหลอดเลือดแดงในสมองเชื่อมต่อกันผิดปกติ หรือหลอดเลือดดำในสมองเกิดการอุดตัน ทำให้มีแรงดันในสมอง และลูกตาเพิ่
  • มขึ้น จนทำให้มีภาวะเลือดออกผิดปกติในสมอง และดวงตาได้
    ซึ่งภาวะดังกล่าวมักจะส่งผลข้างเคียงให้เกิดอาการปวดตา ปวดศีรษะ และอาจอันตรายถึงขึ้นชักและสมองฝ่อได้ด้วย

นอกจากสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่กระตุ้นการเกิดเลือดออกใต้เยื่อบุตาได้ เช่น การรับประทานยาที่ยับยั้งการแข็งตัวของเลือดอย่าง วาฟาริน (Wafarin) และแอสไพริน (Aspirin) รวมทั้งการรับประทานสมุนไพรใบแปะก๊วยด้วย

เส้นเลือดฝอยในตาแตกเป็นอันตรายหรือไม่?

โดยทั่วไป ภาวะเส้นเลือดฝอยในตาแตกมักไม่มีอันตรายรุนแรง และสามารถหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่อาจจะยังมีอาการระคายเคืองตาอยู่บ้าง ซึ่งคุณสามารถใช้ยาหยอดตา หรือน้ำตาเทียมเพื่อบรรเทาอาการได้ 

แต่หากพบว่าอาการตาแดงที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับอาการข้างเคียงอื่นๆ เช่น แสบเคืองตา ตาบวมขึ้น ปวดตา ปวดศีรษะ การมองเห็นแย่ลง คุณควรรีบไปพบจักษุแพทย์โดยด่วน และไม่ควรซื้อยาหยอดตามาใช้เองโดยไม่อยู่ในการควบคุมของแพทย์

เส้นเลือดฝอยในตาแตกมักเกิดที่บริเวณตาขาว แต่บางครั้งก็อาจเกิดที่เส้นเลือดฝอยในตาดำได้เช่นกัน ซึ่งมักเกิดจากสาเหตุที่รุนแรงกว่า เช่น การติดเชื้อจนอักเสบ หรือเกิดบาดแผลที่นัยน์ตา และจะส่งผลกระทบทำให้การมองเห็นแย่ลง 

นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมองเห็นภาพเป็นจุดๆ และมีเลือดไหลออกจากดวงตาด้วย

การรักษา และการดูแลตนเองเมื่อเส้นเลือดฝอยในตาแตก

หากผู้ป่วยมีอาการตาแดงเพียงอย่างเดียว และไม่พบอาการรุนแรงอื่นๆ ร่วมด้วยก็ไม่จำเป็นต้องรักษา เพียงแค่หาเวลาพักผ่อนให้เพียงพอ และดูแลดวงตาอย่างเหมาะสม เท่านี้อาการตาแดงก็สามารถหายเองได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

หรือหากมีอาการระคายเคืองตาเล็กน้อย ก็สามารถมาพบแพทย์เพื่อขอยาหยอดตาเพื่อบรรเทาอาการได้ 

แต่สิ่งที่ผู้ป่วยจะต้องรักษาให้หายจริงๆ นั้นไม่ใช่อาการตาแดง แต่เป็น "สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการตาแดง" ต่างหาก เช่น มีความดันโลหิตสูง ไอเรื้อรัง เพราะโรค และกลุ่มอาการเหล่านี้จะสามารถลุกลามไปถึงปัญหาสุขภาพด้านอื่นได้ด้วย

และในระหว่างที่ยังมีอาการตาแดงอยู่ ผู้ป่วยควรงดกิจกรรมที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูงทุกชนิด เช่น การยกของหนัก ว่ายน้ำ ดำน้ำ รวมถึงการออกกำลังกายที่ต้องใช้แรงมากด้วย เนื่องจากกิจกรรมเหล่านี้จะกระตุ้นให้ภาวะเลือดออกใต้เยื่อบุตารุนแรงขึ้นได้

การป้องกันเส้นเลือดฝอยในตาแตก

  • หลีกเลี่ยงการใช้สายตามากเกินไป แต่หากต้องทำงานที่จำเป็นต้องเพ่งจ้องหน้าจอนานๆ ควรหาเวลาหยุดพักสายตาเป็นระยะๆ
  • ไม่ขยี้ตารุนแรง และหมั่นล้างมือให้สะอาดเสมอ
  • หลีกเลี่ยงการออกแรงมากเกินไป เช่น การยกของหนัก หรือการออกกำลังกายอย่างหักโหม
  • ควบคุมโรคที่เป็นต้นเหตุ เช่น โรคความดันโลหิตสูง การไอจามเรื้อรัง

เส้นเลือดฝอยในตาแตกสามารถเกิดขึ้นได้จากพฤติกรรมที่คุณอาจเคยชินทุกวันอย่างการขยี้ตา หรือการออกกำลังกายอย่างหักโหมเกินไป คุณควรหมั่นสังเกต และบังคับตนเองให้หยุดพฤติกรรมดังกล่าว เพื่อป้องกันไม่ให้เส้นเลือดฝอยแตกไปมากกว่านี้

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจตา จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


25 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Eye Bleeding: Types, Symptoms, Treatment & More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/eye-health/eye-bleeding)
Bleeding Under Conjunctiva (Subconjunctival Hemorrhage). Healthline. (https://www.healthline.com/health/subconjunctival-hemorrhage)
Subconjunctival hemorrhage. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/article/001616.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)